พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่ง: ราคาทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และปัญหาข้อเท็จจริง
ปัญหาที่ว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์หรือไม่ และบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ตรงกับข้อต่อสู้เดิมในศาลชั้นต้น ถือเป็นข้อใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยได้
จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ไม่ฟ้องนายวงแชร์ นายวงแชร์และโจทก์ต้องคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย แต่ตามคำให้การเป็นเรื่องที่จำเลยต่อสู้ว่า เมื่อแชร์ล้ม นายวงแชร์หลบหนีจำเลยยังไม่ได้เปียแชร์อีกมือหนึ่ง แต่ส่งเงินค่าแชร์ไปแล้วพอดีกับเงินค่าแชร์ที่จะต้องส่งต่อไป สำหรับแชร์มือที่จำเลยได้เปียไปแล้ว จำเลยได้หักกลบลบหนี้กับนายวงแชร์ แต่นายวงแชร์มอบเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลย ทั้งที่โจทก์รู้อยู่แล้วว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับนายวงแชร์เหตุแห่งการต่อสู้คดีในเรื่องโจทก์และนายวงแชร์คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยตามอุทธรณ์และตามที่จำเลยให้การไว้ เป็นคนละเรื่องแตกต่างกัน อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ทรงเช็ค: ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดการรับโอนเช็คเพื่อฟ้องเรียกเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 และตามมาตรา 914 บัญญัติไว้ความว่าบุคคลผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้ยื่นโดยชอบแล้วจะมี ผู้ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมจ่ายเงินผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 914ดังกล่าวนี้มาตรา 989 บัญญัติให้นำมาบังคับให้เรื่องเช็คด้วยเมื่อโจทก์ในฐานะผู้ทรงได้นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในฐานะอย่างไรรับโอนมาจากใครเมื่อใด มีมูลหนี้เป็นมาอย่างไร ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเอกสารหลังหมดกำหนด – พยานประกอบคำถามค้าน
หลังจากที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จและแถลงหมดพยานแล้ว จำเลยยื่นเอกสารในระหว่างถามค้านตัวโจทก์ที่อ้างตนเองเป็นพยานอีก เมื่อโจทก์รับรองเอกสารนั้น จำเลยย่อมอ้างเป็นพยานหลักฐานประกอบคำของโจทก์ได้ เพราะพยานเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของจำเลยซึ่งจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล อ้างเหตุถึงการไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานได้ภายในกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความในคดีแพ่งเพื่อสนับสนุนข้ออ้างทางคดี ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยบรรยายฟ้องในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยขอให้เพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้อนุบาลของ จ. และตั้งจำเลยเป็นผู้อนุบาลแทนว่าโจทก์เล่นการพนัน ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลจ. แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้ตั้งประเด็นเรื่องคุณสมบัติของโจทก์ไว้โดยตรง แต่ก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยควรจะเป็นผู้อนุบาลของ จ. การที่จำเลยเบิกความว่า บ้านของโจทก์ตั้งเป็นบ่อนการพนันก็เพื่อสนับสนุนคดีของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลของ จ. ส่วนโจทก์ไม่เหมาะสม ถือได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 331
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความต่อศาลเพื่อสนับสนุนคดีของตน ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หากเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้อนุบาล
จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนโจทก์ออกจากเป็นผู้อนุบาลของ จ.ผู้ไร้ความสามารถและตั้งจำเลยเป็นผู้อนุบาลแทน โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์เล่นการพนันไม่เหมาะที่จะเป็นผู้อนุบาลของ จ. คดีดังกล่าวจึงมีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยควรเป็นผู้อนุบาลของจ. ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความว่าบ้านของโจทก์ตั้งเป็นบ่อนการพนัน ก็เพื่อสนับสนุนคดีของจำเลยว่าโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาล ถือได้ว่าเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตนไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 331
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยนายทะเบียน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ฟ้องร้องได้
กำหนดเวลาในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมีหน้าที่ต้องไปทำการร้องขอต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ ให้ออกใบสำคัญประจำตัวให้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลต่างด้าว มิใช่เป็นคนสัญชาติไทยภายในเวลา 30 วัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ซึ่งเสียสัญชาติไทยเพิกเฉยหรือละเลย มิฉะนั้นจะมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอใบสำคัญคนต่างด้าวไม่ระงับแม้ยื่นหลังกำหนด-นายทะเบียนต้องออกใบสำคัญตามกฎหมาย
แม้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเกินเวลา 30 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ก็ตาม แต่ก็หาหมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ของผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยโดยมีเวลาบังคับให้ปฏิบัติตาม ถ้าหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ ตามมาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติ เดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิหรือหมดสิทธิไม่ จำเลยมีฐานะเป็นนายทะเบียนตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตาม พระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ข้อ 3 จึงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ผู้ยื่นคำร้องขอ การที่จำเลยยังไม่ออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ และเป็นเวลานานเกินสมควรแก่เหตุ ถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการโดยอ้างว่าเป็นระเบียบของกรมตำรวจหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งมิใช่กฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะผู้ถูกฟ้องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท และต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ส. ที่ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเครื่องหมายการค้า: ผู้ขอจดทะเบียนต้องทำข้อตกลงหรือฟ้องผู้มีสิทธิอื่น มิใช่ฟ้องนายทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยเป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการของจำเลยที่ 1ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมี คำขอท้ายฟ้องให้จำเลยรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้บรรยายให้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีอำนาจและหน้าที่ อะไรเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกระทำการใด อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อมาจำเลยที่ 2 ในฐานนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่ ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับของโจทก์ โดย ส. ได้ยื่นคำขอไว้ก่อนโจทก์ จึงดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ต่อไป โจทก์ต้องดำเนินการตามกฎหมาย 2 ประการ คือทำความตกลงกับ ส. เองว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นหรือนำคดีไปสู่ศาลโดยฟ้อง ส.ให้ศาลพิจารณาว่าโจทก์หรือส. ฝ่ายใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน มิใช่มาฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ไม่ถูกต้องหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าตามคำของของโจทก์เหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของ ส. และไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ จะว่าเป็นการไม่ชอบก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 17 วรรคแรก ได้ให้อำนาจจำเลยที่ 2 ไว้เช่นนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการ ตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2