พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาแก้โทษจากลักทรัพย์เป็นรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริง ที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย ผู้รับจำนองสุจริตและมีค่าตอบแทนได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.ล้มละลาย
วันสุดท้ายที่ผู้คัดค้านมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือ วันที่ 7 มีนาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงต้องนับวันที่ต่อจาก วันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้นคือเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 8 มีนาคม 2539 ตามมาตรา 197/7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2539 เป็นวันสุดท้าย บริษัทน.เป็นลูกค้าของผู้คัดค้านประเภทขาดลดเช็คโดยจำเลยเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทน.การที่บริษัทน. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คกับผู้คัดค้าน และจำเลยได้จำนองที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งบริษัทน.ได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปเรียบร้อย แล้วการจำนองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน แม้การจำนองจะเป็นการจำนองภายหลังระยะเวลาที่โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายอันเป็นการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอม ให้กระทำภายหลังมีการขอให้ล้มละลายก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความว่าการจำนองดังกล่าวผู้คัดค้านกระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกบัตรประชาชนให้บุคคลต่างด้าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 83, 137,157, 267, 268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคลต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรองบุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตามบทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา137, 267 และ 157 ด้วย แต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็นชัดเจน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้าง โดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ว.พา ท. มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน พ. วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร.ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท. ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท.ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร.และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข. คือ ท.ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร. และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการรักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่งตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอสมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย... ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 157
ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย เมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แล้ว
ว.พา ท. มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน พ. วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร.ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท. ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท.ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร.และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข. คือ ท.ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร. และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการรักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่งตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอสมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย... ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 157
ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย เมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าว ได้รับคำสั่งให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,137,157,267,268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ 267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำ ด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการ ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคล ต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรอง บุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตาม บทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา 137,267 และ 157 ด้วยแต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็น ชัดเจนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้างโดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ว.พาท.มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านพ.วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร. ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท.ต่อมาวันรุ่งขึ้นท. ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร. และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข.คือ ท. ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร.และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการ รักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่ง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยเมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้ รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีปลัดอำเภอรับรองบุคคลต่างด้าว และการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่ากรมการ อำเภอแม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย กรณีจึงต้อง ถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลย ที่ให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง ๆที่ทราบว่า ท. เป็นบุคคลต่างด้าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2509 วางระเบียบ ใน การสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วม กับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยนั้นก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ แต่ คดี นี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่ายณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถ สืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนา คำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ทำให้ กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหา เรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่ง ศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการฟ้องคดี ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถสืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามปล้นทรัพย์, สนับสนุนความผิด, มีอาวุธปืน, วิทยุคมนาคม, และบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายาม ปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86 และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวก ภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐาน พยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในฐานตัวการ ผู้สนับสนุน และการปรับบทลงโทษในความผิดพยายามปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คน ตาม ป.อ.มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คนลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวกภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 340 ตรี ด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจรต้องมีทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด หากไม่มีทรัพย์ที่ได้มาโดยตรงจากความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ไม่ถือว่ามีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานปล้นทรัพย์หรือรับของโจรเงินตราต่างประเทศของผู้เสียหายแต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์และรูปคดีมีความสงสัยตามสมควรว่าธนบัตรเงินตราต่างประเทศที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดจากจำเลยที่ 1 เป็นของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายปล้นไปหรือไม่จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 1 ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง และฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานรับของโจร ส่วนทรัพย์ของกลางตามฟ้องที่เจ้าพนักงานตำรวจยึด มาจากจำเลยที่ 2 เมื่อไม่มีเงินตราต่างประเทศของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายปล้นไปรวมอยู่ด้วย ทรัพย์ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะฎีกาว่า ของกลางเหล่านั้นอันได้แก่ สร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 1 เส้นพร้อมพระเครื่องเลี่ยมทองคำจำนวน 1 องค์ เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 นำเงินที่ได้รับจากส่วนแบ่งปล้นทรัพย์รายนี้ไปซื้อมา ส่วนธนบัตรสกุลเงินบาทก็เป็นเงินส่วนแบ่งที่จำเลยที่ 2 ได้รับมาและยังคงเหลืออยู่ก็ตามแต่ของกลางดังกล่าวเมื่อมิใช่ทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงไม่มีทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 2ย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจรเช่นกัน