คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1574 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัญญาจะซื้อขายโมฆียะ การให้สัตยาบัน และอำนาจผู้อนุบาล
แม้ขณะที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลง ในขณะที่ ส.เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ ส.ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574 (1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ ส.ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทน ส.พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ ส.ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส.ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส.อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้านตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม และเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของ ส. ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อ ส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของ ส.ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อ ส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของ ส.คนไร้ความสามารถขายที่ดินของ ส.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถ: การให้สัตยาบันสัญญา และเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกอนุบาล
แม้ส. ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ส. จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อ ตามสัญญาจะซื้อขายปรากฏว่า ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อขายที่ส. ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตามแต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทนส. ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทนส. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส. ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส.อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้านตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วเห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมและเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของส.ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของส.ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่า มีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของส.คนไร้ความสามารถขายที่ดินของส. ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินของผู้เยาว์โดยได้รับอนุญาตจากศาล และผลผูกพันต่อผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์ค้าผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 2 และนาง อ. บิดามารดาของจำเลยที่ 3เป็นหุ้นส่วนเพียงสองคน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในขณะนั้นทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3บุตรผู้เยาว์ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่กู้จากโจทก์เพื่อนำเงินไปลงทุนสร้างปั๊มน้ำมัน ถือได้ว่าเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 แม้ในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินดังกล่าวนาง อ. มารดาจำเลยที่ 3 จะได้ลงนามร่วมกับจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็นผู้จำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3 ได้ก็ตาม แต่นาง อ. ก็ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ด้วยคนหนึ่ง ทั้งสัญญาที่ นาง อ. ร่วมลงนามก็ไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากคำสั่งอนุญาตของศาล การกระทำของนาง อ. ดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 3 ต้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยึดถือเพื่อตนเองในที่ดินมรดก แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินของผู้เยาว์เป็นโมฆะ
เดิมมารดาจำเลยได้ยกที่ดินมี น.ส.3 ให้โจทก์จำเลย โดยจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ต่อมาบิดาโจทก์ได้ตกลงมอบที่ดินส่วนของโจทก์ให้จำเลย ส่วนจำเลยได้ซื้อที่ดินของบุคคลอื่นมอบให้ฝ่ายโจทก์เป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้ว แม้ขณะนั้นโจทก์อายุ 14 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ และไม่ปรากฏว่าบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลให้แลกเปลี่ยนที่ดินของโจทก์กับจำเลยได้อันทำให้การแลกเปลี่ยนนี้เป็นโมฆะก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในฐานะครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์แทนโจทก์มาตั้งแต่ได้รับการยกให้นั้นได้ยึดถือเพื่อตนในส่วนของโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินทั้งหมด หาใช่ยังคงครอบครองแทนในส่วนของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้เนื่องจากชื่อผู้เยาว์
ธ. เป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลย ธ.ซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่ใส่ชื่อจำเลยผู้เยาว์ไว้ในโฉนดแทนแล้วได้ขายที่ดินและตึกพิพาทให้โจทก์ แม้ ธ.จะขายให้โจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่ทำให้สิทธิการได้มาของโจทก์เสียไป เพราะจำเลยเพียงแต่มีชื่อในโฉนดเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน ธ. เท่านั้นหาใช่ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยผู้เยาว์ไม่
หลังจากที่โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทจาก ธ. ธ. ไม่อาจโอนให้ได้เพราะโฉนดมีชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ ก็มิได้มีการตกลงกันเรื่องการโอนทางทะเบียนอีกเป็นการแน่นอนว่าจะโอนกันหรือไม่เมื่อใดโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ใช้เป็นสำนักงานสาขาสำเพ็ง ลงบัญชีว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เสียค่าภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนเอง แจ้งให้ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกครั้งว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ทั้งยังทำหนังสือแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบทั้งยังขออนุมัติรื้อถอนตัวอาคารเมื่อย้ายสำนักงานสาขาไปตั้งยังที่แห่งใหม่ซึ่งกระทรวงการคลังก็อนุมัติแสดงว่าทั้งโจทก์และนายธรรมนูญไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือได้ว่านายธรรมนูญสละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์โดยเด็ดขาดการครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของหาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อขายไม่ เมื่อเกินสิบปีโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การซื้อขายไม่สมบูรณ์และมีชื่อผู้เยาว์ในโฉนด
ธ.เป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยธ.ซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่ใส่ชื่อจำเลยผู้เยาว์ไว้ในโฉนดแทน แล้วได้ขายที่ดินและตึกพิพาทให้โจทก์แม้ธ.จะขายให้โจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่ทำให้สิทธิการได้มาของโจทก์เสียไป เพราะจำเลยเพียงแต่มีชื่อในโฉนดเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน ธ.เท่านั้น หาใช่ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยผู้เยาว์ไม่ หลังจากที่โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทจาก ธ. ธ.ไม่อาจโอนให้ได้เพราะโฉนดมีชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ ก็มิได้มีการตกลงกันเรื่องการโอนทางทะเบียนอีกเป็นการแน่นอนว่าจะโอนกันหรือไม่เมื่อใด โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ใช้เป็นสำนักงานสาขาสำเพ็ง ลงบัญชีว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เสียค่าภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนเอง แจ้งให้ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกครั้งว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งยังทำหนังสือแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบทั้งยังขออนุมัติรื้อถอนตัวอาคารเมื่อย้ายสำนักงานสาขาไปตั้งยังที่แห่งใหม่ ซึ่งกระทรวงการคลังก็อนุมัติแสดงว่าทั้งโจทก์และนายธรรมนูญไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือได้ว่านายธรรมนูญสละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อขายไม่ เมื่อเกินสิบปีโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และการเพิกถอนนิติกรรมกรณีผู้รับซื้อรู้ข้อเท็จจริงทำให้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทซึ่งจำเลยทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้งส่วนของตนและส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้ขออนุญาตศาลขายส่วนของจำเลยที่ 2 สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 คงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2บรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้โอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ซึ่งรับซื้อไว้โดยรู้ข้อความจริงที่ทำให้โจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้ก่อนเสียเปรียบ โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์โดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้และโจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาให้จำเลยขายที่พิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
เรื่องค่าเสียหายนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาคัดค้าน แต่เมื่อโจทก์จะได้รับ โอนที่พิพาทครึ่งแปลง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลดค่าเสียหายลงได้ตามส่วน