คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การรับเงินยักยอกรู้แหล่งที่มา, หลายกรรมต่างกัน, และการบังคับคดี
ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ได้รับอันตรายเป็นบาดแผลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 393/2536) จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2535 โดยจำเลยลงชื่อไว้ใต้ข้อความซึ่งประกอบด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2535 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมา วันที่ 28 ตุลาคม 2535 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาและสั่งให้จำเลย นำส่งสำเนาฎีกาภายใน 5 วัน ดังนี้ ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการนำส่งสำเนาฎีกาภายใน ระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วย มาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินทำสวนไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินของจำเลยทำสวนไม่ใช่ทำนา พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524บัญญัติคุ้มครองเฉพาะการเช่านาโดยบังคับไว้ในหมวดที่ 2 ส่วนการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นได้บัญญัติแยกไว้ต่างหากในหมวด 3 ว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นโดยมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติถึงกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่จนบัดนี้ยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใดอีก โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยขาดประโยชน์จากการที่อาจให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การเปลี่ยนตัวโจทก์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับมรดก ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ.โดยโจทก์คดีนี้เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านในคดีก่อนกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลยโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: โจทก์ต่างกันในคดีจัดการมรดกและฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน ไม่ขัดมาตรา 173 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คดีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ. โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลย โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงหาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสองไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การกับพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา: คำให้การใหม่ย่อมใช้ได้ โจทก์ไม่อาจอ้างคำรับเดิม
เมื่อจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว จำเลยจะให้การเท็จจริงอย่างไรหรือไม่ให้การอะไรก็ได้ ไม่มีกฎหมายใดบังคับดังนั้น โจทก์จะอ้างคำรับของจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยได้ปฏิเสธ ให้เห็นว่าคำเบิกความชั้นศาลของจำเลยเป็นความจริงมาใช้ประกอบเพื่อให้ฟังว่าข้อความที่จำเลยให้ไว้แก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำที่แสดงเจตนาและความร่วมมือ
การที่จำเลยทั้งสองชวนและพาผู้เสียหายออกไปจากเวทีรำวงครั้นถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ร้องบอกให้คนร้ายตีผู้เสียหายจนล้มลง แล้วจำเลยทั้งสองจับมือของผู้เสียหายไว้เพื่อให้คนร้ายทำร้ายผู้เสียหาย เห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย และแสดงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกต้องคบคิดวางแผนนัดหมายกันไว้ก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289,80,83 แม้ทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296,83 ก็เป็นความผิดที่รวมอยู่ในลักษณะเดียวกัน แม้มิใช่ความผิดที่โจทก์ฟ้องโดยตรงและมิใช่มาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ไม่ใช่ความผิดตามฟ้อง ศาลลงโทษได้ตามความผิดที่พิจารณาได้
การที่จำเลยทั้งสองชวนและพาผู้เสียหายออกไปจากเวทีรำวงเมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยที่ 1 ร้องบอกให้พวกของจำเลยทั้งสองที่รอคอยอยู่ก่อนเข้าทำร้ายผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองกับพวกคบคิดวางแผนนัดหมายกันไว้ก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้ทางพิจารณาปรากฏว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามฟ้อง แต่ก็ถือว่าเป็นความผิดที่รวมอยู่ในลักษณะเดียวกัน แม้มิใช่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และมิใช่มาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การใช้ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล และบทบัญญัติใกล้เคียง
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับในวันที่21 กุมภาพันธ์ 2535 เมื่อปรากฏว่าการส่งมอบและตรวจรับสินค้าทำขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ดังนั้น เรื่องอายุความฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งทางทะเลจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 624 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมาปรับแก่คดีในฐานะเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับตราส่งตรวจรับและพบความเสียหายของสินค้าที่ซื้อและส่งมาทางทะเลตั้งแต่วันที่4 มกราคม 2527 แต่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเพิ่งมาฟ้องจำเลยเพื่อไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไป ในวันที่ 9 ตุลาคม 2528ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบหรือวันที่ควรจะได้ส่งมอบสินค้า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624.
of 36