พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองกัญชา ศาลฎีกาแก้โทษจำหน่ายกัญชา แต่ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชา จำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมสองกระทงจำคุก2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ปรับ 10,000บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ข้อหาอื่นให้ยกดังนี้ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะพิพากษาแก้ไขมาก แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้แม้จะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษากลับในส่วนนี้ คดีจึงไม่ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก เดิมศาลฎีกาจึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2มีหน้าที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1ขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ตามคำฟ้องดังกล่าวต้องฟังว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกและวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยจากการกระทำของผู้ตายทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยไม่มีความผิดฐานประมาท
จำเลยขับรถยนต์ไปด้วยความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผู้ตายได้วิ่งไล่ตี ช. ข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้ว แต่ได้มีรถยนต์อีกคันหนึ่งแล่นมา ผู้ตายจึงชะงักและถอยหลังเข้ามาทางช่องเดินรถของจำเลยโดยกะทันหัน และในระยะกระชั้นชิดทำให้จำเลยไม่สามารถหยุดรถหรือหลบไปทางอื่นได้ทันท่วงทีและในภาวะเช่นนั้นจำเลยไม่อาจคาดคิดได้ว่า จะมีคนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าช่องเดินรถที่จำเลยขับไปแล้วกลับชะงัก และถอยหลังเข้ามาขวางหน้ารถยนต์ที่จำเลยขับไปอีก การที่จำเลยขับรถยนต์ชนผู้ตายจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจป้องกันได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินให้บุตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ขอเพิกถอนนิติกรรม การพิจารณาความเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษารวม 3 สำนวน เป็นเงิน1,400,000 บาทเศษ หนี้สำนวนที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วให้จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์เดือนละ5,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัด สำนวนที่ 2 มีทรัพย์สินจำนองเป็นประกัน ราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ประมาณ200,000 บาท จำเลยที่ 1 ยังมีร้านขายเครื่องไฟฟ้า 3 คูหา และมีที่ดินอีก 3 แปลง แม้จำเลยที่ 1 จะนำที่ดินไปจำนองประกันหนี้ไว้แก่ธนาคารอื่นก็ตาม แต่ก็มีราคาสูงเกินกว่าจำนวนหนี้ของธนาคารนั้นอยู่มากนอกจากนี้หากจำเลยที่ 1 ต้องการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็สามารถกระทำได้โดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นซึ่งแยบยล สมเหตุผลดีกว่าโอนให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรเสียอีก การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลงให้จำเลยที่ 2 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่จะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์ว่าการโอนทำให้เสียเปรียบ หากยังมีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลไม่อาจสั่งเพิกถอนการโอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 3 รายการ เฉพาะหนี้รายการที่ 2มีที่ดินจำนองเป็นประกันมีราคาเกินกว่าหนี้ทั้ง 3 รายการ และจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่นอีก โดยเป็นที่ดิน 3 แปลง แม้จะจำนองเป็นประกันหนี้บุคคลอื่นก็ตาม แต่ก็มีราคาเกินกว่าหนี้จำนองนั้น ๆ โจทก์จึงสามารถยึดบังคับชำระหนี้ได้ การที่จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลงให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หายังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขรายละเอียดในฟ้องหลังชี้สองสถาน มิใช่การแก้ไขคำฟ้องตามมาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 180
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นเรื่องขอแก้ไขรายละเอียดในฟ้องเท่านั้น มิใช่เป็นการขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องขอแก้ไขในระยะเวลาตามมาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขรายละเอียดในฟ้องหลังชี้สองสถาน ศาลอนุญาตได้หากไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้องตามมาตรา 179
คำร้องขอแก้ไขวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยอ้างว่าพิมพ์ผิดพลาดนั้น เป็นการขอแก้ไขรายละเอียดในฟ้องมิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180และศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การซื้อขายไม่สมบูรณ์
ม.และ ส.ซึ่งมีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ร้อง ได้ขายที่ดินส่วนของตนและส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ร้อง แม้การซื้อขายมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่การครอบครองของ ม.และ ส.ก็สิ้นสุดลงโดยถือว่าบุคคลทั้งสองได้แสดงเจตนาสละการครอบครองให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อมาเกินกว่าสิบปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของ ม.และ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษอาวุธปืน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้อาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 ใช้ในการกระทำความผิดมาเป็นของกลาง ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่าอาวุธปืนที่ใช้ยิงผู้ตายไม่ทราบว่ามีหมายเลขทะเบียนหรือไม่ มิได้ให้การว่า ได้ใช้อาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนยิงผู้ตาย ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคแรก อันเป็นบทลงโทษสำหรับกรณีที่เป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 72 วรรคสาม ซึ่งเป็นเพียงการมีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายส่วนข้อหาความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์มิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขโดยปรับบทลงโทษตามมาตรา 8 ทวิ วรรคแรก,72 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 แต่ให้ลงโทษตามมาตรา 72 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90และเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 พาไปเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นผลร้ายน้อยกว่า ศาลฎีกาย่อมกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตลดลงจากที่ศาลอุทธรณ์กำหนดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดใส่ความว่า 'ยักยอกและตามตัวไม่พบ' เป็นการหมิ่นประมาท แม้กล่าวตอบคำถามและมีเหตุขัดแย้ง
โจทก์ร่วมถูกร้องเรียนว่ายักยอกเอาเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาราชการแทนโจทก์ร่วมได้แจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับผู้ช่วยสมุห์บัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวของจำเลยทำให้สมุห์บัญชีธนาคารเข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการและหนีไปจึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมแม้จำเลยกล่าวออกไปโดยถูกถามแต่จำเลยย่อมสำนึกในการกระทำและเล็งเห็นผลของการกระทำว่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อีกทั้งปรากฏว่าสาเหตุที่มีการระงับการจ่ายเงินเดือนเพราะโจทก์ร่วมไม่ยอมลงชื่อในหลักฐานการจ่ายเงินเดือน หาใช่เพราะโจทก์ร่วมยักยอกและตามตัวไม่พบไม่ และจำเลยกับโจทก์ร่วมก็มีเหตุขัดแย้งไม่พอใจในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการกันอยู่ การกล่าวข้อความของจำเลยจึงมิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต แต่มีเจตนาใส่ความโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 เดิม