พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การขายทอดตลาดต้องยื่นคัดค้านภายใน 8 วัน หากเลยกำหนด สิทธิอุทธรณ์เป็นอันตกไป
การที่จำเลยที่ 8 อุทธรณ์ขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดใหม่โดยอ้างว่าราคาที่ขายต่ำไป เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งกรณีจำต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27และ 296 วรรคสอง จำเลยที่ 8 ต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืน ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 8 มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 8 จะใช้สิทธิอุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับเงินค่าปรับจากจำเลย แม้ไม่ได้ขอในฟ้องอาญา ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์มาตรา 49
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 49 ที่บัญญัติให้จ่ายค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษาแก่เจ้าของลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งนั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา โจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวได้แม้จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง และศาลมิได้พิพากษาให้จ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าปรับจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์ แม้มิได้ขอในคำฟ้อง
พระราชบัญญัติ ญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งได้ แม้จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้องและศาลมิได้พิพากษาให้จ่ายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งคดี: โจทก์ไม่จัดการส่งสำเนาฎีกาและเสียค่าธรรมเนียมเป็นเวลานาน ทำให้ศาลจำหน่ายคดี
ฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ซึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกา ให้จำเลย ตามมาตรา 70 วรรคสอง ปรากฏว่านับแต่ วันโจทก์ไปยื่นฎีกาไว้แล้ว โจทก์มิได้ไปจัดการนำส่งสำเนาฎีกา และเสียค่าธรรมเนียมในการส่งตามกฎหมาย คงปล่อยทิ้งไว้ จนถึงวันที่เจ้าพนักงานศาลได้รายงานให้ศาลชั้นต้น ทราบเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือนเศษ อันเป็นเวลานานเกินสมควร ถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฎีกาตามมาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความประมาทในคดีขับรถชน และสิทธิของโจทก์ร่วมที่จำกัดเฉพาะความเสียหายทางอาญา
โจทก์มีแต่ร้อยตำรวจโท พ.เบิกความว่าได้รับแจ้งว่ามีคนถูกรถยนต์ชนจึงไปที่เกิดเหตุ และได้ทำแผนที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ นอกจากนี้โจทก์มีคำให้การชั้นสอบสวนของนาย ว.ซึ่งให้การเพียงว่าพบหญิงลักษณะถูกรถชนนอนหมดสติอยู่ในถนนจึงนำส่งโรงพยาบาล แต่หญิงดังกล่าวถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยโจทก์ไม่มีพยานใดแสดงว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทสำหรับบันทึกการตกลงเรื่องค่าเสียหายที่มีข้อความว่าฝ่ายสามีผู้ตายเรียกค่าเสียหาย 500,000 บาท แต่ฝ่ายจำเลยเสนอให้เพียง50,000 บาท ก็ไม่ใช่ข้อชี้ไปถึงว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท ส่วนจำเลยมีตัวจำเลยและนาย ส.เป็นพยานเบิกความปฏิเสธว่าเหตุรถยนต์ชนผู้ตายไม่ได้เกิดจากความประมาทของจำเลย ดังนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีได้ก็ถือว่าให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 291 เท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดนี้ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,78,157,160 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เป็นโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ได้และไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาความผิดนี้ ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งในคดีเช่าซื้อ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาร่วมกันได้และไม่เป็นเงื่อนไข
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนบ้านออกไปและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสองโดยจำเลยทั้งสองจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างจำนวน 49,000 บาทแก่โจทก์ หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ หากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่จำเลยทั้งสองได้และจำเลยทั้งสองจะต้องรื้อถอนบ้านออกไปแล้วให้โจทก์ชดใช้ค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น 300,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายที่ต้องรื้อถอนบ้านออกไปอีก 80,000 บาท รวมเป็นเงิน 380,000 บาทและให้โจทก์เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น เป็นคำฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามและมาตรา 179 วรรคท้าย และคำฟ้องแย้งนี้ไม่เป็นเงื่อนไข หากเป็นแต่เพียงคำขอในคำฟ้องแย้งอีกข้อหนึ่งในเมื่อบังคับตามคำขอข้อแรกไม่ได้ ซึ่งแล้วแต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งในคดีเช่าซื้อ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม พิจารณาชี้ขาดได้พร้อมกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าซื้อที่ดินจากโจทก์ไปปลูกบ้านแล้วผิดสัญญาเช่าซื้อ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองจะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแก่โจทก์ หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ หากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้และจำเลยทั้งสองจะต้องรื้อถอนบ้านออกไปแล้วให้โจทก์ชดใช้ค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น และชดใช้ค่าเสียหายที่ต้องรื้อถอนบ้านหลังดังกล่าวออกไปรวมเป็นเงิน 380,000 บาท และเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น เป็นคำฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา179 วรรคท้าย และคำฟ้องแย้งนี้ไม่เป็นเงื่อนไข หากเป็นแต่เพียงคำขอในคำฟ้องแย้งอีกข้อหนึ่ง ในเมื่อบังคับตามคำขอข้อแรกไม่ได้ซึ่งแล้วแต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ากระแสไฟฟ้า: ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระตามปริมาณการใช้จริง แม้เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
พนักงานของโจทก์ต่อสายไฟฟ้าขาเข้าและขาออกสลับกันเป็นเหตุให้มาตรวัดกระแสไฟฟ้าของจำเลยหมุนช้าไปกว่าปกติร้อยละ 65.5 แม้การต่อสายไฟฟ้าดังกล่าวจะเกิดจากการกระทำผิดพลาดของพนักงานโจทก์จำเลยมิได้มีส่วนผิดด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์เต็มจำนวน จำเลยจึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์อยู่ ต้องรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์เต็มจำนวน โจทก์ได้ติดตั้งมาตรวัดกระแสไฟฟ้าให้จำเลยเพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้าประกอบการคิดค่ากระแสไฟฟ้า แสดงว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้าตามหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าตามมาตราวัดกระแสไฟฟ้าและอัตรากระแสไฟฟ้าที่จำเลยสามารถตรวจสอบดูได้ มิใช่ว่าโจทก์จะคิดค่ากระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใดก็ได้ตามความพอใจของโจทก์ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บภายในเวลาที่กำหนดนี้จึงมีความหมายเพียงว่า เมื่อโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว จำเลยต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้านั้นภายในกำหนดมิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าตามความพอใจไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ไฟฟ้า: ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระค่าบริการตามจำนวนที่ใช้จริง แม้เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้ไปเต็มจำนวน เมื่อปรากฏว่ามีการต่อสายไฟฟ้าเข้ามาตรวัดกระแสไฟฟ้าของจำเลยเฟสที่ 3 ขาเข้าและขาออกสลับกัน เป็นเหตุให้มาตราวัดกระแสไฟฟ้าหมุนช้าไปกว่าปกติร้อยละ65.5 แม้จะเกิดจากการกระทำผิดพลาดของพนักงานโจทก์เอง แต่จำเลยก็ได้ใช้กระแสไฟฟ้าไปเต็มจำนวน จำเลยจึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์อยู่ ต้องรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้โจทก์เต็มจำนวนตามข้อตกลง เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดจำนวนไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเพิ่มเติมย้อนหลังให้ครบถ้วนได้ จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอใช้กระแสไฟฟ้าต่อโจทก์ในการนี้จำเลยยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อโจทก์ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กระแสไฟฟ้า ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บ โจทก์ได้ติดตั้งมาตรวัดกระแสไฟฟ้าให้จำเลยเพื่อใช้วัดกระแสไฟฟ้าประกอบการคิดค่ากระแสไฟฟ้าแสดงว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้าตามหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าตามมาตรวัดกระแสไฟฟ้าและอัตราค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยสามารถตรวจสอบดูได้มิใช่ว่าโจทก์คิดค่ากระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใดก็ได้ตามความพอใจของโจทก์ ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่โจทก์เรียกเก็บจึงมีความหมายเพียงว่า เมื่อโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้ว จำเลยต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้านั้น มิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าตามความพอใจ ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ทำให้ประชาชนเสียหายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับบัญชีพยาน ศาลมีดุลพินิจได้ตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ และให้นัดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และไม่เข้ากรณีที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และ 228 เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของ จำเลย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรกต่อมาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก ยังไม่เสร็จการสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจำเลย อ้างว่าทนายจำเลยถึงแก่กรรมโดยจำเลยขออ้างตนเองเป็นพยานบุคคลอันดับ 1 และพยานบุคคลอื่นอันดับ 2และ 3 กับพยานเอกสารอันดับ 4 และ 5 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอันดับ 1,4 และ 5 อันเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นเห็นว่ามีเหตุสมควรรับบัญชีระบุพยานจำเลยเฉพาะเพียงบางอันดับเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมซึ่งมีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม