คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน: สัญญาผูกพันจากการเสนอขอรับรองตั๋วแลกเงินมีอายุความ 10 ปี
แม้ว่าเจ้าหนี้จะมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ก็ตาม แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้ เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ถึง จ.23ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7 มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัท ซ. ตามเอกสารหมายจ.9 ถึง จ.11 หนังสือคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน ทั้งสามฉบับดังกล่าวซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกัน กับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อ แต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้ รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้อง ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตาม ตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินเอกสารหมาย จ.21 ถึง จ.23 ข้อ 1 และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วันนับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ได้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับรองตั๋วแลกเงินผูกพันลูกหนี้ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี ไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ตามป.พ.พ.มาตรา 1002 แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัทซ.ซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตามตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน ถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการรับรองตั๋วแลกเงิน: สัญญาผูกพันเกิดจากคำขอรับรองและเจตนาของเจ้าหนี้ ทำให้มีอายุความ 10 ปี
เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และ วันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7 มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัทซ. ซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้ รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ ตามจำนวนเงินตามตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน ถ้าหากเรียกคืน ตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย นอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใดๆที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงิน ไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝาก ของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับเจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทซ. ตามที่ลูกหนี้ ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ เป็นการสนอง ความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบ การขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรอง ตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่)คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ต้องทำในชั้นศาลต้น ไม่ใช่ชั้นฎีกา
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ดังที่ บรรยายมาในฎีกาเพื่อแสดงว่าจำเลยสามารถชำระหนี้ทั้งหมดของโจทก์ได้นั้น เป็นการล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้ เพราะจำเลยมิได้นำสืบไว้ให้ปรากฏ ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งเมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ตามคำพิพากษาและศาลได้หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี บังคับเอาชำระหนี้ของจำเลยแล้ว จำเลยก็มิได้ขวนขวายหาเงิน มาชำระหนี้หรือเอาทรัพย์สินมาตีใช้หนี้โจทก์ การที่จำเลยอ้าง ขึ้นมาในชั้นฎีกาว่า มีทรัพย์สินพอชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดนั้น จำเลยควรแถลงข้อความจริงและส่งมอบทรัพย์สินต่าง ๆเหล่านั้นให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพราะทรัพย์สินต่าง ๆของจำเลยเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลายและการบังคับคดี: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ทั้งที่จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ได้ ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม2529 พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว, อายุความบังคับคดี, และการฟ้องซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9หรือมาตรา 10 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตามแต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงย้ายไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ได้ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2529พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องแสดงเจตนาประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4) ข้อ ข. บัญญัติเพื่อให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าหากจำเลยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้แสดงว่าจำเลยน่าจะไม่สามารถจะชำระหนี้ของตนได้ และตกเป็น ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยกระทำการโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าไปรษณีย์ตอบรับแจ้งว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และทราบความ จากน้องชายจำเลยว่า จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยังไม่พอฟังตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: สุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิด
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องแสดงให้พอใจศาลว่า การโอน กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ผู้คัดค้านเพิ่งทราบว่า จำเลยถูกฟ้องให้ล้มละลายและถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายหลัง จากจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้าน ไม่รู้ถึงการที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวมาก่อนจะจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ให้ ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลายประมาณ 1 ปี และหนี้ที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายเป็นหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันในมูลหนี้ที่เกิด จากบุคคลอื่นขายลดเช็คแก่โจทก์พฤติการณ์น่าเชื่อว่าการโอน ทรัพย์สินได้กระทำโดยสุจริต และการที่ผู้คัดค้านชำระค่าที่ดิน ให้จำเลยบางส่วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วยังต้องนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคารก่อนจึงรับโอนกรรมสิทธิ์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อเกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้า เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้าโดยเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้า ของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตนั้นไปซื้อสินค้าและบริการ จากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสด แต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่าย ไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้ว จะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป ส่วนการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรง หาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อน ดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี จึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี ต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัด มิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่า วงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่ เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจาก วงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้ เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลง และตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงิน ที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทน ลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลังจึงเป็นการเรียกเอาเงิน ที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียง ในชั้นฎีกา เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า/บริการจากบัตรเครดิต: การทดรองจ่ายไม่ใช่การเบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้า เจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้อง ชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้า และสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงิน จากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้า ของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า และบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงิน เกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงิน กำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิต ซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้ สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจาก บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดใน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงิน ค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อ บัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออก ทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้ง ดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่ เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงิน จากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 193/14(1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยัง ไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้น โต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
of 89