พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดใส่ความว่า 'ยักยอกและตามตัวไม่พบ' เป็นการหมิ่นประมาท แม้กล่าวตอบคำถามและมีเหตุขัดแย้ง
โจทก์ร่วมถูกร้องเรียนว่ายักยอกเอาเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาราชการแทนโจทก์ร่วมได้แจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับผู้ช่วยสมุห์บัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวของจำเลยทำให้สมุห์บัญชีธนาคารเข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการและหนีไปจึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมแม้จำเลยกล่าวออกไปโดยถูกถามแต่จำเลยย่อมสำนึกในการกระทำและเล็งเห็นผลของการกระทำว่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อีกทั้งปรากฏว่าสาเหตุที่มีการระงับการจ่ายเงินเดือนเพราะโจทก์ร่วมไม่ยอมลงชื่อในหลักฐานการจ่ายเงินเดือน หาใช่เพราะโจทก์ร่วมยักยอกและตามตัวไม่พบไม่ และจำเลยกับโจทก์ร่วมก็มีเหตุขัดแย้งไม่พอใจในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการกันอยู่ การกล่าวข้อความของจำเลยจึงมิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต แต่มีเจตนาใส่ความโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยถ้อยคำเท็จ สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้เป็นก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. ก็ต้องรับผิด
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ถูกร้องเรียนว่ายักยอกเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาการแทนโจทก์ร่วมทำหนังสือสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับ พ.ผู้ช่วยสมุหบัญชีธนาคารว่า"ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวมีความหมายให้ พ.เข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการแล้วหนีไป จึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม
จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต
จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไข ป.อ. มาตรา326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตาม ป.อ.มาตรา 326 เดิม
จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต
จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไข ป.อ. มาตรา326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตาม ป.อ.มาตรา 326 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์ไม่เกินดุลพินิจ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดินโดยอ้างว่ามอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและให้ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำข้อตกลงเป็นหนังสือกันไว้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนและนอกฟ้องนอกประเด็นเพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการสืบพยานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ กันไว้จริงเพื่อเป็นเหตุผลชี้ให้เห็นว่าโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและลงชื่อจำเลย ไว้ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การมอบอำนาจโดยปราศหลักฐานเป็นหนังสือ ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงจากการสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดินโดยอ้างว่ามอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและให้ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแทนโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำข้อตกลงเป็นหนังสือกันไว้ ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนและนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการสืบพยานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้จริงเพื่อเป็นเหตุผลชี้ให้เห็นว่าโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนและลงชื่อจำเลยไว้ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกส่งเอกสารเพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตั้งผู้ร้องผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ร่วมกัน ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมยังคงผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ร่วมกันและมีหน้าที่จะต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกมาไว้ที่ศาล เพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: การส่งเอกสารเพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตั้งผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ร่วมกัน ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมยังคงผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของส.ร่วมกัน และมีหน้าที่จะต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกมาไว้ที่ศาล เพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟ้องแย้งและการยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่ความขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณา
ศาลมีคำสั่งไม่รับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เนื่องจากยื่นเมื่อพ้นกำหนดซึ่งมีผลเท่ากับว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ แม้จำเลยไม่ได้ยืนคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วันแต่หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานกำหนดวันสืบพยานแล้วจำเลยก็ได้มาดำเนินกระบวนพิจารณาตามนัดทุกครั้งซึ่งถือว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ในการดำเนินคดีต่อไปแล้วปรากฏว่าก่อนมีคำพิพากษาจำเลยได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเมื่อการสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของศาลตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาจำเลยก็อาจยื่นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้เมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่จะมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งและพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟ้องแย้งและการดำเนินคดีต่อเนื่อง แม้จำเลยมิได้ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ
การที่จำเลยไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 วรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์มิให้จำเลย (โจทก์ฟ้องแย้ง) ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีของตนภายในเวลาที่กำหนด แต่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่อยู่ในดุลพินิจ ดังนั้นตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาจำเลยก็อาจยื่นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้ ศาลมีคำสั่งไม่รับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์เนื่องจากยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การ ซึ่งมีผลเท่ากับว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แต่หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานกำหนดวันนัดสืบพยานแล้วจำเลยก็ได้มาดำเนินกระบวนพิจารณาตามนัดทุกครั้ง ซึ่งถือว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ในการดำเนินคดีต่อไปแล้ว ทั้งศาลก็ได้ทำการสืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จนเสร็จการพิจารณาคดี และนัดฟังคำพิพากษาแล้วจึงไม่ชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้งของจำเลยและแก้ประเด็นข้อพิพาทใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์การเพิกถอนการขายทอดตลาด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดไปแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ระงับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไว้ก่อน ดังนี้ ถ้ามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวกับบุคคลภายนอกต่อไป หากต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ให้ทำการขายทอดตลาดใหม่และปรากฏว่ามีผู้ซื้อคนใหม่ซื้อทรัพย์ดังกล่าวได้ก็จะเกิดการยุ่งยากระหว่างผู้ทำนิติกรรมกับผู้ซื้อเดิมและผู้ซื้อใหม่ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยให้ระงับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อเป็นการชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน การคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่า ต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น