คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอนสิทธิ
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบบี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด. เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัท ฟ. ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก. และต่อมาบริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล๎มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้น เมื่อบริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่ แม้บริษัท ด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใดเพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลชี้สองสถาน: คำร้องแก้ไขประเด็นข้อพิพาทไม่ใช่คำร้องตามมาตรา 27(2)
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยไม่ชอบวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของ โจทก์ดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่ชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ มิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นต่อศาลภายใน 8 วันตามมาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการกำหนดหน้าที่นำสืบ สิทธิอุทธรณ์มาตรา 226(2) มิใช่คำร้องมาตรา 27
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านคำสั่งและขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ คำร้องโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)กรณีมิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นภายใน 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาทั้งหมดประกอบกัน ไม่ถือเพียงบางส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่น จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกัน แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DUNLOPILLO" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DELIGHTPILLO"ของจำเลยเป็นอักษรโรมันด้วยกัน มีลักษณะลีลาการเขียนคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัว ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลย ประกอบด้วยอักษรโรมัน 12 ตัว อยู่ในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ตรงเหลี่ยมประดิษฐ์ให้เป็นรูปมน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลย แม้ต่างออกเสียงเป็นสี่พยางค์ โดยออกเสียงพยางค์ท้ายตรงกันว่า "พิลโล" ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสองพยางค์แรกอ่านออกเสียงต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์สองพยางค์แรกอ่านออกเสียงว่า "ดันล๊อป" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียงว่า "ดีไลท์" ซึ่งเมื่ออ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสี่พยางค์รวมกันแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ลำพังแต่อักษรตัวแรกในแต่ละพยางค์ ประกอบด้วยอักษรตัวเดียวกันไม่อาจทำให้หลงผิดแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าคำว่า "D" ของโจทก์ เป็นอักษรโรมันตัวเดียวอยู่ในวงกลมซึ่งมีลูกศรชี้ไปทางขวามือ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "D.R." ของจำเลยเป็นอักษรโรมัน 2 ตัว อยู่ในวงกลม หลังอักษรแต่ละตัวมีเครื่องหมายจุด (.) รูปรอยประดิษฐ์อักษรตัวดีมีลักษณะลีลาการเขียนที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย, ของมีค่า, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ขนส่ง
ได้ความแต่เพียงว่าระหว่างขนส่ง คนขับรถบรรทุกของจำเลยขับไปใกล้ถึงปลายทางได้เกิดเพลิงไหม้ตรงกลางคันรถใต้ผ้าใบคลุมสินค้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ปรากฏว่าเหตุเพลิงไหม้นั้นไม่อาจป้องกันได้เพราะเหตุใด และคนขับรถผู้ต้องประสบเหตุนั้นได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร ยังถือไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ลวดเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องซักผ้าเป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วไป มิใช่ของมีค่าที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ประทวนสินค้า หรืออัญมณี ผู้ส่งสินค้าจึงไม่จำเป็นต้องบอกราคาในขณะส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ใบกำกับสินค้าที่จำเลยออกให้โจทก์มีข้อจำกัดความรับผิดว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เกิน 500 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงลายมือชื่อยินยอมรับรู้ในข้อจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานประกอบการรับฟังคำให้การในคดีข่มขืน แม้ไม่มีพยานผู้เสียหาย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความยืนยันว่า จำเลย-ทั้งสองกับพวกอีก 1 คน ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็มี น, อ,ส, และแพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายผู้เสียหาย อันเป็นพยานบุคคลมาเบิกความถึง-เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งพยานโจทก์ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพยานแวดล้อมกรณี หาใช่พยานบอกเล่าไปทั้งหมดไม่ คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเป็นความจริง อนึ่ง คำพยานบอกเล่ามิใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เสียทีเดียว แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานแวดล้อมเชื่อมโยงเหตุการณ์ข่มขืน มีน้ำหนักรับฟังได้ แม้ไม่มีพยานบอกเล่าโดยตรง
แม้โจทก์จะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คน ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็มี น., อ.,ส. และแพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายผู้เสียหาย อันเป็นพยานบุคคลมาเบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งพยานโจทก์ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพยานแวดล้อมกรณี หาใช่พยานบอกเล่าไปทั้งหมดไม่ คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเป็นความจริง อนึ่ง คำพยานบอกเล่ามิใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เสียทีเดียว แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาลต่างประเทศ: การชดใช้ทุนเมื่อลาออกก่อนครบกำหนด และการกำหนดเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์โดยทำสัญญากับกรมอาชีวศึกษาว่า เมื่อเสร็จการศึกษาไม่ว่าการศึกษาจะสำเร็จหรือไม่ จำเลยที่ 1 จะกลับมารับราชการในกรมอาชีวศึกษาหรือในกระทรวง ทบวง กรม อื่น ตามที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของเวลาที่ได้รับทุน ถ้าผิดสัญญาจำเลยที่ 1จะชดใช้คืนทุนและเงินที่ได้รับในระหว่างการศึกษาพร้อมเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 กลับมารับราชการต่อแล้วลาออกจากราชการในขณะที่รับราชการชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดนัดแม้ภายหลังจำเลยที่ 1 จะกลับเข้ารับราชการใหม่แต่โจทก์ก็มิได้ยินยอมให้จำเลยเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อ จึงไม่อาจนับเวลาราชการต่อกันเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาได้ จำเลยที่ 1 ไม่หลุดพ้นความรับผิด จำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการใหม่เป็นเวลามากกว่าเวลาราชการที่ยังขาดตามสัญญาเกือบเท่าตัว เมื่อคำนึงถึงเวลาราชการที่ขาดและเวลาราชการที่จำเลยที่ 1 เข้ารับราชการใหม่ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์แล้ว ศาลไม่กำหนดเบี้ยปรับให้ ตามสัญญาระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินที่ต้องชำระคืนและเบี้ยปรับแก่โจทก์ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ยอมให้คิดดอกเบี้ยจากเงินนั้น เมื่อโจทก์เคยแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแล้วแต่ไม่พบตัวจำเลยที่ 1 และภายหลังที่โจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้ารับราชการใหม่ โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งจากโจทก์แล้วเมื่อใด จึงชอบที่จะให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปัญหาการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศเป็นเงินไทยเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดให้ถูกต้องโดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ศาลฎีกาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและผู้ว่าจ้าง รวมถึงความรับผิดตามสัญญาประกันภัยรถยนต์
หลังเกิดเหตุแล้วโจทก์ จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงานประกันภัยของจำเลยที่ 4 ได้มีการเจรจาเรื่องค่าเสียหายกัน ทั้งได้ความว่ารถยนต์บรรทุกเป็นของจำเลยที่ 2เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิด จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยรถยนต์จากจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย รถยนต์โจทก์ถูกชนท้ายและไถลไปชนรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่ข้างหน้า ได้รับความเสียหายทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีสภาพพังยับเยินต้องซ่อมแซม ศาลกำหนดค่าซ่อมแซมให้ 106,705 บาทค่าขาดประโยชน์ 36 วัน วันละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท น้อยกว่าที่โจทก์ขอ และการที่รถยนต์โจทก์ถูกชนเสียหายยับเยินย่อมเสื่อมราคาลง แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ตาม ศาลกำหนดค่าเสื่อมราคาเป็นเงิน 5,000 บาท เป็นการเหมาะสมแล้ว
of 36