พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุเมื่อถูกข่มขู่ด้วยสิ่งของที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง
จำเลยกับผู้เสียหายมีสาเหตุทะเลาะกันมาบ่อยครั้งแต่ก็ยังไม่เคยถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันรุนแรง การที่ผู้เสียหายเดินถือเก้าอี้ที่ไม่ใหญ่โตหรือมีน้ำหนักที่จะทำอันตรายร้ายแรงเข้าหาจำเลยแล้ว จำเลยตอบโต้ด้วยการใช้มีดฟันผู้เสียหายจนได้รับบาดแผลเป็นอันตรายสาหัสเช่นนี้ จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ: การฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สิน
หนังสือมอบอำนาจข้อ 6 ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำ ดำเนินคดี ฟ้องร้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่งคดีอาญา ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในกิจการดังกล่าวให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้ซึ่งสาขาที่กล่าวข้างต้นมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และข้อ 9 ระบุว่าให้มีอำนาจดูแลและรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินทุกอย่างของผู้มอบอำนาจ จึงเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้มอบอำนาจที่อยู่ในความดูแลรักษาของผู้รับมอบอำนาจด้วย หาใช่เพียงมอบอำนาจให้ดำเนินกิจการสาขาเฉพาะการธนาคารพาณิชย์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ไม่ ผู้รับมอบอำนาจจึงใช้หนังสือมอบอำนาจนี้ฟ้องคดีละเมิดต่อทรัพย์สินดังกล่าวแทนผู้มอบอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้องจากหนังสือมอบอำนาจ: การฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สิน
หนังสือมอบอำนาจข้อ 6 ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำดำเนินคดี ฟ้องร้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่งคดีอาญา ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในกิจการดังกล่าวให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้ซึ่งสาขาที่กล่าวข้างต้นมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และข้อ 9ระบุว่าให้มีอำนาจดูแลและรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินทุกอย่างของผู้มอบอำนาจ จึงเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้มอบอำนาจที่อยู่ในความดูแลรักษาของผู้รับมอบอำนาจด้วย หาใช่เพียงมอบอำนาจให้ดำเนินการสาขาเฉพาะการธนาคารพาณิชย์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ไม่ ผู้รับมอบอำนาจจึงใช้หนังสือมอบอำนาจนี้ฟ้องคดีละเมิดต่อทรัพย์สินดังกล่าวแทนผู้มอบอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในการสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน และผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ตามหนังสือรับรองปรากฏว่า ส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ และ ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลย ดังนี้ ข้อที่โจทก์อ้างว่าการสลักหลังดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ เพราะ ส. ลงลายมือชื่อไปโดยไม่ได้ปรึกษาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งและต้องประทับตราของโจทก์นั้นเป็นข้อจำกัดอำนาจที่มิได้ปรากฏในหนังสือรับรอง จึงไม่อาจยกขึ้นยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คพิพาทโดยชอบ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังต้องรับผิดชดใช้เงิน
การที่โจทก์มิได้ระบุชื่อผู้โอนเช็คพิพาทมาให้ทราบในการฟ้องนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร หาเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยไม่ การที่โจทก์รับซื้อเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ผู้โอนสลักหลังเช็คพิพาทนั้นก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กัน โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ข้อหาผู้ทรงเช็คโดยไม่สุจริต จำเลยต้องพิสูจน์การคบคิดฉ้อฉล หรือความไม่สุจริตในการโอนเช็ค
จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การว่าโจทก์ผู้ทรงได้รับเช็คพิพาทมาด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล แม้จะให้การว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยไม่สุจริต ก็มิได้บรรยายให้เข้าใจได้ว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ใด ด้วยวิธีการใด ไม่สุจริตอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน หรือหากสืบพยานมาก็ไม่จำเป็นต้องพิเคราะห์พยานหลักฐานนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและผู้ร่วมขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 แล้ว แต่จำเลยที่ 2ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหาย เนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหายเนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 609 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้นถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต แต่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ แต่การยกเว้นนี้จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถที่เกิดขึ้นมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยดังนี้ แม้จะปรากฏว่าในขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัยไม่มีหรือไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ก็ตาม เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับขี่ และฟ้องมิได้กล่าวไว้เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อยกเว้นดังกล่าวมาใช้ปัดความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ผู้ขับไม่มีใบอนุญาต แต่จำเลยต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทของผู้ขับ
ตามสัญญาประกันภัย คู่สัญญาตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่าการประกันภัยจะไม่คุ้มครองการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุแต่การยกเว้นดังกล่าว จะไม่นำมาใช้กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าในขณะเกิดอุบัติเหตุผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้จะไม่มีหรือไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อผู้รับประกันภัยไม่ได้ต่อสู้ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้เอาประกันภัยแล้วผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย