พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เครื่องจักรโอนแล้ว สัญญาประกันภัยจึงสิ้นผล
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักร โดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น.ได้ตกลงซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น.ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ.มาตรา458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่
เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 863
เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 863
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรโอนแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย สัญญาประกันภัยเป็นโมฆะ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักรโดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น. ได้ตกลงซื้อขายกันกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น. ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่ เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎร vs. รัฐ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ ดังนั้นศาลจะพิพากษาว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นของโจทก์ไม่ได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่พิพาทอยู่ก่อนแล้ว จำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิระหว่างราษฎร vs. สิทธิรัฐ
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ คำพิพากษาของศาลที่พิพากษาว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นของโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อน ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ในที่พิพาทอยู่ก่อน แล้วจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์ระบุว่าโจทก์ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อออกโฉนดที่ดิน แต่จำเลยได้คัดค้านว่าเป็นการขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ และตามคำขอท้ายฟ้องมีคำขอให้จำเลยออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกินสองแสนบาทคู่ความจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษความผิดต่อเจ้าพนักงาน: มาตรา 296 ไม่ต้องปรับตาม 295, มาตรา 140 ต้องปรับตาม 138
การปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 296ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 295 อีก ส่วนการปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก นั้น ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 138 วรรคสองด้วย เพราะมาตรา 140 วรรคแรก มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเมื่อส่งมอบ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ
การให้รถยนต์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมสมบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการให้ทรัพย์สินดังกล่าวต้องทำตามแบบกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังโจทก์ผู้รับแล้วหาจำต้องจดทะเบียนโอนกันเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่จะควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ ไม่ใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด ดังนั้นแม้ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์โจทก์ก็เป็นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์ขับในวันเกิดเหตุโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากละเมิดจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับทนายในคดีอัตราโทษสูง – การดำเนินการที่ไม่ถูกต้องของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 75 วรรคแรก และมาตรา 76 วรรคสอง แต่ละกระทงมีอัตราโทษจำคุกถึง 15 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่าในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณาแต่ได้ดำเนินคดีไปโดยจำเลยไม่มีทนายแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิพากษาลงโทษจำเลยอีกโดยไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นจัดการเรื่องทนายเสียให้ถูกต้องเป็นการฝ่าฝืนทบกฎหมายที่กล่าวแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายคดีอาญาอัตราโทษสูง - ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชา ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 75 วรรคแรก และมาตรา 76 วรรคสอง แต่ละกระทงมีอัตราโทษจำคุกถึง 15 ปี ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่าในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้ คดีนี้ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายเสียก่อนเริ่มพิจารณา แต่ได้ดำเนินคดีไปโดยจำเลยไม่มีทนายแล้วพิพากษาลงโทษจำเลย ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้พิพากษาลงโทษจำเลยอีกโดยไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นจัดการเรื่องทนายเสียให้ถูกต้อง เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายที่กล่าวแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เกิน และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีเช่า
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ช. และหรือ ว. ฟ้องจำเลยแทน เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือ ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาทเท่านั้น ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ข้อ 7 (ก) แห่งประมวล-รัษฎากร หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แล้วรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 69,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากอาคารพิพาทแก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น คงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเท่านั้น เมื่อได้ความว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 69,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากอาคารพิพาทแก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น คงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเท่านั้น เมื่อได้ความว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องอาคารพิพาทมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง