คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลอุทธรณ์ และการตัดสินนอกฟ้อง: การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นเกินขอบเขตคำฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ภาคใดมีเขตอำนาจเพียงใดจะต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาคพ.ศ.2532และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนที่ตั้งเขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาคพ.ศ.2532กำหนดไว้มิใช่คู่ความเลือกเองได้การที่โจทก์ขออุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค1ซึ่งมิได้มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเห็นได้ว่าเป็นการเข้าใจผิดหรือพิมพ์ผิดพลาดเมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์แล้วส่งมายังศาลอุทธรณ์ภาค2ซึ่งมีเขตอำนาจตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค2จึงมีอำนาจพิพากษาคดีนี้ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันสั่งซื้อข้าวสารชนิดต่างๆไปจากโจทก์หลายครั้งโดยจำเลยที่1มอบหมายให้จำเลยที่2เป็นผู้มาติดต่อขอซื้อข้าวสารจากโจทก์โจทก์ส่งมอบข้าวสารให้ตามที่จำเลยทั้งสองสั่งซื้อหลายครั้งจำเลยทั้งสองได้รับมอบสินค้าและชำระราคาให้โจทก์แล้วบางส่วนคงค้างชำระอยู่เป็นเงิน1ล้านบาทเศษขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ไม่มีข้อหาว่าจำเลยที่2กระทำการแทนจำเลยที่1และเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1อันพอจะถือได้ว่าจำเลยที่1ได้เชิดจำเลยที่2หรือยอมให้จำเลยที่2เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่1ในการซื้อสินค้าของโจทก์ไปแต่อย่างใดดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าจำเลยที่2เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่1ในการซื้อข้าวสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และยกฟ้องสำหรับจำเลยที่2ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยนั้นจึงเป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและนอกข้อหาของโจทก์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142อันเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247มีเหตุอันสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่าบัตรเครดิต: การรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริหารสินเชื่อบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์และสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้การให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7)จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่24มกราคม2537อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่31มกราคม2539พ้นกำหนด2ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการบัตรเครดิตและการรับสภาพหนี้
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริหารสินเชื่อบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ และสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ การให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อน แล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาตัวแทนและการไม่ผูกพันตามสัญญา เมื่อมีเหตุสุดวิสัยจากระเบียบราชการ
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้ เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของ ก.เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ ดังนั้น ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 827
เมื่อปรากฏว่า หลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จาก ก. แต่ ก.ได้กำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายประการ และ ก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาต และผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูล ต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ ดังนี้ ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้ แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใด ๆ ได้ก็ตาม และการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาด แต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลย เช่นนี้ สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว
ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์ และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลย และเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้ เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว ฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ก.ได้ และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนก่อสร้าง: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยและไม่ได้ผูกพันตามเงื่อนไขเดิม
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ดังนั้นฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827 เมื่อปรากฎว่าหลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จากก.แต่ก.ได้กำหนดให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขหลายประการและก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตและผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูลต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ดังนี้ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดๆได้ก็ตามและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาดแต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลยเช่นนี้สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้นเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลยและเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของก.ได้และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อยฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5691/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานในประเด็นข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,343วรรคหนึ่งจำคุก3ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา341คงจำคุก3ปีเช่นกันเป็นการแก้ไขเฉพาะการปรับบทกฎหมายโดยมิได้แก้ไขโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งโจทก์ฎีกาว่าลักษณะการกระทำของจำเลยเป็นการชักชวนบุคคลทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแม้ไม่มีการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่วไปและจำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ทุจริตและมิได้หลอกลวงบรรดาผู้เสียหายรวมทั้งไม่ได้รับเงินจากผู้เสียหายเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค2เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินและการอุทิศทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ แม้ยังไม่ได้ปลูกสร้าง ก็มีสิทธิฟ้องร้องได้
ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินโดยแบ่งเป็นแปลงย่อยๆขายให้ผู้อื่นซื้อและได้กันทางพิพาทไว้ให้ผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยและบุคคลทั่วไปใช้สอยอันเป็นการอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลที่ซื้อที่ดินจากจำเลยต่อมาจำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์ได้และขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทให้นั้นถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แม้โจทก์ยังไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง โจทก์มีพยานที่ทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีต่างเบิกความตรงกันว่าจำเลยได้แบ่งหรือกันทางพิพาทไว้เป็นทางสาธารณะสำหรับคนที่ซื้อที่ดินแปลงย่อยและประชาชนทั่วไปไว้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะจึงฟังได้ดังที่โจทก์นำสืบส่วนฝ่ายจำเลยต้องห้ามมิให้นำพยานเข้าสืบเพราะไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานกรณีจึงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจำเลยปิดกั้นทางดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382-5383/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายทรัพย์มรดก, อายุความมรดก, การโอนโดยไม่สุจริต, และการเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่2ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจ. ซึ่งเป็นทายาทด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่1ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่2จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605ส่วนจำเลยที่1ไม่ใช่ทายาทการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกแต่เมื่อรับโอนโดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ. เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกด้วยจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตสำหรับจำเลยที่3ถึงที่5เป็นบุตรของจำเลยที่1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่1จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสามขอให้เพิกถอนการโอนได้ตามมาตรา1300ส่วนจำเลยที่6รับโอนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ถึงที่5หลังจากโจทก์ที่3ได้อายัดที่พิพาทไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วซึ่งแม้ขณะโอนจะล่วงเลยระยะเวลา60วันที่เจ้าพนักงานที่ดินรับอายัดไว้แต่เมื่อจำเลยที่6ทราบเรื่องอายัดด้วยถือว่าจำเลยที่6รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสามจึงขอให้เพิกถอนการโอนได้เช่นกัน จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกส่วนจำเลยที่2ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2แล้วให้จำเลยที่3ถึงที่5ถือกรรมสิทธิ์รวมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่3ถึงที่5เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทจึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมต่างๆที่จำเลยที่1กระทำกับจำเลยที่2ภายใน1ปีนับแต่โจทก์ทั้งสามบรรลุนิติภาวะจนล่วงเลยมานานเกิน10ปีคดีจึงขาดอายุความไว้ก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่1และที่2มิได้เบียดบังทรัพย์มรดกแต่คดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกปัญหาเรื่องอื่นไม่จำต้องวินิจฉัยโจทก์ทั้งสามอุทธรณ์จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่2เบียดบังทรัพย์มรดกจำเลยที่1จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์คดีไม่ขาดอายุความมรดกพิพากษากลับเช่นนี้ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382-5383/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายทรัพย์มรดก การรับโอนโดยไม่สุจริต และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมของผู้รับมรดก
จำเลยที่2ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจ.ด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่1ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจึงเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่2จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605ส่วนจำเลยที่1ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2โดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ.เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตจำเลยที่3ถึงที่5เป็นบุตรของจำเลยที่1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่1จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300 จำเลยที่3ถึงที่5ขายที่ดินให้จำเลยที่6หลังจากโจทก์ที่3ได้อายัดที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยกรรมการของจำเลยที่6ทราบเรื่องแล้วถือว่าจำเลยที่6รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิให้เพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ได้เช่นกัน ผู้ที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่บุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกทั้งจำเลยที่2ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจำเลยที่2จึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2แล้วให้จำเลยที่3ถึงที่5ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่3ถึงที่5เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทจึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยแคชเชียร์เช็คชอบด้วยกฎหมาย แม้สัญญาระบุชำระเป็นเงินสด หากเจ้าหนี้ไม่ยอมรับโดยไม่มีเหตุผลสมควร
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา320โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ไม่ได้ซึ่งตามสัญญาระบุให้ชำระสินไถ่เป็นจำนวน8,800,000บาทสินไถ่จำนวนดังกล่าวเป็นเงินจำนวนมากการชำระค่าสินไถ่ด้วยแคชเชียร์เช็คซึ่งเป็นเช็คที่ทางธนาคารออกให้เช็คดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนเงินสดหากจำเลยมีความสงสัยว่าเป็นเช็คปลอมหรือไม่มีเงินก็อาจตรวจสอบโดยโทรศัพท์สอบถามไปยังธนาคารที่ออกแคชเชียร์เช็คได้แต่จำเลยก็ ยืนกรานไม่ยอมรับแคชเชียร์เช็คซึ่งเป็นการผิดปกติเพราะหากจำเลยต้องการรับชำระหนี้ด้วยเงินสดก็น่าจะระบุไว้ในสัญญาหรือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับชำระหนี้เองและโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากแล้ว แม้โจทก์มิได้ติดต่อกับจำเลยเรื่องไถ่ถอนการขายฝากด้วยตนเองแต่ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกันกระทำแทนแล้วส่วนการติดต่อล่วงหน้า30วันก่อนมีการไถ่ถอนหรือไม่ไม่ปรากฎซึ่งแม้จะติดต่อการไถ่ถอนล่วงหน้าไม่ครบ30วันแต่จำเลยก็ได้มาพบโจทก์กับพวกที่ธนาคารและไม่ได้ยกระยะเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นสาระสำคัญจำเลยคงยกเรื่องไม่รับแคชเชียร์เช็คและต้องการเงินสดเท่านั้นแสดงว่าระยะเวลาบอกกล่าวการไถ่ถอนล่วงหน้า30วันไม่เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปโจทก์จึงไม่ผิดสัญญาในข้อนี้
of 89