พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ – ศาลอุทธรณ์ลดจำนวนเงินที่พิพาท ทำให้ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาลดลงต่ำกว่า 200,000 บาท
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน 248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษา กลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและหักทาง โดยการแบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามแผนที่
ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักทางฯจำเลยที่1ถึงที่3มิได้ประสงค์จะให้ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นทางนั้นตกเป็นของผู้หนึ่งผู้ใดในระหว่าง เจ้าของรวมด้วยกันจำเลยที่1ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินที่มี กรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่2และที่3ให้แก่โจทก์นอกจากจะระบุเนื้อที่ดินที่จะยกให้ว่ามีเนื้อที่385ตารางวาแล้วยังกำหนดด้วยว่ายอมให้ทำถนนผ่านกว้าง3เมตรตามแผนที่ท้ายสัญญายอมที่สัญญายอมระบุว่าจำเลยที่1ยกที่ดินให้โจทก์385ตารางวาจึงเป็นเพียงการกะประมาณเนื้อที่ไว้มิได้รวมถึงที่ดินแปลงที่ระบุว่าหักทางด้วยแต่อย่างใดจำเลยที่1แบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามแผนที่และจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดภายใต้ประกาศและ พ.ร.บ.สัญชาติ กรณีบิดา/มารดาเป็นคนต่างด้าวหรือถูกถอนสัญชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า"บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3)โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้น การที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 (3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 10 บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย และขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ.ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ดังกล่าว และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7 (2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับจ.ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล.จึงมิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6 เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ดังนั้นโจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535
พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 10 บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย และขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ.ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ดังกล่าว และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา7 (2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับจ.ตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล.จึงมิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6 เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ดังนั้นโจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะการประกาศใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและการไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ข้อความที่ว่า "บิดาเป็นคนต่างด้าว" นั้น คำว่า "บิดา" หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อความที่ว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง" คำว่า "ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย"หมายถึงผู้ที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่เดินทางเข้ามาเพื่อพักอาศัยในราชอาณาจักรไทย เมื่อ ล.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งหกเพราะมิได้จดทะเบียนสมรสกับ จ. มารดาโจทก์ทั้งหก และ จ.เป็นคนเกิดในราชอาณาจักรไทย แม้จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) และกลายเป็นคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ.ก็ไม่ใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) โจทก์ทั้งหกจึงไม่ใช่เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและในขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้นการที่ จ.ถูกถอนสัญชาติไทยไม่ทำให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) ไปด้วย และไม่ทำให้โจทก์ที่ 6 ซึ่งเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับเข้ากรณีไม่ได้สัญชาติไทยตามข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7(1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วยและขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิด จ. ยังไม่ถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็นผู้เกิดโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบทบัญญัติมาตรา 7(1) ดังกล่าว และพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 11 บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย แม้เป็นผลให้ จ.ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) ประกอบมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กลายเป็นบุคคลที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสาม แต่บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม ก็ต้องใช้บังคับกับ จ. ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 ใช้บังคับเป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่โจทก์ที่ 6 เกิด ขณะโจทก์ที่ 6 เกิด จ.ยังไม่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม อีกทั้ง ล.บิดาโจทก์ที่ 6 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดา ล.เป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ล. จึงมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม เมื่อถือไม่ได้ว่าในขณะโจทก์ที่ 6เกิด บิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้สมรสกับมารดาหรือมารดาของโจทก์ที่ 6 เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามมาตรา 76 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 6 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ดังนั้น โจทก์ทั้งหกไม่เสียสัญชาติไทยเพราะประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: เมื่ออนุญาโตตุลาการไม่สามารถตกลงกันได้ สัญญาสามารถกำหนดให้ศาลมีอำนาจตัดสินได้
ผู้ร้องทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างสะพานกับผู้คัดค้าน ในการก่อสร้างผู้ร้องอ้างว่าการที่วิศวกรที่ปรึกษาของผู้คัดค้านสั่งเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในสัญญาทำให้ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ว่าการของผู้คัดค้านชี้ขาดว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ร้องขอให้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญารับเหมาก่อสร้างแต่อนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้เมื่อตามสัญญาตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการระบุไว้ในข้อ 67 วรรคสองว่า "นอกเสียจากว่าทั้งสองฝ่าย จะเห็นชอบกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคนเดียว ข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจะต้องนำเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ 2 คน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะได้แต่งตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายได้แต่งตั้งจะเลือกผู้ชี้ขาด หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนได้ภายใน30 วัน หรือหากอนุญาโตตุลาการทั้งสองไม่สามารถตกลงกันได้ภายใน30 วัน นับจากวันที่ตนได้รับแต่งตั้งตกลงเลือกผู้ชี้ขาด ให้นำข้อ 71.2 มาใช้บังคับ" และข้อ 71.2 มีความว่า "ศาลไทยจะมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการรับฟังและตัดสินการดำเนินและกระบวนพิจารณา(นอกเหนือไปจากการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 67) ที่เกิดขึ้นจากสัญญาและผู้รับเหมายอมรับเขตอำนาจของศาลไทย" ดังนี้ เมื่ออนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน ดังกล่าว ก็ต้องปฎิบัติตามข้อ 67 ที่ให้นำข้อ 71.2มาใช้บังคับ กล่าวคือต้องนำข้อพิพาทมาสู่ศาลเท่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 13,14 และ 15 อีกหาได้ไม่เพราะขัดกับข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและการบังคับใช้ข้อตกลงตามสัญญา
ผู้ร้องทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างสะพานกับผู้คัดค้าน ในการก่อสร้างผู้ร้องอ้างว่าการที่วิศวกรที่ปรึกษาของผู้คัดค้านสั่งเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในสัญญาทำให้ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ว่าการของผู้คัดค้านชี้ขาดว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ร้องขอให้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง แต่อนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ เมื่อตามสัญญาตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการระบุไว้ในข้อ67 วรรคสองว่า "...นอกเสียจากว่าทั้งสองฝ่าย จะเห็นชอบกับการแต่งตั้งอนุญา-โตตุลาการคนเดียว ข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจะต้องนำเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ 2 คนซึ่งแต่ละฝ่ายจะได้แต่งตั้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายได้แต่งตั้งจะเลือกผู้ชี้ขาด หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนได้ภายใน 30 วัน หรือหากอนุญาโตตุลาการทั้งสองไม่สามารถตกลงกันได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ตนได้รับแต่งตั้งตกลงเลือกผู้ชี้ขาด ให้นำข้อ 71.2 มาใช้บังคับ..." และข้อ 71.2 มีความว่า"...ศาลไทยจะมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการรับฟังและตัดสินการดำเนินและกระบวน-พิจารณา (นอกเหนือไปจากการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 67) ที่เกิดขึ้นจากสัญญาและผู้รับเหมายอมรับเขตอำนาจของศาลไทย..." ดังนี้ เมื่ออนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน ดังกล่าว ก็ต้องปฏิบัติตามข้อ 67 ที่ให้นำข้อ 71.2 มาใช้บังคับ กล่าวคือต้องนำข้อพิพาทมาสู่ศาลเท่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 13, 14 และ 15 อีกหาได้ไม่เพราะขัดกับข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันเจ้าของรวมอื่น การครอบครองปรปักษ์นอกประเด็น
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า 10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7 (ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7 (ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมทั้งหมด ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่ยินยอม
ตามคำฟ้องโจทก์ยืนยันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์มาแต่เดิมขอให้จำเลยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้เป็นของโจทก์ตามสัญญา มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะครอบครองมากว่า10 ปี ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต่อกัน โดยจำเลยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินรังวัดที่ดินรวมเอาที่พิพาทเข้าด้วยเพื่อแบ่งแยกออกโฉนดที่ดินระหว่างเจ้าของรวม แต่โจทก์ไม่ยอมโดยได้ระวังชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์รวมไปถึงที่พิพาทตามที่ครอบครองมาด้วย จำเลยจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงมีข้อความว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกจากโฉนดเป็นแปลงที่ 7(ซึ่งหมายถึงที่พิพาท) แบ่งให้โจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยดำเนินการรังวัดไปได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 เจ้าของรวมเพียง 2 คน ทำบันทึกอันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความว่าให้แบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินของเจ้าของรวม เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 ผู้เป็นเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ตกลงยินยอมในการให้ที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และในขณะที่ทำบันทึกที่พิพาทยังมิได้แบ่งแยกเป็นส่วนสัดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศกับการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในไทย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ. ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนลงชื่อต่อหน้าโนตารีปัปลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบอำนาจดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้น แม้ อ. จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซียและโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนมาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น หนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้ อ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปัปลิก และกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกขึ้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่จะต้อง ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 134038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวก และคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 16360 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 143373 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600 หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 โดยได้รับโอนจากฉ.และท.เมื่อพ.ศ.2522ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลียบ)ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนจำเลยและบริษัท ล. ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือ ลูกมะกอก(ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDENHORSEBRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก 3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัว ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้