พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมกับมติทายาท: การจัดสรรที่ดินมรดกและการใช้สิทธิโดยชอบธรรม
เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์และจำเลยจึงเป็นทายาทรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกับบุตรคนอื่น ๆ ของเจ้ามรดกตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัดก็ต้องถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของรวม จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวมการที่จำเลยปลูกโรงเรือนและนำวัสดุก่อสร้างมาไว้บนที่ดินพิพาท ก็เพราะได้รับอนุญาตจากเจ้ามรดกเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเจ้ามรดกได้ร่วมกับบริษัท ฮ. จัดสรรแบ่งขายที่ดินและทายาทส่วนใหญ่มีมติให้ยังคงดำเนินการดังกล่าวต่อไป โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกจึงต้องดำเนินการไปตามเสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามมติของทายาทส่วนใหญ่ด้วย การที่จำเลยอ้างว่าในฐานะทายาทคนหนึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกโรงเรือนหรือนำวัสดุก่อสร้างมาไว้บนที่ดินพิพาทได้นั้น จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่งที่กำหนดว่าการใช้ทรัพย์สินของเจ้าของรวมคนหนึ่งต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เมื่อทายาทคนอื่น ๆ ประสงค์จะให้มีการจัดสรรที่ดินแบ่งขายต่อไป โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็มีหน้าที่ดำเนินการไปตามมติเสียงส่วนใหญ่ของทายาทเมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่การดำเนินการจัดสรรที่ดินออกไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะก่อสร้างโรงเรือนหรือนำวัสดุก่อสร้างมาวางบนที่ดินพิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้บังคับกับเหตุการณ์ใหม่ได้ โจทก์ต้องฟ้องคดีใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยออกไปจากที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการบังคับคดีเสร็จสิ้นตรงตามคำพิพากษาแล้ว การที่จำเลยเข้ามาอยู่ในที่พิพาทอีกหลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 2 ปี จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะอาศัยคำพิพากษาในคดีนี้ที่บังคับคดีไปเสร็จสิ้นแล้วมาบังคับเอาแก่การกระทำของจำเลยในครั้งนี้อีกไม่ได้ ชอบที่โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสิ้นสุดแล้ว การกระทำใหม่ของจำเลยเป็นคนละเรื่อง โจทก์ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท ศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยออกไปจากที่พิพาทแล้วย่อมถือได้ว่าการบังคับคดีเสร็จสิ้นตรงตามคำพิพากษาแล้วการที่จำเลยเข้ามาอยู่ในที่พิพาทอีกหลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 2 ปี จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะอาศัยคำพิพากษาในคดีนี้ที่บังคับคดีไปเสร็จสิ้นแล้วมาบังคับเอาแก่ การกระทำของจำเลยในครั้งนี้อีกไม่ได้ ชอบที่โจทก์จะฟ้อง เป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6545/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นบังคับคดีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฎีกาว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นของผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาทรัพย์สินพิพาทไว้เพียง 71,000 บาท และโจทก์เองก็เห็นชอบในราคาประเมินดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็นทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิต: อำนาจสั่งของศาลอุทธรณ์และการส่งสำนวน
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้องโดยให้ผู้ร้องแสดงพยานหลักฐานการถึงแก่กรรมของจำเลยที่ 1 และฐานะของผู้ร้องแล้ว ต้องส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ฟัง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลจากละเมิดของเจ้าหน้าที่ แม้ไม่ใช่ความรับผิดโดยตรง
รถยนต์โดยสารของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุมีผู้โดยสารตกจากรถของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีฐานะเป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนได้กระทำการโดยนำรถคันที่เกิดเหตุมาจอดไว้ที่ริมถนนหน้าสถานีตำรวจเพื่อมิให้กีดขวางทางจราจรตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ต่อมาอุปกรณ์ในรถของโจทก์สูญหายในขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของพนักงานสอบสวน เหตุละเมิดซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว หากแต่มิได้เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แต่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งยึดรถเนื่องจากรถที่สั่งยึดเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานสอบสวนนำรถไปจอดอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควร เป็นเหตุให้อุปกรณ์ในรถสูญหายไปบางส่วน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ไม่ว่าผู้แทนของโจทก์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นจะเป็นจำเลยที่ 1 หรือพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ก็ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลต่อละเมิดของผู้แทน แม้ผู้แทนไม่มีความประมาทเลินเล่อ
รถยนต์โดยสารของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุมีผู้โดยสารตกจากรถของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีฐานะ เป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนได้กระทำการโดยนำรถคันที่เกิดเหตุ มาจอดไว้ที่ริมถนนหน้าสถานีตำรวจเพื่อมิให้กีดขวาง ทางจราจรตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ต่อมาอุปกรณ์ในรถของโจทก์สูญหายในขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของ พนักงานสอบสวน เหตุละเมิดซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว หากแต่มิได้เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แต่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งยึดรถเนื่องจากรถที่สั่งยึดเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานสอบสวนนำรถไปจอดอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควร เป็นเหตุให้อุปกรณ์ในรถสูญหายไปบางส่วน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงต้องรับผิด ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ไม่ว่าผู้แทนของโจทก์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นจะเป็น จำเลยที่ 1 หรือพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ก็ปฏิเสธ ความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ, รับของโจร จากการนำใบสั่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกลักไปมาใช้โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเขียนข้อความลงในใบสั่งจ่ายน้ำมัน ทั้ง ๆ ที่ทราบว่าตนไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร การที่จำเลยนำเอกสารปลอมไปยื่นต่อพนักงานของ สถานีบริการน้ำมันเพื่อประโยชน์ในการเติมน้ำมันใส่รถยนต์ของจำเลย จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมด้วย เอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่พลขับจะต้องกรอกข้อความให้ชัดเจนว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชการใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นการทำขึ้นในหน้าที่ อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1(8) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม ใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกลักไป ต่อมาตกอยู่ในความ ครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยนำไปกรอกข้อความเพื่อใช้สิทธิเติมน้ำมัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าใบสั่งจ่าย น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนทายาท vs. ครอบครองเพื่อตนเอง ผลต่ออายุความ และการแบ่งมรดก
ห. และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดกไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิ ยกอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้ คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาท มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับ ส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว. ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วน แบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง