พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนของคำเรียกขานและเจตนาเลียนแบบมีผลต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจะมีลักษณะและลีลาการเขียนแตกต่างกัน แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้ภาษาต่างประเทศที่มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ผู้ซื้อย่อมถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะเหมือนกัน สินค้าของจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมาก่อนโจทก์ มีการโฆษณาเผยแพร่ตลอดจนนำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งยังมีตัวแทนจำเลยที่ต่างประเทศส่งสินค้าของจำเลยเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ซึ่งมีอาชีพเป็นตัวแทนขายรองเท้าต่างประเทศ ย่อมรู้ว่าสินค้ารองเท้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นที่นิยมแพร่หลาย ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ส่อให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งใช้มาก่อนโจทก์ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากศาลไม่อนุญาตขาย
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุตรผู้เยาว์ของจำเลย ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงจะขายได้ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษไม่ปรากฏว่าพยานหลักญานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ จะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์: จำเลยไม่ผิดสัญญาเมื่อศาลไม่อนุญาตขาย
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษ ไม่ปรากฏว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ จะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากศาลไม่อนุญาตขาย
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุตรผู้เยาว์ของจำเลย ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงจะขายได้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษไม่ปรากฏว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ จะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 มิได้มุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดด้วย เมื่อคดีฟังได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนได้ ตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของผู้ไม่รู้เห็นเป็นใจในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนรถ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 35มิได้มุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็น เป็นใจในการกระทำผิดด้วย เมื่อคดีฟังได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอจักรยานยนต์ของกลางคืนได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นนอกคำให้การและประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้รับการฎีกาคัดค้าน
จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า จำเลยมิได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องและมิได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ไว้ สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เพียงใด ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่า จำเลยค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เพียงใดไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ แต่โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และผลคดีเป็นประโยชน์แก่จำเลยมากแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนบ้านสังหาริมทรัพย์และการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน โดยไม่ต้องจดทะเบียน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดอย่างสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องรื้อถอนออกไป การซื้อขายในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 และจำเลยย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างการโอนสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยยกบ้านหลังพิพาทให้ผู้ร้องสอดโดยเสน่หา จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทออกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ยอมให้ผู้ร้องสอดอาศัยในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้านพิพาทได้ตลอดชีวิตของผู้ร้องสอดโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคแรก ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การโอนบ้านอย่างสังหาริมทรัพย์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นคนละกรณีกันเรื่องผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ไม่ทำให้การโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดไม่ต้องรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนบ้านจากการขายทอดตลาดและสิทธิเหนือพื้นดิน: ผู้รับโอนไม่ต้องรื้อถอนหากมีสิทธิใช้สอยที่ดิน
จำเลยซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดของศาลอย่างสังหาริมทรัพย์โดยจะต้องรื้อออกไป จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และการที่จำเลยซึ่งรับโอนบ้านมาอย่างสังหาริมทรัพย์ก็ย่อมโอนต่อให้ผู้ร้องสอดอย่างสังหาริมทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน การที่จำเลยยกบ้านให้แก่ผู้ร้องสอดโดยเสน่หาจึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่มีอยู่โดยจะต้องรื้อถอนบ้านออกไปด้วย แต่เนื่องจากผู้ร้องสอดกับโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่ายอมให้ผู้ร้องสอดอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์บริเวณที่ปลูกบ้านนั้นได้ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ดินตลอดชีวิตของผู้ร้องสอด ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดิน ทำให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิใช้สอยที่ดินของโจทก์บริเวณที่ปลูกบ้านโดยไม่มีค่าตอบแทนซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตามมาตรา 1410 แม้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิของผู้ร้องสอดจะไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา1299 วรรคแรกก็ตาม แต่ก็มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่สัญญา ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิใช้สอยที่ดินบริเวณดังกล่าวปลูกบ้านได้ เมื่อบ้านปลูกอยู่ในที่ดินบริเวณซึ่งผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรื้อบ้านออกไป แม้การโอนบ้านระหว่างจำเลยและผู้ร้องสอดจะเป็นการโอนอย่างสังหาริมทรัพย์ในตอนแรกก็ตาม ก็เป็นคนละกรณีกับเรื่องที่ผู้ร้องสอดมีสิทธิเหนือพื้นดินต่อโจทก์ และไม่ทำให้การโอนบ้านระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดกลายเป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปได้ ผู้ร้องสอดจึงไม่ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านรื้อถอนกับสิทธิเหนือพื้นดิน: สัญญาประนีประนอมยอมความสร้างสิทธิใช้สอยได้
การซื้อขายบ้าน โดยตกลงรื้อบ้านไป เป็นการซื้อขายอย่างสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่เป็นโมฆะ การให้อาศัยอยู่ในที่ดินบริเวณที่ปลูกบ้าน เป็นการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก ไม่สมบูรณ์ในฐานะทรัพย์สิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไปแต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา.