คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิดีกว่า แม้การจดทะเบียนถูกเพิกถอน
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้และครบสิบปีแล้วจำเลยไม่ต่ออายุของการจดทะเบียนซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 27 ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่จำเลยยังใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนตามบทกฎหมายก็ถือได้เพียงว่า จำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่เมื่อจำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้น ทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งกันจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์จำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปมดซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนเนื่องจากไม่ต่ออายุการจดทะเบียนก็ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น เมื่อจำเลยยัง ใช้เครื่องหมายการค้าอยู่จำเลยยังเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้นทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่ อีกทั้งหากมีการแสดงเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนหรือขายหรือเสนอขายสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นความเท็จย่อมมีความผิดและอาจรับโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ได้ ดังนั้น การที่กฎหมาย กำหนดเรื่องอายุการจดทะเบียน การต่ออายุและการจดทะเบียนไว้หาได้ไร้ประโยชน์เสียทีเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีการควบคุมตัวจากพนักงานสอบสวน และความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพันตำรวจโท บ. พันตำรวจโท บ. สอบปากคำจำเลยจำเลยขออนุญาตกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้าน เพราะเสื้อผ้าเปื้อนเลือด พันตำรวจโท บ. ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่บ้าน เมื่อไปถึงบ้านของจำเลย จำเลยเดินเข้าไปในบ้าน พันตำรวจโท บ. นั่งคอยจำเลยอยู่ที่ห้องรับแขก กับมีเจ้าพนักงานตำรวจอีก 2 คน คอยอยู่นอกบ้านแม้ไม่ปรากฏว่าพันตำรวจโท บ. ทำบันทึกการมอบตัวหรือแจ้งข้อหาแก่จำเลย แต่ก็ถือได้ว่าพันตำรวจโท บ. ได้คุมขังจำเลยไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนต่อไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไม่กลับมาพบพันตำรวจโท บ. แล้วหลบหนีออกทางประตูหลังบ้านไป ถือได้ว่าจำเลยได้หลบหนีไปจากความควบคุมของพันตำรวจโท บ. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 แล้ว แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยไปเก็บเงินค่าสินค้าที่ต่างอำเภอและถูกคนร้ายชิงทรัพย์ก็ตาม การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปเก็บเงินที่อำเภอดังกล่าวในวันเกิดเหตุก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่สมควรลงโทษจำเลยสถานเบา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเรื่องข่มขืน ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการกลั่นแกล้งและมีเหตุผลเชื่อว่าเป็นการร่วมประเวณีโดยสมัครใจ
จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมข่มขืนกระทำชำเราจำเลยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องพักของโรงแรมไม่มีผู้ใดรู้เห็น เมื่อโจทก์ร่วมกับจำเลยเบิกความโต้แย้งกันอยู่ จึงต้องฟังเหตุผลและพยานพฤติเหตุแวดล้อมประกอบกัน เมื่อพนักงานโรงแรมเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุตนเองเป็นผู้บริการเปิดม่านรูดให้โจทก์ร่วมและจำเลยขับรถเข้าไปจอดในโรงแรม และเปิดม่านรูดเมื่อรถยนต์ของโจทก์ร่วมและจำเลยจะออกไป จำเลยมิได้ร้องขอความช่วยเหลือประกอบกับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมิได้ใช้กำลังบังคับหรือใช้อาวุธขู่เข็ญจำเลยเพราะจะร่วมประเวณี พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมประเวณีกันโดยสมัครใจ เมื่อจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในเวลาต่อมาว่าโจทก์ร่วมข่มขืนกระทำชำเราจำเลย จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือเช็คโดยชอบธรรมมีสิทธิฟ้องบังคับคดี แม้จะมีการโอนเช็คจากผู้ทรงคนก่อน โดยไม่มีเหตุฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คผู้ถือ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง และโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904และมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ให้เช็คพิพาทแก่มารดาโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ เป็นคำให้การที่กล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลกับมารดาโจทก์ เท่ากับไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขึ้นต่อสู้ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คโดยไม่ต้องวินิจฉัยว่าเช็คมีมูลหนี้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตในฐานะพ่อค้า vs. การยึดทรัพย์เพื่อดำเนินคดีอาญา: สิทธิและขอบเขตการคุ้มครอง
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ โจทก์รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จาก ส. ซึ่งนำมาขายให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ไม่ได้ความว่าที่ทำการของโจทก์เป็นท้องตลาด การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์นั้นไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาสืบสวนสอบสวนได้ความว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ของบริษัท ค. ซึ่งถูกคนร้ายปล้นไป จำเลยทั้งหกย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทไว้เพื่อประกอบคดีฐานปล้นทรัพย์และคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตและสภาพที่ไม่เป็นตลาด การยึดรถเพื่อตรวจสอบกรรมสิทธิ์
การที่โจทก์เป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ ไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจกท์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตและการครอบครองโดยชอบธรรม การที่สถานที่ประกอบธุรกิจไม่ใช่ตลาดทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การที่โจทก์เป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ ไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีโกงเจ้าหนี้ในศาลแขวง: วินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเหตุต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องไป ยังไม่พอรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องไปก็โดยเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
of 36