พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การที่จำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์โดยตรง ถือเป็นประเด็นอำนาจฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับจำเลยที่ 2ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ส. ที่ยื่นไว้ก่อน โจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกค่าบริการในสถานบันเทิง ถือเป็นกรรโชกทรัพย์
การที่จำเลยยืนยันจะให้ผู้เสียหายทั้งสี่ชำระเงินค่าชมการแสดงโดยพูดว่าถ้าไม่ชำระจะไม่ยอมให้ออกจากบาร์และสั่งคนปิดประตูบาร์กับเรียกพนักงานชายประมาณ 5-6 คน มายืนคุมเชิงรอบโต๊ะข้างหลังผู้เสียหายทั้งสี่ แล้วจำเลยพูดว่าจะชำระหรือไม่ ถ้าไม่ชำระมีเรื่องแน่ ถือเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้เจ้าของบาร์ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้เสียหายทั้งสี่แล้ว แม้การกระทำนั้นจะสืบเนื่องมาจากการทวงค่าชมการแสดงที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับการบริการไปแล้ว แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ผู้เสียหายทั้งสี่ชำระเงินโดยการขู่เข็ญด้วยวิธีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจชำระหนี้ค่าบริการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นความผิดฐานกรรโชก
ผู้เสียหายทั้งสี่เข้าไปเที่ยวในบาร์ ซึ่งมีการแสดงให้ชมและได้สั่งเครื่องดื่มรวม 4 แก้ว ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินของบาร์ ได้นำใบเสร็จรับเงินมาเรียกเก็บเงิน 1,000 บาท โดยคิดเป็นค่าเครื่องดื่ม 200 บาทค่าชมการแสดง 800 บาท ตามอัตราที่ถูกต้องของบาร์ผู้เสียหายทั้งสี่ขอชำระแต่ชำระแต่ค่าเครื่องดื่มส่วนค่าชมการแสดงไม่ชำระเพราะได้รับคำบอกเล่าจากผู้ที่ชักชวนเข้าไปเที่ยวว่าไม่ต้องชำระ จำเลยไม่ยอมและพูดว่าถ้าไม่ชำระจะไม่ยอมให้ออกจากบาร์และสั่งคนปิดประตูบาร์กับเรียกพนักงานชาย 5-6 คน มายื่นคุมเชิงรอบโต๊ะข้างหลังผู้เสียหายทั้งสี่แล้วจำเลยพูดว่าจะชำระหรือไม่ถ้าไม่ชำระมีเรื่องแน่ ผู้เสียหายทั้งสี่กลัวถูกทำร้ายจึงยอมชำระเงิน 1,000 บาท ให้จำเลยถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้เจ้าของบาร์ ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้เสียหายทั้งสี่ จนผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งถูกข่มขืนใจยอมให้เงินค่าชมการแสดง ดังนี้แม้ว่าการกระทำของจำเลยจะสืบเนื่องมาจากการทวงค่าชมการแสดงที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับการบริการไปแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ผู้เสียหายทั้งสี่ชำระเงินโดยไม่ชอบด้วยการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อผู้เสียหายทั้งสี่เช่นนั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องรายละเอียดเล็กน้อย และการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายรถยนต์ที่เสียหายจากอุบัติเหตุ
การขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยและวันเกิดเหตุละเมิดซึ่งเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้อง มิใช่เป็น การขอแก้ไขคำฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1) และ (2)แม้โจทก์ทั้งห้าจะมิได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้โจทก์ทั้งห้าแก้ไขได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 180 แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า ธ.เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งคันที่ถูกชน แต่โจทก์ทั้งห้าก็ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จากเหตุรถชนกันทำให้รถยนต์ที่ ธ.ขับมาได้รับความเสียหายและ ธ. ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ธ. ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าว คิดเป็นเงิน 315,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ขอให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์คันดังกล่าวด้วยเมื่อทางพิจารณาได้ความว่ารถยนต์ที่ถูกชนเป็นรถของ ธ.การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ราคารถคันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความต้องอาศัยแผนที่พิพาทเป็นหลัก แม้มีการกันที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงกันให้ถือเอาแผนที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ด้วยดังนั้นการรังวัดแบ่งที่พิพาท จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวโดยอาศัยแผนที่พิพาทเป็นหลักในการรังวัด สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยยอมแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามเส้นประสีม่วงทั้งหมด กับส่วนที่เป็นเครื่องหมาย////// ที่ปรากฏในแผนที่พิพาทแก่โจทก์ แต่มิได้กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความให้ชัดว่าจะต้องวัดจากตรงจุดใดของเครื่องหมายดังกล่าว ทั้งมิได้กำหนดว่าต้องวัดจากทางทิศใดไปทิศใดและมีความยาวเท่าใด ครั้นโจทก์จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดตามคำสั่งศาล จึงปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้กันที่ดินส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่พิพาทไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์จึงนำรังวัดจากจุดที่เจ้าพนักงานที่ดินกันไว้ไปทางทิศเหนือ มีความยาว 15.16 เมตรเป็นเหตุให้จำเลยไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นนัดโจทก์จำเลยมาสอบถามโจทก์ยอมรับว่าได้นำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดจากจุดดังกล่าวซึ่งไม่ตรงตามแผนที่พิพาทจริง และโจทก์จำเลยยอมรับกันว่าความจริงต้องวัดจากจุดซึ่งเป็นเสาหน้าบ้านต้นแรกซึ่งอยู่ริมทางสาธารณประโยชน์ไปทางทิศเหนือ 15.16 เมตร และโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดใหม่ให้ตรงตามแผนที่พิพาทข้อตกลงของโจทก์จำเลยเช่นนี้เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการเน้นเพื่อให้ทราบแน่ว่าการรังวัดใหม่จะต้องเริ่มวัดจากจุดใดไปทางทิศใดและมีความยาวเท่าใด ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นนัดโจทก์จำเลยมาสอบถามและตกลงกันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำความเข้าใจระหว่างโจทก์จำเลยให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงในสัญญาประนีประนอมยอมความหาใช่เป็นข้อตกลงใหม่หรือเพิ่มเติมแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้วไม่ และแม้เจ้าพนักงานที่ดินได้กันที่ดินทางด้านทิศใต้ไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์อย่างไรก็ไม่ผูกพันคู่ความคดีนี้และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาคดีไปตามยอมแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คนซึ่งเป็นทายาท การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ต้องถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1 และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตามแต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตาย โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในมรดก การเพิกถอนสัญญาเช่าซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 กับบุตรคนอื่นรวม 8 คน ซึ่งเป็นทายาทการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวครอบครองที่ดินต่อมา ถือว่าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่น แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่ คำสั่งศาลในคดีแพ่งที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงไปให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อ โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตสัญญานั้นก็ไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ แม้โจทก์ทั้งสองกำลังฟ้องเรียกที่ดินจากจำเลยที่ 1และศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกตายโจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวนับแต่เวลานั้นเป็นต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 มิใช่นับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: การครอบครองแทนทายาทอื่นไม่อาจทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของตนได้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คน การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจาก จ.ถึงแก่กรรม ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของ จ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใด ที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ. จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกตกทอดและการครอบครองแทนกัน: กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้ให้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยเมื่อจ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คนการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจากจ.ถึงแก่กรรมถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของจ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใดที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของจ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์และอำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิให้ผู้อื่น
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัทด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียว เป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อปปี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท ชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น บริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก.และต่อมา บริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้นเมื่อ บริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก.ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง