คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สิ้นสุดเมื่อตาย ไม่ตกทอดเป็นมรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าตายไม่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาท โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ผู้เช่า จึงไม่อาจสงวนสิทธิการเช่าของ บ.ได้และไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าดังกล่าวได้อีกเพราะสิทธิการเช่าของ บ.เป็นอันสิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ บ.ตายไม่มีสิทธิการเช่าที่จะบังคับแก่จำเลยได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือข้อที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และความเสียหายเกิดจากการขนส่งทางทะเล ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นอำนาจฟ้อง ปัญหานี้ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก (เดิม) สินค้าที่เสียหายเกิดจากการขนส่งทางทะเล จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งร่วมทอดสุดท้ายต้องร่วมรับผิดในความเสียหายดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระแทนให้ผู้รับตราส่งไปแล้วจึงรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลยได้ จำเลยฎีกาในข้อที่มิได้ให้การไว้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากข้อต่อสู้ของจำเลย แม้ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาการจดทะเบียน, การใช้, และการโฆษณา ทั้งในและต่างประเทศ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าLANCEL รายพิพาทดีกว่ากันนั้น จะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียน การใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใดในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้ หาใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาในประเทศไทย และจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่ สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8,37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการโฆษณาเป็นสำคัญ
ปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากันจะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียนการใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้มิใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณา ในประเทศไทยและจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่ เป็นปัญหาเท่านั้น โจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าLANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ในประเทศไทย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวก 8,37 และ 50 ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากันส่วนในต่างประเทศนั้นจำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2419 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิดรวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วยได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า นี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศและได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้ โฆษณาหรือ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลยคงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาจากลายลักษณ์อักษร การใช้จริง และการโฆษณา ทั้งในและต่างประเทศ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าLANCEL รายพิพาทดีกว่ากันนั้น จะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียน การใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้ หาใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาในประเทศไทย และจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่
สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่ายต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8, 37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทย-กลับ-เป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่อง-หมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อLANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCELก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยไม่มีสิทธิร้องทุกข์
ณ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ณ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องทุกข์ในคดีเช็ค: ผู้ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ไม่มีสิทธิร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย
ณ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างผู้เสียหาย ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวน แต่เป็นการร้องทุกข์ในนามตนเอง ณ. ในฐานะส่วนตัวไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยณ. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายคดีนี้ ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถจักรยานยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และสิทธิของผู้เสียหาย
แม้รถยนต์ของโจทก์ร่วมที่ 2 จะได้รับความเสียหาย แต่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปตามทางเดินเล็ก ๆ ซึ่งเป็นทางคนเดินตัดตรงขึ้นถนนพระรามที่ 2 ขาเข้า เป็นการกระทำผิดกฎจราจร เมื่อจำเลยไม่ดูให้ดีว่ามีรถอื่นแล่นมาเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุชนกันขึ้น ถือได้ว่าเกิดจากความประมาทของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: สิทธิฟ้องของโจทก์จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิครอบครองรถ ณ เวลาทำสัญญาประกัน
ผู้เอาประกันภัยรถบรรทุกหมายเลขทะเบียน 80-1287 ศรีสะเกษไว้กับจำเลยที่ 3 ได้แก่ร. โดยทำสัญญาประกันภัยเมื่อวันที่24 มกราคม 2528 มีระยะเวลาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2528ถึงวันที่ 25 มกราคม 2529 ขณะทำสัญญาประกันภัยห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีสะเกษ ต.ไทยเจริญ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์รถบรรทุกคันดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งรับโอนสิทธิครอบครองและใช้รถโดยถือกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2528 หลังจากทำสัญญาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไปแล้วและไม่มีการโอนสิทธิตามสัญญาประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 1 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยรถบรรทุกคันดังกล่าวไว้กับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายและครอบครองกัญชา: ศาลฎีกาพิจารณาการลงโทษและขอบเขตการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา26,76 ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคแรก 76 วรรคแรก ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท และให้รอการลงโทษ ดังนี้ แม้จะเป็นการแก้ไขมาก แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาว่า คำเบิกความของพยานโจทก์สอดคล้องต้องกันฟังได้ว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
of 36