คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สังเวียน รัตนมุง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีฉ้อโกง: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
หลังจากจำเลยนำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ไปขายของและไม่นำดอกเบี้ยไปจ่ายให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าจำเลยหลบหนีและฉ้อโกง โจทก์จึงนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แสดงว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดมาตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้วความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์แต่มาฟ้องคดีเกิน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การรู้เรื่องความผิดและตัวผู้กระทำความผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
หลังจากจำเลยนำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ไปขายของและไม่นำดอกเบี้ยไปจ่ายให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าจำเลยหลบหนีและฉ้อโกง วันที่ 6 มิถุนายน 2531 โจทก์จึงนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนและมีคำสั่งให้ระงับการจ่าย แสดงว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดมาตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้ว ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความกันได้ โจทก์มิได้ร้องทุกข์ แต่มาฟ้องคดีเกิน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนในคดีเดิมที่ยังพิจารณาค้างอยู่
ตามคำฟ้องคดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้าง อาคารและจำเลยทั้งสองได้อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารได้ โจทก์จึง ได้จ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะเพื่อทำการก่อสร้างโดยเสียค่าจ้างเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว โดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับ ที่ดินที่ ทำ การปลูกสร้างอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ จึงขอให้ ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง คดีนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยาย กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองให้ทำการปลูกสร้าง อาคารแล้ว โจทก์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยเสียค่าใช้จ่ายในการ ปรับหน้าดินกับค่าจ้างเขียนแบบและค่าจ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะ รวมเป็นเงินที่ได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 220,000 บาท ต่อมา จำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อร่วมกันกระทำโดยมิชอบออกคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจทำการก่อสร้างได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในเงินที่โจทก์ได้ลงทุนไป ขอให้บังคับ จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวสาระสำคัญอันที่โจทก์ นำมากล่าวอ้างเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากเรื่องเดียวกัน และมูลเหตุเดียวกันกับในคดีก่อน ชอบที่โจทก์จะได้เรียกร้องค่าเสียหายมาพร้อมกับฟ้องในคดีก่อน เสียในคราวเดียวกัน โจทก์จะนำคดีมาแบ่งแยกฟ้องทีละส่วนทีละตอน ทั้ง ๆ ที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หาได้ไม่ ฟ้อง โจทก์ คดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้อน ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนในคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
ตามคำฟ้องคดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และจำเลยทั้งสองได้อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารได้ โจทก์จึงได้จ้างบริษัท ม.ทำการสร้างเข็มเจาะเพื่อทำการก่อสร้างโดยเสียค่าจ้างเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว โดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับที่ดินที่ทำการปลูกสร้างอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง คดีนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองให้ทำการปลูกสร้างอาคารแล้ว โจทก์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยเสียค่าใช้จ่ายในการปรับหน้าดินกับค่าจ้างเขียนแบบและค่าจ้างบริษัท ม.ทำการสร้างเข็มเจาะ รวมเป็นเงินที่ได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 220,000 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อร่วมกันกระทำโดยมิชอบออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจทำการก่อสร้างได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในเงินที่โจทก์ได้ลงทุนไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าว สาระสำคัญอันที่โจทก์นำมากล่าวอ้างเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเรื่องเดียวกัน และมูลเหตุเดียวกันกับในคดีก่อนชอบที่โจทก์จะได้เรียกร้องค่าเสียหายมาพร้อมกับฟ้องในคดีก่อนเสียในคราวเดียวกัน โจทก์จะนำคดีมาแบ่งแยกฟ้องทีละส่วนทีละตอน ทั้ง ๆ ที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุเดิมในคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อนโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและจำเลยทั้งสองได้อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารได้ โจทก์จึงได้จ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะเพื่อทำการก่อสร้างโดยเสียค่าจ้างเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต โดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับที่ดินที่ทำการปลูกสร้างอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง คดีนี้คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองให้ทำการปลูกสร้างอาคารแล้ว โจทก์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยเสียค่าใช้จ่ายในการปรับหน้าดินกับค่าจ้างเขียนแบบและค่าจ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะ รวมเป็นเงินที่ได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 220,000 บาท ต่อมาทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อร่วมกันกระทำโดยมิชอบออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจทำการก่อสร้างได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในเงินที่โจทก์ได้ลงทุนไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย สาระสำคัญที่โจทก์นำมากล่าวอ้างเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเรื่องเดียวกันและมูลเหตุเดียวกันกับในคดีก่อน ชอบที่โจทก์จะได้เรียกร้องค่าเสียหายมาพร้อมกับฟ้องในคดีก่อนเสียในคราวเดียวกัน โจทก์จะนำคดีมาแบ่งแยกฟ้องทีละส่วนทีละตอนทั้ง ๆ ที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อผู้แทนตามกฎหมายของนิติบุคคลทราบการละเมิดและตัวผู้ชดใช้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนราวสะพานของกรมทางหลวงโจทก์เสียหายเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2526 การนับอายุความละเมิดคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ต้องเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่นิติกร กองนิติการของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2527และวันที่ 27 ธันวาคม 2527 จะถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่มีหนังสือทวงถามไม่ได้เพราะการทวงถามทำโดยนิติกร ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมโจทก์หาใช่อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์โดยตรงไม่ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนของโจทก์ทำการสอบสวนและรู้ตัวผู้พึงต้องรับผิดแล้ว ได้รายงานเสนอไปยังอธิบดีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2528 และอธิบดีทราบเรื่องเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2528 จึงถือได้ว่าอธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2528ยังไม่เกิน 1 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนนัดสืบพยานเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและยื่นคำร้องหลังศาลสั่งงดสืบพยาน ศาลใช้ดุลพินิจชอบแล้ว
ตามคำร้อง ของ ทนายจำเลยขอเลื่อนวันนัดสืบพยานจำเลย ซึ่งนัดเวลา 13.30 นาฬิกา ปรากฏว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคท้องร่วงอย่างแรงก่อนวันนัด 1 วัน นั้น ทนายจำเลยมีโอกาสยื่นคำร้องขอเลื่อนได้ก่อนเวลา 13.30 น. ของวันนัด แต่เสมียนทนายจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวในวันนัดเวลา 14.00 น.หลังจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้ว ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจึง ชอบ แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว และการยินยอมของทายาท ทำให้ขาดอายุความเรียกร้อง
ขณะ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสามตาย บุตรทุกคนไม่ได้อยู่กับ ท. ซึ่งเป็นบิดาและ บ. ขณะนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องอายุ 19 ปีเศษ โจทก์และบุตรคนอื่น บรรลุนิติภาวะหมดแล้วนอกจากที่ดินพิพาทแล้ว ท. และ บ. ยังมีทรัพย์สินร่วมกันอีกหลายอย่างเมื่อ บ. ตาย ท. ได้เข้าจัดการทรัพย์สินทุกอย่างรวมทั้งได้ขอรับมรดกที่ดินของ บ. ลงชื่อ ท. ถือกรรมสิทธิ์ไว้คนเดียว และได้จดทะเบียนให้จำเลยทั้งสามถือ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท แสดงว่า ท.ได้ถือตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งส่วนของตนและส่วนที่เป็น มรดกของ บ. แต่ผู้เดียวตลอดมามิได้ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนบุตรด้วยแต่ประการใด โจทก์และบุตรทุกคนต่างยินยอมรับปฏิบัติตามต่อการกระทำของ ท.มาแต่ต้นไม่เคยคัดค้านการจัดการทรัพย์สินของท.เลย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินสิบปีนับแต่ บ. ตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ บ. จึงเป็นอันขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสุดท้าย โจทก์ ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของเจ้าของหอพักต่อผู้เยาว์ที่เช่าพักอาศัย กรณีขับรถประมาท
เจ้าของหอพักที่ผู้เยาว์เช่าอยู่ ถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้รับดูแลผู้เยาว์ไว้ตามความหมายในมาตรา 430 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะเจ้าของหอพักมีหน้าที่เพียงดำเนินการกิจการหอพักและควบคุมการเข้าพักในหอพักเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ให้ผู้เยาว์ขับรถ: เจ้าของหอพักไม่ใช่ผู้ดูแลตามมาตรา 430
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงเจ้าของหอพักที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์เช่าอยู่และเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปเพื่อธุระของตนเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้รับดูแลจำเลยที่ 1 ไว้ตามความหมายในมาตรา 430 แห่ง ป.พ.พ.เพราะเจ้าของหอพักมีหน้าที่เพียงดำเนินการกิจการหอพักและควบคุมการเข้าพักในหอพักเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำลงไปนั้น.
of 36