คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยที่รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย กรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
จำเลยขับรถชนรถของ พ.ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และ พ. ได้นำรถไปซ่อมและชำระค่าซ่อมเรียบร้อยแล้ว เมื่อโจทก์ขอต่อรองและชดใช้ค่าเสียหายเป็น ค่าสินไหมทดแทนที่น้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ พ.ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของพ. เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ขับรถที่เอาประกันภัย ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สัญญาประกันภัย ไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 3.9.2. ย่อมไม่เกิดสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงสิทธิได้ ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิค่าเสียหายจากประกันภัย: ข้อจำกัดความคุ้มครองและอำนาจฟ้อง
จำเลยขับรถชนรถของ พ.ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และ พ.ได้นำรถไปซ่อมและชำระค่าซ่อมเรียบร้อยแล้ว เมื่อโจทก์ขอต่อรองและชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าสินไหมทดแทนที่น้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ พ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ พ.เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สัญญาประกันภัยไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.9.2 ย่อมไม่เกิดสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงสิทธิได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ไม่สมบูรณ์-แก้ไขเปลี่ยนแปลง-อายุความ: ผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็ค ไม่ปรากฏว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฏิบัติมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คหลังเรียกเก็บเงินจากธนาคาร และผลกระทบต่ออายุความฟ้องร้อง
การที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แต่ได้ลงชื่อกำกับไว้ย่อมมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายตกลงยินยอมให้ผู้ทรงโดยสุจริตจดวันที่เอาเองได้โดยถือว่าได้รับความยินยอมจากผู้สั่งจ่ายตามลายมือชื่อที่ลงกำกับไว้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คซึ่งกระทำหลังจากเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ โดยปกติผู้ทรงเช็คจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังไม่ใช่ปล่อยให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามความพอใจ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันออกเช็คไม่ปรากฎว่ามีการลงลายมือชื่อกำกับไว้อันเป็นการผิดปกติกับที่เคยปฎิบัติ มา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำหรือยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเมื่อผู้ทรงนำเช็คมาฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดเกิน 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดครั้งแรกคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลักทรัพย์-ปล้นทรัพย์: การทำร้ายร่างกายและทิ้งรถผู้เสียหาย ไม่ถึงเจตนาปล้นทรัพย์ เพิ่มโทษซ้ำ
จำเลยทั้งสี่ชักชวนกันด้วยความคึกคะนองเนื่องจากมึนเมาสุราว่า จะดักทำร้ายผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมา เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วนำเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปทิ้งในคลอง โดยที่ไม่ได้มีการพูดจาหรือตกลงกันว่าจะมาเอาในภายหลัง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ เพราะมิได้มีการกระทำที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะเอาไปเป็นของตนเองอันเป็นการแสดงเจตนาทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีเจตนาลักทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกฐานรับของโจร และภายในเวลา 3 ปีนับแต่วันพ้นโทษ จำเลยที่ 1 มากระทำผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายจึงเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ไม่ได้ แต่เพิ่มโทษได้ตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 โดยไม่ได้ขอมาตรา 92 มาด้วย ก็ชอบที่จะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 92ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์และการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำ
จำเลยทั้งสี่ชักชวนกันด้วยความคึกคะนองเนื่องจากมึนเมาสุราว่าจะดักทำร้ายผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมา เมื่อผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วนำเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปทิ้งในคลอง โดยที่ไม่ได้มีการพูดจาหรือตกลงกันว่าจะมาเอาในภายหลัง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ เพราะมิได้มีการกระทำที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะเอาไปเป็นของตนเองอันเป็นการแสดงเจตนาทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ที่เอาไป จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีเจตนาลักทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกฐานรับของโจร และภายในเวลา3 ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยที่ 1 มากระทำผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายจึงเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ไม่ได้ แต่เพิ่มโทษได้ตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 โดยไม่ได้ขอมาตรา 92 มาด้วย ก็ชอบที่จะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ไม่ชอบ, การถอนฟ้องที่ไม่สุจริต, และการประนีประนอมยอมความที่เป็นการเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและยื่นคำขอในเหตุฉุกเฉินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนคำร้องทั้งสองฉบับของโจทก์ในวันดังกล่าว แต่มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยทั้งสี่ และนัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 18ตุลาคม 2531 การที่ศาลชั้นต้นให้นัดไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์หลังวันยื่นคำร้องถึง 8 วัน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาเป็นการด่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องโจทก์อย่างวิธีธรรมดา ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1และออกใบหุ้นพร้อมกับใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่ตามคำร้องที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษากลับเป็นเรื่องโจทก์ต้องการใช้สิทธิเข้าไปดูแลครอบงำการจัดการและเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจะได้ดำเนินการบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อไปชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคำฟ้อง โจทก์ไม่อาจร้องขอให้คุ้มครองดังกล่าวได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาใช้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 และในวันเดียวกันกรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์เป็นผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายจำเลยที่ 1 ที่กรรมการชุดเดิมได้ตั้งไว้ หลังจากนั้นโจทก์กับทนายคนใหม่ของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปโดยไม่สุจริตและกระทำเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยดังกล่าวต่างให้การต่อสู้อยู่ว่า หุ้นตามฟ้องมิใช่ของโจทก์ทั้งยังคัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องด้วย ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แล้วพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในคดีหุ้นส่วนและกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองได้นำเงินมาลงหุ้นซื้อที่ดินมาขายแบ่งกำไรกัน จำเลยทั้งสองได้ยึดถือที่ดินและมีชื่อในโฉนดแทนส่วนของโจทก์ทั้งหกต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนอง ให้เช่า และกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสองโดยโจทก์ทั้งหกไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ทั้งหกยังมิได้บอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ศาลชั้นต้นจึงต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ - การพิสูจน์ข้อเท็จจริง - กระบวนพิจารณา - ศาลต้องฟังพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยได้นำเงินมาลงหุ้นเพื่อซื้อที่ดินพิพาทมาขายแบ่งกำไรกันและจำเลยได้ยึดถือที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยในโฉนดที่ดินแทนส่วนของโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนองให้เช่าและกล่าวอ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลยโดยโจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของด้วย ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์ตามส่วน จำเลยให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์และจำเลยเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และตามคำขอของโจทก์โจทก์ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056ที่ต้องบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องไปนั้น จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เพราะในข้อนี้จำเลยยังให้การปฏิเสธอยู่ ทั้งยังปฏิเสธเรื่องการเป็นเจ้าของรวมอีกด้วย ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ, การบอกเลิกห้างหุ้นส่วน, สิทธิในทรัพย์สิน, การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองได้นำเงินมาลงหุ้นซื้อที่ดินมาขายแบ่งกำไรกัน จำเลยทั้งสองได้ยึดถือที่ดินและมีชื่อในโฉนดแทนส่วนของโจทก์ทั้งหกต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนอง ให้เช่า และกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสองโดยโจทก์ทั้งหกไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ-กฎหมายว่า โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ทั้งหกยังมิได้บอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ศาลชั้นต้นจึงต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
of 36