คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลในการโอนเช็คต้องเกิดขึ้นขณะโอน หากเกิดหลังฟ้องร้องถือว่าไม่สมคบกันฉ้อฉล
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 นั้น จะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการคบคิดกันฉ้อฉลภายหลังจากที่มีการฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็คกันแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีแล้วกลับมาสละข้อต่อสู้ภายหลัง หรือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโจทก์บังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวก็จะถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2สมคบกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลในการโอนเช็คต้องเกิดขึ้นขณะผู้ทรงรับโอน มิใช่หลังฟ้องคดี ผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้ไม่ได้
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 จะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการคบคิดกันฉ้อฉลภายหลังจากที่มีการฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็ค ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ผู้ทรงคนก่อนให้การต่อสู้คดีแล้วสละข้อต่อสู้ในภายหลังก็ดี หรือเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ผู้ทรงบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเพียงคนเดียวก็ดี จะถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงจนเป็นเหตุให้สับสน และการพิจารณาประเภทสินค้าและกลุ่มผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางขาซ้ายเหยียดตรงและรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลังส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขา หันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ผืนผ้าว่า "REMYMARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบ แรกและรูปแบบที่ 2เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทาง เหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้า อยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หัน หน้าไปทางซ้าย และหักหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้ายหันหน้าไปทางขวาและหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคน ของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้น สำหรับรูปแบบแรก และเป็น รูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้น รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลาย คล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อ ดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของ รูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้า ของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความ ภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.RemyMartin$Co" บรรทัดหนึ่ง และมีคำว่า MEMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็น ชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า "เรมี่มาร์แตง" จนเป็น ที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMYMARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฏว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า"REMYMARTIN" จึงมีลักษณะเด่น และมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอก สำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียน รูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่ง เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็น บรั่นดีเรมี่มาร์แตง ไม่ปรากฏว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใด ส่วนเครื่องหมาย การค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย ตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็น ชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMYMARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็น นั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ย ซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลย เป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชน ให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิด ในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึง นับได้ว่าเป็น การลวงสาธารณชนให้สับสน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน พิจารณาความแตกต่างของสินค้า กลุ่มผู้บริโภค และเจตนาของผู้ประกอบการเพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2 ประกอบด้วยรูปครึ่งม้าครึ่งคน ที่เป็นรูปตัวม้าท่อนล่างกำลังยืนยกขาหน้าทั้งสองข้างขึ้นโดยขาขวางอขาซ้ายเหยียดตรง และรูปตัวคนท่อนบนอยู่ในท่าพุ่งหอก ใช้มือขวาถือหอกเงื้อไปข้างหลัง ส่วนมือซ้ายเหยียดตรงไปข้างหน้าในระดับเดียวกับแขนขวาหันหน้าไปทางขวา รูปครึ่งม้าครึ่งคนรูปแบบแรกเป็นลายเส้นโปร่ง ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็นรูปทึบ นอกจากนี้รูปแบบแรกยังมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า"E.Remy Martin & Co" บรรทัดหนึ่ง กับอีกบรรทัดหนึ่งมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าว่า "REMY MARTIN" ส่วนของจำเลยรูปแบบแรกและรูปแบบที่ 2 เป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนเช่นเดียวกัน ส่วนบนเป็นรูปตัวคนอยู่ในท่ากำลังพุ่งหอกซึ่งมีหัวหอกเป็นรูปสามเหลี่ยมในลักษณะท่าทางเหมือนกับรูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนล่างเป็นตัวม้าอยู่ในท่าอย่างเดียวกับของโจทก์คือ ม้ายกขาหน้าทั้งสองข้าง แต่แตกต่างกันตรงที่ว่ารูปม้าของจำเลยเหยียดขาขวาตรง งอขาซ้าย หันหน้าไปทางซ้าย และหัวหอกของจำเลยเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรูปม้าของโจทก์งอขาขวาเหยียดขาซ้าย หันหน้าไปทางขวา และหัวหอกของโจทก์เป็นปลายเส้นตรง นอกจากนี้รูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยมีส่วนบนเป็นลายเส้นเกือบทึบ ส่วนของโจทก์เป็นลายเส้นสำหรับรูปแบบแรก และเป็นรูปทึบสำหรับรูปแบบที่ 2 ยิ่งกว่านั้นรูปครึ่งม้าครึ่งคนของจำเลยยังอยู่ภายในวงกลม 4 วง มีลวดลายคล้ายดอกไม้ล้อมรอบสำหรับรูปแบบแรก และอยู่ภายในวงกลม 1 วง ซึ่งมีช่อดอกไม้รองรับและยังมีคำว่า"ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทย" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "ตราม้าเทวดา" อยู่ด้านล่างของรูปครึ่งม้าครึ่งคนสำหรับรูปแบบที่ 2 เครื่องหมายการค้าของโจทก์รูปแบบแรกใต้รูปครึ่งคนครึ่งม้ายังมีข้อความภาษาอังกฤษประดิษฐ์ว่า "E.Remy Martin & Co"บรรทัดหนึ่งและมีคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่ง อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม-ผืนผ้าซึ่งเป็นชื่อบริษัทโจทก์ และตัวอักษรนี้ก็เป็นชื่อเรียกสินค้าของโจทก์ว่า"เรมี่ มาร์แตง" จนเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป ประกอบกับเมื่อเทียบขนาดและสัดส่วนของตัวอักษรคำว่า "REMY MARTIN" กับรูปภาพครึ่งม้าครึ่งคนแล้ว ปรากฎว่าตัวอักษรมีขนาดใหญ่กว่ารูปภาพ ตัวอักษรคำว่า "REMY MARTIN" จึงมีลักษณะเด่นและมีความสำคัญยิ่งกว่ารูปภาพดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาจดทะเบียนเฉพาะรูปครึ่งม้าครึ่งคนในท่าพุ่งหอกสำหรับรูปแบบที่ 2 ภายหลังจากที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนรูปม้าครึ่งคนของจำเลยรูปแบบแรก และสินค้าสุราของโจทก์ที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตามใบส่งสินค้า ก็ระบุว่าเป็นบรั่นดี เรมี่ มาร์แตงไม่ปรากฎว่าคนไทยเรียกสินค้าของโจทก์ว่าสุราตราครึ่งม้าครึ่งคนพุ่งหอกแต่อย่างใดส่วนเครื่องหมายการค้ารูปแบบที่ 2 ของจำเลยยังมีคำว่า "ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยน้ำไทยตราม้าเทวดา" แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์ เมื่อประชาชนไม่เห็นคำว่า "REMY MARTIN" อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าสินค้าที่พบเห็นนั้นมิใช่สินค้าของโจทก์ ทั้งสินค้าของจำเลยก็เป็นจำพวกปุ๋ยซึ่งมิใช่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกสุราดังเช่นของโจทก์ที่แพร่หลายอยู่แล้วผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นหลักก็เป็นผู้บริโภคคนละกลุ่มกัน จึงไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อลวงผู้ซื้อและประชาชนให้หลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือทำให้ผู้ซื้อและประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้า: การเลิกกิจการส่วนตัวแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทถือเป็นการสละสิทธิ
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขาย ใบชา ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียน ไว้ มา ประกอบกิจการ ค้า ใบชา โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน รูป ของ บริษัท จำเลยตลอดจน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท กับ ใบชาของ บริษัท จำเลย ใน ลักษณะ ที่ แสดง ว่า บริษัท จำเลยเป็น เจ้าของ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวดังปรากฏ ที่ กล่อง บรรจุ ใบชา นั้น ถือ ได้ ว่า บิดา โจทก์ได้ สละ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท โดย ยอม ให้เป็น ทรัพย์สิน ของ บริษัท จำเลย แล้ว ตั้งแต่ ขณะ บิดา โจทก์เลิก ประกอบการค้า ใบชา เป็น การ ส่วนตัว มา ประกอบการค้าใบชา ใน รูป บริษัท จำเลย โดย มี ตน เป็น กรรมการผู้จัดการแม้ หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาทจะ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวโดย บิดา โจทก์ ยัง มิได้ ไป จดทะเบียน โอน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น ให้ จำเลย เพื่อ ให้ สมบูรณ์ ตาม มาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่ง ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะนั้น ก็ตาม แต่ ก็ ถือ ไม่ได้ ว่า บิดา โจทก์ ยังคง เป็น เจ้าของสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อไปการ ที่ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามี ผล เพียง เท่ากับ บิดา โจทก์ เป็น ผู้ถือสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ไว้ แทน จำเลย เท่านั้น เมื่อ ต่อมา บิดา โจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท จึงไม่เป็น ทรัพย์ ยืม มรดก ที่ ตกทอด แก่ ทายาท การ ที่ ว.และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ไป ขอ จดทะเบียน ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า พิพาท จึง มี ผล เป็น เพียง การ ถือ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ไว้แทน จำเลย เช่นเดียวกันเมื่อ จำเลย เป็น ผู้ มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ใบชาที่ จำเลย ผลิต ออก จำหน่าย ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ เคย ทำ การค้าขาย ใบชา โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท แต่อย่างใดจำเลย จึง มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่าโจทก์ และ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้ เสีย ที่ จะ ร้อง ขอ ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่ง เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาท ที่ โจทก์ ยื่น จดทะเบียน ต่อ อายุ ดังกล่าว ได้ ตามมาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นผิดพลาดในคดีครอบครองที่ดิน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นที่โต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้องตามคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า DIOR และ DANGS' ORIGINAL DESIGNS ทำให้ประชาชนอาจสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลย (DANGS' ORIGINAL DESIGNS)แม้ส่วนใหญ่ของตัวอักษร ตลอดจนการเรียกขานจะต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ (DIOR) ซึ่งเรียกขานว่า ดิออร์ ส่วนของจำเลยเรียกขานว่า แดงส์แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองขึ้นต้นด้วยอักษร D ตัวใหญ่ ในลักษณะประดิษฐ์และมีขนาดไล่เลี่ยกัน นอกจากนั้นตัวอักษร i.o และ r ที่เรียงต่อจาก d ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีการวางตัวอักษรเป็นแนวโค้งลงด้านล่าง และกลับโค้งขึ้นด้านบนในลักษณะเหมือนกัน ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดอยู่ที่อักษร d ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนตัวอักษรอื่นตลอดจนกรอบสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดแต่อย่างใดไม่ และเครื่องหมายการค้าทั้งสองใช้กับสินค้าประเภทเสื้อผ้าอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "dior" อ่านว่า ดิออร์ มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันทำให้ประชาชนหลงผิด โจทก์มีสิทธิเหนือกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าของจำเลย (DANGS'ORIGINALDESIGNS)แม้ส่วนใหญ่ของตัวอักษร ตลอดจนการเรียกขานจะต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ (DIOR) ซึ่งเรียกขานว่า ดิออร์ส่วนของจำเลยเรียกขานว่า แดงส์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองขึ้นต้นด้วยอักษร D ตัวใหญ่ ในลักษณะประดิษฐ์และมีขนาดไล่เลี่ยกันนอกจากนั้นตัวอักษร i,o และ r ที่เรียงต่อจาก d ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีการวางตัวอักษรเป็นแนวโค้งลงด้านล่าง และกลับโค้งขึ้นด้านบนในลักษณะเหมือนกัน ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดอยู่ที่อักษร d ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนตัวอักษรอื่นตลอดจนกรอบสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดแต่อย่างใดไม่และเครื่องหมายการค้าทั้งสองใช้กับสินค้าประเภทเสื้อผ้าอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"dior" อ่านว่า ดิออร์ มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงินชำระหนี้ การสืบพยานหลักฐานเพื่ออธิบายความหมายของเอกสาร และการพิสูจน์การชำระหนี้
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้างการนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงิน การสืบอธิบายความหมายเอกสารไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้าง การนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
of 36