พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนทายาทและสิทธิในการแบ่งมรดก: ศาลไม่อาจกันส่วนแบ่งมรดกให้ทายาทที่มิได้ร้องสอด
ห.และจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนทายาทของเจ้ามรดก ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเอง ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกว่าคดีขาดอายุความได้
คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว.ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีฟ้องเรียกมรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นจะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความหรือผู้ร้องสอดให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาแบ่งที่ดินให้แก่ ว.ทายาทคนหนึ่งของเจ้ามรดกโดยที่ ว.มิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือ ว.ได้มอบอำนาจให้โจทก์เรียกทรัพย์มรดกแทน จึงเป็นการกันส่วนแบ่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่น ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1749ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความไม่สมบูรณ์ในคดีเช็ค – ยังไม่ระงับสิทธิฟ้องอาญา หากจำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และฟ้องเรียกเงินทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ในระหว่างพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยได้เจรจาตกลงกันโดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่ยอมรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์ยอมให้เวลาแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยหาเงินมาชำระหนี้โดยยอมลดจำนวนเงินลง โดยให้จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนด และโจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งด้วย เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยอมลดหนี้และให้โอกาสแก่จำเลย โดยโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระเงินตามข้อตกลงแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์ในคดีเช็ค – เจตนาต้องชัดเจนในการยุติข้อพิพาททางอาญา
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และฟ้องเรียกเงินทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย คดีนี้จำเลย ให้การปฏิเสธ แต่ในระหว่างพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยได้เจรจา ตกลงกันโดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่ยอมรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์ยอมให้เวลาแก่จำเลยเพื่อ ให้จำเลยหาเงินมาชำระหนี้โดยยอมลดจำนวนเงินลง โดยให้ จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนด และโจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งด้วย เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยอมลดหนี้และให้โอกาสแก่จำเลย โดยโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญา จนกว่าจำเลยได้ชำระเงินตามข้อตกลงแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญา มาฟ้องจึงยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้วสัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)" และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญาหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความหนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและการรับชำระหนี้ที่เชื่อมโยงกัน
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว สัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า"ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)..." และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญา หนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ หนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ก่อนครบกำหนด
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถามและฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลยนำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลยนำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยรายเดือน ทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองก่อนครบกำหนดสัญญา
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา 5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระ ดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่า จำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัด ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถาม และฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดิน โฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลย นำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาควรแก้ไข เสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมทหาร-พลเรือน ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากมีผู้กระทำผิดเป็นพลเรือน
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 14 (1)จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมระหว่างทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้ตามเงื่อนไข
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(1) จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะ ทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาแก้โทษจากลักทรัพย์เป็นรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริง ที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำฟ้อง