พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีเงินเดือนและหุ้นสหกรณ์ แต่มีภาระหนี้สินสูงกว่าทรัพย์สิน ศาลพิพากษาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนประจำ และมีทรัพย์สินเป็น หุ้นอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมชลประทานก็ตาม แต่เงินเดือน ของจำเลยหลังจากหักค่าใช้จ่ายในครอบครัวแล้วคงเหลือ ประมาณ 2,000 บาท ซึ่งพอเพียงสำหรับการผ่อนชำระหนี้ ได้เฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น แต่จำเลยก็หาได้ชำระให้แก่โจทก์ไม่นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์สูงเกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในสหกรณ์อีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การซ้ำซ้อนของสิทธิเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการไถ่ถอนจำนอง
ลูกหนี้นำที่ดินจำนวน 6 แปลงมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่ เจ้าหนี้เป็นประกันต่อมาเจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงทำ สัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกหนี้นำที่ดิน 5 แปลงไปขายให้แก่ผู้อื่นเพื่อนำเงินที่ขายได้มาชำระแก่เจ้าหนี้ตาม ข้อตกลงและมีการไถ่ถอนจำนองไปแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ มีประกันในที่ดิน 5 แปลงอีกต่อไป คงมีเพียงที่ดิน 1 แปลง ที่ยังมิได้มีการไถ่ถอนจำนอง เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งลูกหนี้มีอยู่ต่อ เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยมีที่ดินที่ยังมิได้มีการไถ่ถอนจำนอง เป็นหลักประกันเต็มจำนวนหลักทรัพย์ ส่วนการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอ รับชำระหนี้คดีนี้ก็เนื่องจากศาลได้เพิกถอนการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ ได้ผ่อนชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 3 เดือน ก่อนขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ซึ่งเป็นการผ่อนชำระหนี้ที่มีมูลหนี้ตามคำพิพากษาตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอน จำนองที่ดินแปลงที่เหลืออีก 1 แปลง ดังที่เจ้าหนี้อ้าง และสิทธิ ของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันยังคงมีอยู่โดยบริบูรณ์ตามคำสั่ง ศาลในคำขอรับชำระหนี้รายที่ 4 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในสำนวน คำขอรับชำระหนี้คดีนี้อันเป็นการซ้ำซ้อนกับสิทธิของเจ้าหนี้ ในคำขอรับชำระหนี้รายที่ 4 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ และมีทรัพย์สิน/สิทธิเรียกร้องอื่น จึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะโจทก์ฟ้องคดี จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ไม่ได้ ปิดกิจการแต่อย่างใด กรณียังไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข จำเลยยังนำสืบว่า นอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังเป็นหนี้บริษัท ธ ประมาณ 8,000,000 บาทแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องหนี้สินจากลูกหนี้ของจำเลยโดยจำเลยได้ฟ้องกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้ชำระค่าก่อสร้างอาคารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เป็นเงินประมาณ 61,000,000 บาท ซึ่งหากจำเลยชนะคดีและ ได้รับชำระหนี้แม้เพียงบางส่วน จำเลยก็สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย ต้องมีหลักฐานแสดงทรัพย์สินทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในเขตศาล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)เป็นเพียงข้อสันนิษฐานถึงพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็น เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงด้วยว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพียงใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 โดยคำนึงถึงเหตุอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลย ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจริง เดิมศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 170,784 บาทแก่โจทก์คดีถึงที่สุด แต่โจทก์ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) ซึ่งโจทก์นำสืบให้เห็นแต่เพียงว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินในเขตจังหวัดนนทบุรีและไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่หานำสืบให้เห็นด้วยว่าในเขตจังหวัดนครสวรรค์จำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกัน อีกทั้งเหตุที่โจทก์อ้างเป็นเหตุฟ้องจำเลยให้ล้มละลายนี้สืบเนื่องจากกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่น สนับสนุนหรือนำมาประกอบให้เพียงพอที่จะแสดงหรือพิสูจน์ ให้เห็นได้เป็นข้อสำคัญว่า จำเลยไม่มีความสามารถชำระหนี้ หรือเป็นบุคคลตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังเป็นลูกหนี้บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท ส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 198 หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้
คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (1)
คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้ฟ้องล้มละลายไม่ได้
หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นการกำหนดให้จำเลยทั้งสองทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนด พึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยทั้งสองจะพึงเลือก ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ดังนั้นหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำก่อน จึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน อันแสดงว่าโจทก์ยังคง มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืน จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แม้ข้อนำสืบของโจทก์จะมีเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้ จำเลยทั้งสองล้มละลาย จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้งสามข้อ ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 มิใช่ข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น เมื่อหนี้ตาม คำพิพากษาส่วนที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้ตามคำพิพากษาส่วนอื่นไม่อาจกำหนด จำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย ในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องนั้น ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(1) ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาทส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาทตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย แม้มีหลักประกัน แต่เจ้าหนี้ไม่ต้องบังคับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนก็ได้
โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดมาฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเกิดจากจำเลยผิดสัญญาประกันผู้ต้องหาต่อโจทก์และ ในการประกันผู้ต้องหานั้น จำเลยได้นำที่ดินตาม น.ส.3 ของบุคคลภายนอกวางเป็นหลักประกันไว้ ขณะที่จำเลยยื่น คำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันผู้ต้องหาโดยมิได้จดทะเบียน จำนอง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลย ในที่ดินที่เป็นหลักประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ดังนั้นโจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 10 จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันจำเลยไม่ชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627-645/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อเมื่อลูกหนี้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโอนกรรมสิทธิ์หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน
เมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใดที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องต่อไป ผู้ร้องจึงเป็นฝ่ายมีสิทธิอันจะพึงได้รับตามสัญญาเช่าซื้อ หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมาไม่ กรณี ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะมาพิจารณาว่า สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปนี้ มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์อันจะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 หรือไม่
เมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ผู้ร้องที่ 68 ได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อให้โอนกรรมสิทธิ์และรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินเองและไม่สามารถดำเนินการโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องที่ 68 ได้ เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินที่ให้เช่าซื้อไปจำนองไว้แก่ธนาคารและบุคคลอื่นแล้ว ดังนั้น ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อผู้ร้องที่ 68 แม้ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว แต่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 เพื่อไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ร้องซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านชอบที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญาให้ผู้ร้องและรับชำระราคาส่วนที่เหลือจากผู้ร้อง
เมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ผู้ร้องที่ 68 ได้ติดต่อกับลูกหนี้เพื่อให้โอนกรรมสิทธิ์และรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินเองและไม่สามารถดำเนินการโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องที่ 68 ได้ เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินที่ให้เช่าซื้อไปจำนองไว้แก่ธนาคารและบุคคลอื่นแล้ว ดังนั้น ย่อมถือได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต่อผู้ร้องที่ 68 แม้ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายแล้ว แต่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 เพื่อไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ร้องซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านชอบที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญาให้ผู้ร้องและรับชำระราคาส่วนที่เหลือจากผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน: สัญญาผูกพันจากการเสนอขอรับรองตั๋วแลกเงินมีอายุความ 10 ปี
แม้ว่าเจ้าหนี้จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ก็ตาม แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้ เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ถึง จ.23ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7 มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัท ซ. ตามเอกสารหมายจ.9 ถึง จ.11 หนังสือคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน ทั้งสามฉบับดังกล่าวซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกัน กับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อ แต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้ รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้อง ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตาม ตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินเอกสารหมาย จ.21 ถึง จ.23 ข้อ 1 และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วันนับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ได้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)