คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สิทธิเครื่องหมายการค้า, การฟ้องซ้ำ, ความคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้า, และความสุจริต
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ.ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คน ลงชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบ-อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ อ.จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซีย และโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์2 คน มาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ.มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้อ.จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: หนังสือแสดงเจตนาโอนเพียงฝ่ายเดียวถือเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติเพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ หาได้บัญญัติว่าการโอนนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ ฉะนั้นการโอนสิทธิเรียกร้องทีไ่ด้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนแต่ฝ่ายเดียวก็เป็นการสมบูรณ์ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายห้องชุดพิพาทจากจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอซื้อห้องชุดพิพาทจากโจทก์ โจทก์ตกลงจะขายให้และมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 จะซื้อห้องชุดพิพาทต่อจากโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อการกู้เงินจากธนาคาร ดังนี้ หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้แสดงเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อขายห้องชุดพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือเป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้โอนจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาจำกัดตามคำให้การเดิม, ที่ดินพิพาทไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อ-เท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยมิได้ยกประเด็นป่าสงวนฯ และประเด็นแย่งการครอบครองขึ้นในศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจฎีกาได้
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่แนบมาท้ายฟ้อง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดแห่งคำฟ้องเท่านั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องอันจะต้องแสดงไว้โดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคหนึ่ง การที่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก โดยมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าเป็นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ประการใดไม่ เพราะตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งรับสิทธิจากเจ้าของรถผู้เอาประภันภัยฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และที่หนังสือมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1กับพวก ก็ย่อมหมายถึงมอบอำนาจให้ฟ้องผู้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อตกลงว่าหากผู้เอารถไปใช้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนี้ไปทำละเมิดต่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีไม่เป็นสาระสำคัญของฟ้อง หากคำฟ้องระบุตัวจำเลยและข้อหาชัดเจน
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่แนบมาท้ายฟ้อง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดแห่งคำฟ้องเท่านั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องอันจะต้องแสดงไว้โดยแจ้งชัด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคหนึ่งการที่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1กับพวก โดยมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าเป็นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ประการใดไม่ เพราะตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งรับสิทธิจากเจ้าของรถผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และที่หนังสือมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก ก็ย่อมหมายถึงมอบอำนาจให้ฟ้องผู้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อตกลงว่าหากผู้เอารถไปใช้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนี้ไปทำละเมิดต่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเพิกถอนมติสภาเทศบาล: ต้องมีกฎหมายบัญญัติอำนาจไว้ชัดเจน
การที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลได้จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ แต่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มิได้บัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาลและมติของที่ประชุมสภาเทศบาลไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสภาเทศบาลไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำบทบัญญัติ มาตรา 1195 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า 'Natty' กรณีใช้ก่อนและมีความคล้ายคลึงจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES"และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า"SHOES" อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกันแต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้แปลว่าหรูสมาร์ทโก้ เหมือนกันอักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกันเมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกัน แม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้วการที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้เป็นการจงใจใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty"มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนและคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน แม้ใช้กับสินค้าต่างชนิดในกลุ่มเดียวกัน
ตามคำฟ้องโจทก์อาศัยสิทธิตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของดังนี้ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์อ้างว่าได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์ไปขอจดทะเบียนโดยไม่ชอบ หาใช่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 3 ไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "NattySHOES" และรูปคนยืนในรองเท้า ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นอักษรโรมัน คำว่า "NATTY" แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "SHOES"อยู่ใต้คำว่า "Natty" และมีรูปคนยืนอยู่ในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบ ส่วนของจำเลยที่ 1 ไม่มี คงมีคำว่า "NATTY" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่คำเดียว และการประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันแตกต่างกัน แต่สำเนียงเรียกขานและคำแปลเหมือนกันคือทั้งของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างเรียกขานว่า แน็ตตี้ แปลว่า หรู สมาร์ท โก้เหมือนกัน อักษรอื่นและรูปคนยืนในรองเท้าซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีความเด่นชัดเท่ากับคำว่า "Natty" ที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ใช้ภาษาต่างประเทศและมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกัน ผู้ซื้อย่อมเรียกขานสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 เหมือนกันว่า แน็ตตี้ ผู้ซื้อจึงอาจสับสนหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างขอจดทะเบียนในสินค้าจำพวกเดียวกันแม้ขณะพิพาทจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างชนิดกัน แต่ก็อยู่ในจำพวกเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นของผู้ผลิตรายเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1จึงเหมือนและคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเช่นนี้ เป็นการจงใจใช้เครื่องหมาย-การค้าคำว่า "NATTY" ให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วยจำเลยที่ 1 เห็นว่าสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า"Natty" เป็นที่นิยมแพร่หลายเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นสินค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" มาก่อนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "Natty" ที่เขียนเป็น 2 แบบว่า "Natty" และ "NATTY" ดีกว่าจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่อาจทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์ตัวหนาทึบอยู่ในพื้นสีขาว เขียวและเขียวเข้มลักษณะเป็นแฉก เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาจีนถัดลงมาเป็นภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ทั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "น้ำปลาผสม"ส่วนด้านใต้ตัวเลข 1 ระบุแหล่งผู้ผลิตคือ ผลิตโดยบริษัทไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัดส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเลข "1" ประดิษฐ์เป็นลายไทย เหนือตัวเลข 1 เป็นภาษาไทยอ่านว่า "น้ำปลาผสมตราเลขหนึ่ง" ถัดลงมาเป็นภาษาจีนภาษาไทยประดิษฐ์อ่านว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" และมีคำว่า "แบ่งบรรจุโดยร้านมิตรไพโรจน์"ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอยู่ที่ตัวเลข "1" ซึ่งอยู่ในพื้นสีขาว เขียวอ่อนและเขียวเข้มซึ่งเป็นแฉกเหมือนกัน อยู่ในฉลากขนาดเดียวกัน ด้านบนของตัวเลข 1คำว่า "ตั้ง ซัง ฮะ" กับ "ทั้ง ซัง ฮะ" มีจำนวน 3 คำเท่ากัน และมีคำซ้ำกันถึง2 คำ คือ "ซัง" กับ "ฮะ" ส่วนคำที่ไม่ซ้ำกันคือคำว่า "ทั้ง" กับ "ตั้ง" ก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนแหล่งผู้ผลิตซึ่งอยู่ด้านล่างของตัวเลข "1" มีคำว่า"ไพโรจน์" อย่างเดียวกัน การจัดวางรูปเครื่องหมายการค้าเลข "1" ตลอดจนส่วนประกอบอื่น ๆ คล้ายคลึงกัน และใช้กับสินค้าน้ำปลาอย่างเดียวกัน เครื่องหมาย-การค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ใช้มาก่อนและจดทะเบียนไว้จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 36