คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อเกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้า เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้าโดยเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้า ของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตนั้นไปซื้อสินค้าและบริการ จากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสด แต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่าย ไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้ว จะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป ส่วนการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรง หาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อน ดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี จึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชี ต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัด มิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่า วงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่ เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจาก วงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้ เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลง และตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงิน ที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้า และสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทน ลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลังจึงเป็นการเรียกเอาเงิน ที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียง ในชั้นฎีกา เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบ, ทำไม้ผิดกฎหมาย, และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ป่าไม้เขตได้ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่คัดเลือกไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจประเภทไม้แก่จัดมีขนาดโตเกินขนาดจำกัดมากและอยู่ในวัยเสื่อมโทรมหรือยอดไม่สมบูรณ์และให้ตีตราคัดเลือกอนุญาตให้ตัดฟันไม้เพื่อบำรุงป่า หรือ บร. กับทำบัญชีคัดเลือกไม้เสนอผู้บังคับบัญชาแล้วป่าไม้เขตจะได้ประมูลหาผู้รับจ้างตัดโค่นและซื้อไม้ดังกล่าว โดยแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15ไปทำการตรวจวัดตีตรารัฐบาลขาย หรือ รข.เป็นการอนุญาตให้ชักลากไม้ได้ โดยจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15จะต้องตีตราเฉพาะไม้ที่มีตรา บร. เท่านั้น และจะต้องตรวจดูว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราต้นไม้ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง จะตีตรา รข. ไม่ได้ และจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กลับตีตราไม้ที่ดีมีค่าทางเศรษฐกิจเป็นการขัดคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และ รัฐเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำบัญชีสำรวจคัดเลือกตีตราไม้เสนอ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารดังกล่าว จึงมีความผิดฐานรับรองเป็นหลักฐานว่าได้กระทำการตามที่ระบุในเอกสารขึ้นอันเป็นความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) จำเลยที่ 16 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 17 เป็นกรรมการ ได้ทำสัญญาตัดฟันไม้และซื้อไม้เหล่านั้นกับกรมป่าไม้ โดยจำเลยที่ 16 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการตัดฟันไม้แทน และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 ได้ตีตราไม้ที่ยังไม่มีตรา บร. แสดงว่าเป็นไม้ที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจากจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และรัฐตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และการที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสารได้ทำบัญชีรับรองเป็นหลักฐานว่าตน ได้ตีตรา รข. บนไม้ที่มีการคัดเลือกแล้วทุกต้น อันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 จึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) ด้วย ขณะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตรา บร. คัดเลือกไม้ที่จะทำการ โค่น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ประมูล โค่นไม้และซื้อไม้ได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 16 และ ที่ 17 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 ตัดโค่นไม้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราไว้ตามสัญญาจ้างตัดโค่นและขายไม้ที่ทำไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงไม่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 อย่างไรก็ดีปรากฏว่า ไม้ที่ตัดโค่นบางส่วนไม่มีตราของทางราชการใด ๆ เลย จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้ และมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดย ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการนำส่งเอกสารอุทธรณ์ล่าช้าและการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา70 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา174 (2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132 (1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริง ก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่
แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี โดยคำนึงถึงความผิดพลาดจากเจ้าหน้าที่
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องวางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมาย แต่มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล ดังนี้ การที่ผู้ร้องได้วางเงินค่านำหมายหาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่จึงต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่แม้จะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดีล้มละลาย การวางค่าธรรมเนียมยังไม่ปลดหน้าที่นำส่งสำเนา
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องวางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมาย แต่มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งศาล ดังนี้ การที่ผู้ร้องได้วางเงินค่านำหมายหาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่จึงต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่แม้จะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ร้องในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้วการที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132(1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริงก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ 1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลัง รั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน 250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา 510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532 แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้: สิทธิในการรับชำระหนี้
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
of 89