พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างก่อสร้างและขอบเขตความยินยอมของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า อาคารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบให้โจทก์เสร็จแล้วเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่โจทก์รับมอบงาน โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่จัดการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เป็นที่เรียบร้อย โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารได้โดยสมบูรณ์ โจทก์จึงได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างที่โจทก์ได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อความชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 เพราะโจทก์ฟ้องบังคับตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาต่อกันอยู่อีก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ่ายค่าจ้างที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ณ. ไป จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาได้การฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผลเพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน คดีขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ.มาตรา 147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามป.อ.มาตรา 147 ไม่ได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท.เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและการขาดอายุความของความผิดอันยอมความได้
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นสวัสดิการต่อกรมตำรวจ หาใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาแต่อย่างใดไม่ จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 ไม่ได้ แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินค่าบำรุงฌาปนสถาน ไม่เข้าข่ายความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แต่เป็นความผิดฐานยักยอก และคดีขาดอายุความ
เงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวเป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานกรมตำรวจมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจ มิใช่เงินของทางราชการ หรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษา จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 คงมีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5964/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบียดบังเงินฌาปนสถานไม่ใช่ทรัพย์ของแผ่นดิน ความผิด 352 ขาดอายุความ
เงินรายได้ฌาปนสถานที่จำเลยเบียดบังไม่ได้ส่งกรมตำรวจตามที่โจทก์กล่าวหา เป็นเงินนอกงบประมาณไม่ใช่เงินรายได้ของแผ่นดิน และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานเบียดบังเอาไว้เป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษา แต่เมื่อเงินที่จำเลยยักยอกเอาไปใช้ส่วนตัวในคดีนี้เป็นเงินค่าบำรุงที่เจ้าภาพงานศพมาใช้ฌาปนสถานมอบให้แก่จำเลยเพื่อเก็บส่งเป็นเงินสวัสดิการต่อกรมตำรวจเท่านั้น มิใช่เงินของทางราชการหรือของรัฐบาลที่จำเลยผู้เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา จึงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่ปรากฏว่าผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2528 แต่ ท. เพิ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับการกองสวัสดิการกรมตำรวจ ให้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2530 การร้องทุกข์ซึ่งจะต้องดำเนินการตั้งแต่รับคำสั่งจึงเกิน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว คดีจึงขาดอายุความแม้จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นพิจารณาได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา แต่ศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษจำเลยร่วมกันได้
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างกำหนดโทษจำเลยหนักเกินไป สมควรกำหนดโทษจำเลยให้เบาลง และเมื่อจำเลยที่ฎีกากับจำเลยที่มิได้ฎีกา กระทำผิดร่วมกันเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5869/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินไม่ชัดเจน โจทก์นำสืบได้เพื่ออธิบายสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายมิได้ระบุเลขโฉนดที่ดินที่ซื้อขายไว้โดยระบุเฉพาะเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดิน เป็นกรณีข้อความในสัญญาไม่ชัดเจน โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าเจตนาแท้จริงของการซื้อขายนั้นคือที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใดการนำสืบเช่นนี้หาใช่การนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอยู่อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่แต่เป็นการนำสืบเพื่ออธิบายข้อความในสัญญาซึ่งยังไม่ชัดเจนพอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: ผู้เกิดในประเทศไทยมีสิทธิได้สัญชาติไทย
โจทก์เดินทางจากประเทศจีนมาประเทศไทย และยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองยกคำร้อง โจทก์จึงฟ้องศาล เมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยโจทก์จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เป็นบุคคลสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ. สัญชาติพ.ศ.2456 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานทะเบียนราษฎร์ครบถ้วน ศาลพิจารณาจากพยานบุคคลและพยานแวดล้อมได้
โจทก์เดินทางจากประเทศจีนมาประเทศไทย และยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองยกคำร้อง โจทก์จึงฟ้องศาล เมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยโจทก์จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นบุคคลสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้รับอาวัลเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบด้วยมาตรา 989ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท