คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อกฎหมาย และหน้าที่ของเจ้าของอาคาร
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมายดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างขัดกฎหมาย แม้เจ้าของไม่ได้กระทำผิดโดยตรง และผลของการวินิจฉัยอุทธรณ์ล่าช้า
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 เมื่อการก่อสร้างใดฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้นแต่หมายความรวมถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งก่อสร้างที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จในสามสิบวัน กฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่ามีผลเป็นประการใด แสดงว่าไม่มีบทบังคับ จึงไม่ทำให้อำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในการที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์หมดไปคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังคงมีอำนาจที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์อยู่ หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ล่าช้ามีผลเพียงให้ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่ไม่มีสภาพบังคับแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง เจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่ การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอนหาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีแพ่งเกี่ยวกับสิทธิซื้อที่ดินเช่า การพิสูจน์ข้อสำคัญในคดีและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ผู้ให้เช่านาจะขายนาที่ให้เช่าได้ต่อเมื่อได้แจ้งความจำนงจะขายนาให้ผู้เช่านาทราบเป็นหนังสือ โดยระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบภายใน 15 วัน ถ้าผู้เช่านาไม่แสดงความจำนงจะซื้อนาภายในกำหนด 30 วัน หรือปฏิเสธเป็นหนังสือ หรือแสดงความจำนงจะซื้อนาแต่ไม่ชำระเงินในกำหนดเวลาที่ตกลงกันหรือเวลาที่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลกำหนด จึงจะถือว่าผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อนา เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังเป็นยุติว่า ช. ผู้ให้เช่านาบอกขายนาให้แก่จำเลยโดยเป็นการบอกขายระหว่างกันเอง มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่ พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 กำหนดไว้ การที่ ช. ขายนาที่จำเลยเช่าให้แก่โจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่านาหมดสิทธิที่จะซื้อนาแปลงดังกล่าวดังนั้นข้อความที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่งที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้บังคับโจทก์ขายนาแก่จำเลย ในทำนองว่า ช. ไม่เคยบอกขายที่นาให้แก่จำเลย แม้จะเป็นความเท็จ แต่ข้อความดังกล่าวมิใช่ข้อสำคัญในคดีก่อนเพราะไม่อาจทำให้คู่ความแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดีได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่นาของผู้เช่า: การบอกขายที่ไม่เป็นไปตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ ไม่ตัดสิทธิซื้อ
การที่ผู้ให้เช่านาบอกขายที่นาให้แก่จำเลย เป็นการบอกขายกันเอง โดยมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อมาผู้ให้เช่านาขายนาให้แก่โจทก์แทน จำเลยผู้เช่านาไม่หมดสิทธิที่จะซื้อนาดังกล่าว ดังนั้นข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า ผู้ให้เช่านาขายนาให้โจทก์โดยผู้ให้เช่านาไม่ได้บอกจำเลยก่อน หากบอกจำเลยแล้วจะซื้อไว้เอง จึงไม่เป็นข้อความที่อาจทำให้คู่ความแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดีได้ ไม่เป็นข้อสำคัญในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม: จำเลยต้องเข้าใจสภาพแห่งข้อหาและต่อสู้คดีได้
คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1ได้เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ได้แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารที่กฎหมายต้องการมาพร้อมกับคำฟ้องแล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการให้เช่าซื้อรถยนต์หรือไม่เป็นรายละเอียดมิใช่สภาพแห่งข้อหาอันต้องบรรยายมาในฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้ออันเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดทันที จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 10 แต่ปรากฎว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อถูกโจรภัยจำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 6 โจทก์ได้รับชดใช้จากบริษัทที่รับประกันภัยแล้ว 200,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในราคารถยนต์ที่ยังขาดอยู่ คำฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องในคดีเช่าซื้อและการบังคับตามสัญญา
คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ซึ่งโจทก์ได้แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารที่กฎหมายต้องการมาพร้อมกับคำฟ้องแล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการให้เช่าซื้อรถยนต์หรือไม่เป็นรายละเอียด มิใช่สภาพแห่งข้อหาอันต้องบรรยายมาในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้ออันเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดทันที จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 10 แต่ปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อถูกโจรภัยจำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 6 โจทก์ได้รับชดใช้จากบริษัทที่รับประกันภัยแล้ว200,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในราคารถยนต์ที่ยังขาดอยู่ คำฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์พจนานุกรม: ศาลกำหนดค่าเสียหายจากการลอกเลียนแบบและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 72(เดิม) และ 73(เดิม) ส.นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20(2) ประกอบมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้นตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75(เดิม) โจทก์โดยบ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นข้อที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ไว้ว่า ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเองซึ่งมีความหมายว่า การจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น ความสำคัญมิได้อยู่ที่ว่างานที่อ้างว่าได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นงานใหม่หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าบุคคลผู้นั้นได้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์และงานดังกล่าวมีที่มาหรือต้นกำเนิดจากบุคคลผู้นั้นโดยบุคคลผู้นั้นมิได้คัดลอกหรือทำซ้ำ หรือดัดแปลงมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์อื่น ดังนั้น แม้การจัดทำพจนานุกรมจะมีวิธีจัดทำแบบเดียวกับวิธีที่ใช้มาแต่โบราณ โจทก์ก็อาจเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมนั้นได้ หากการจัดทำพจนานุกรมของโจทก์เป็นงานที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ด้วยการให้บทนิยามหรือความหมายของคำต่าง ๆ พร้อมภาพประกอบความหมายของคำบางคำโดยการแสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มตามลีลาของโจทก์เองและโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต งานจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นงานที่โจทก์ได้ทำขึ้นโดยใช้ความอุตสาหะวิริยะในการสร้างสรรค์และมีที่มาจากโจทก์เอง ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเอง และเป็น "ผู้สร้างสรรค์" ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 แม้โจทก์จะได้จัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่โจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์ย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นในความควบคุมของตนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 12 เมื่อข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องที่มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำและบทนิยามในพจนานุกรมของจำเลยซ้ำกับคำและบทนิยามในพจนานุกรมของโจทก์ในลักษณะลอกมาทุกตัวอักษรประมาณ 14,000 คำ และดัดแปลงโดยสลับที่บทนิยามบ้าง เปลี่ยนตัวอย่างใหม่หรือตัดออกบ้างเพิ่มเติมหรือตัดข้อความในบทนิยามของโจทก์ออกบ้าง ประมาณ19,000 คำ ส่วนการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพประกอบบทนิยามในพจนานุกรมของโจทก์มีประมาณ 130 ภาพ การจัดทำรูปเล่มและการพิมพ์ข้อความที่ปกนอกและปกในของพจนานุกรมทั้งสองล้วนมีลักษณะลอกเลียนแบบกันแตกต่างกันแต่เพียงสี และก่อนฟ้องคดีจำเลยที่ 5 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือถึงโจทก์ยอมรับผิดในการละเมิดทั้งปวง ดังนี้ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานคณะผู้จัดทำและจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 5พิมพ์ออกจำหน่าย จึงได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ของโจทก์อันเป็นงานวรรณกรรมและงานศิลปกรรมรวมอยู่ด้วย ด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดงานขึ้นใหม่และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ การละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ถือเป็นการละเมิดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดค่าเสียหายดังกล่าวศาลอาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 438 วรรคแรก ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยลวงขายพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 โดยทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นพจนานุกรมของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายทางการค้าคิดเป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น แม้จะฟังว่าจำเลยได้ลวงขายดังกล่าว แต่โจทก์เป็นส่วนราชการ ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า ย่อมมิใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะการลวงขายนั้น ประชาชนที่ถูกหลอกลวงเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ ทั้งความเสียหายเพราะการลวงขายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็มิได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดได้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ โจทก์มิได้ลงทุนพิมพ์และจำหน่ายหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เอง แต่โจทก์อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.เป็นผู้จัดพิมพ์และจำหน่าย โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตกลงให้ค่าแห่งลิขสิทธิ์แก่โจทก์เป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาจำหน่ายต่อเล่มตามที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ เงินที่ได้จากการจำหน่ายหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ทั้งหมดมิได้ตกเป็นของโจทก์ แม้จะฟังว่าเหตุที่หนังสือพจนานุกรมดังกล่าวยังเหลือค้างจำหน่ายอยู่อีกประมาณ 10,000 เล่ม เป็นเพราะหนังสือพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ของจำเลยได้แย่งส่วนแบ่งการตลาดของหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ไป โจทก์ก็มิใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังคงพิมพ์หนังสือพจนานุกรมของจำเลยโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ต่อไปจึงไม่มีค่าเสียหายในอนาคตที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันพึงได้จากการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์ที่ศาลจะกำหนดให้ได้อีก ในพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนคำนำในฐานะประธานคณะผู้จัดทำและคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า คณะผู้จัดทำเป็นผู้ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการพิมพ์ครั้งที่ 1ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำพจนานุกรมดังกล่าว และต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์จากรายงานของเจ้าหน้าที่โจทก์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2531 โจทก์จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาปัญหาลิขสิทธิ์และอื่น ๆ เกี่ยวกับพจนานุกรมของจำเลย เมื่อวันที่ 27กรกฎาคม 2531 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2532ยังไม่พ้นกำหนดสามปีตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ให้การในข้อนี้ไว้แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ การที่ศาลจะมีคำสั่งให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้บรรดาสิ่งของดังกล่าวตกเป็นของโจทก์และให้จำเลยส่งมอบแก่โจทก์ได้ ที่มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521บัญญัติว่า "ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการ ทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย"นั้น เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 7 บทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งใช้บังคับได้เฉพาะแก่คดีอาญาไม่อาจนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งได้ เมื่อพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์ และจำเลยที่ 5มิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้มีส่วนในการจัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ประธานคณะผู้จัดทำ และจำเลยที่ 2จัดทำพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ก็ให้คืนเงินมัดจำกับค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น ในการบังคับคดีจำเลยจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ตามลำดับของคำพิพากษา โดยจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน จำเลยจะเลือกวิธีการคืนเงินมัดจำกับชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยโจทก์ไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลยได้หากไม่ปฏิบัติตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ก็ให้คืนเงินมัดจำกับค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนั้น ในการบังคับคดีจำเลยจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ตามลำดับของคำพิพากษา โดยจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน จำเลยจะเลือกวิธีการคืนเงินมัดจำกับชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้โดยโจทก์ไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำของโจทก์ซึ่งขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา หากจำเลยไม่ปฏิบัติก็ให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที และให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นกรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งในเวลาที่ออกคำบังคับด้วยว่า หากจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษา
of 36