พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังฟ้องคดี การส่งหมายไปยังภูมิลำเนาเดิมยังถือว่าชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลง
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครในชั้นบังคับคดีก็ปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนในสำนวนของกรมบังคับคดีก็ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาดังกล่าวแม้ว่าต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 869 ซอยรัชดานิเวศน์ ถนนประชาอุทิศแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยและในการดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ สถานที่นั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งหมายเรียกหมายนัด และเอกสารต่าง ๆ ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและจำเลยได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยจะยกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ของจำเลยโดยที่จำเลยไม่ได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลทราบมาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้รับหมายแจ้งวันขายทอดตลาดที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาตามทะเบียนในขณะฟ้องสำคัญกว่าการเปลี่ยนแปลงภายหลัง การส่งหมายถูกต้องแม้มีการย้ายภูมิลำเนา
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร ในชั้นบังคับคดีก็ปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในสำนวนของกรมบังคับคดีก็ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาดังกล่าว แม้ว่าต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 869 ซอยรัชดานิเวศน์ ถนนประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยและในการดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ สถานที่นั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งหมายเรียก หมายนัด และเอกสารต่าง ๆ ที่ภูมิลำเนาดังกล่าว ไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและจำเลยได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยจะยกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ของจำเลยโดยที่จำเลยไม่ได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลทราบมาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้รับหมายแจ้งวันขายทอดตลาดที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ: ศาลล่างพิพากษาถูกต้องตามเจตนาจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109, 110, 114 และ 115 ป.อ.มาตรา 32, 33,83, 91, 272 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาผลิตและจำหน่ายสินค้าเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110,114 และ 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33,83,91,273 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎหมายศาลแขวง
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)พิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีในศาลแขวง: คำสั่งยกฟ้องและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษายกฟ้องศาลชั้นต้นและอุทธรณ์: กรณีห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีคำสั่งให้งดไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) พิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สถานที่ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์เป็นสถานที่มูลคดีเกิดขึ้น ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่
มูลคดีที่เกิดขึ้นหมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้น โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เนื่องจากจำเลยขายรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยให้แก่ผู้อื่นไปโดยโจทก์ไม่ยินยอม ได้ความว่า สัญญาซื้อขายรถยนต์เขียนที่ตำบลหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่ แม้จะฟังว่าเป็นสถานที่ซึ่งมูลคดีระหว่างจำเลยกับผู้ซื้อได้เกิดขึ้น แต่ด้วยเหตุเดียวกันนี้หากจำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ก็เป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิในมูลละเมิดเช่นกัน ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้นขึ้น จังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นสถานที่ทีมูลคดีเกิดขึ้น โจทก์ย่อมฟ้องคดีเรียกเงินอันได้จากการขายรถยนต์ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ส่วนการซื้อขายรถยนต์อีกคันหนึ่งสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำทำที่ตำบลหนองหลวง จังหวัดตาก โดยผู้จะซื้อเป็นคนละคนกับที่ซื้อคันแรก สัญญาทำกันคนละปี หากจะฟังว่าได้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้ ก็เป็นเรื่องการซื้อขายที่จังหวัดตาก มูลคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิมิใช่เกิดที่เขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สถานที่เกิดมูลคดีจากการซื้อขายรถยนต์
มูลคดีที่เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้น
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ เนื่องจากจำเลยขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไปโดยไม่ชอบ ซึ่งปรากฏจากคำฟ้องประกอบสัญญาซื้อขายรถยนต์เอกสารท้ายฟ้องว่าสัญญาเขียนที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้จะฟังว่าเป็นสถานที่ซึ่งมูลคดีระหว่างจำเลยกับผู้ซื้อได้เกิดขึ้น แต่หากจำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ก็เป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิในมูลละเมิด อันทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้นขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นด้วย โจทก์ย่อมฟ้องคดีเรียกเงินอันได้จากการขายรถยนต์ที่พิพาทที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่อันเป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่รับฟ้องในส่วนที่เรียกเงินอันเกิดจากการขายรถยนต์คันพิพาทจึงไม่ชอบ
ส่วนการซื้อขายรถยนต์ตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาทำที่จังหวัดตาก โดยผู้จะซื้อเป็นคนละคนกับที่ซื้อคันแรก สัญญาทำกันคนละปีก็เป็นเรื่องการซื้อขายที่จังหวัดตาก มูลคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิมิใช่เกิดที่เขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงใหม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ เนื่องจากจำเลยขายรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไปโดยไม่ชอบ ซึ่งปรากฏจากคำฟ้องประกอบสัญญาซื้อขายรถยนต์เอกสารท้ายฟ้องว่าสัญญาเขียนที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้จะฟังว่าเป็นสถานที่ซึ่งมูลคดีระหว่างจำเลยกับผู้ซื้อได้เกิดขึ้น แต่หากจำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ก็เป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิในมูลละเมิด อันทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้นขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นด้วย โจทก์ย่อมฟ้องคดีเรียกเงินอันได้จากการขายรถยนต์ที่พิพาทที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่อันเป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่รับฟ้องในส่วนที่เรียกเงินอันเกิดจากการขายรถยนต์คันพิพาทจึงไม่ชอบ
ส่วนการซื้อขายรถยนต์ตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาทำที่จังหวัดตาก โดยผู้จะซื้อเป็นคนละคนกับที่ซื้อคันแรก สัญญาทำกันคนละปีก็เป็นเรื่องการซื้อขายที่จังหวัดตาก มูลคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิมิใช่เกิดที่เขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ถูกขัดขวางเกิน 10 ปี ถือเป็นการได้มาซึ่งภารจำยอม
ภารจำยอมอาจเกิดจากการยินยอมอนุญาตให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อนต่อมาเมื่อเริ่มใช้ทางแล้วหากผู้ใช้ได้ใช้ทางนั้นในลักษณะเป็นการใช้โดยถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า10ปีโดยเจ้าของทางมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตนทั้งแสดงว่าได้ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนต่อสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตนโ่ดยสมัครใจแล้วการใช้ทางดังกล่าวจึงทำให้เกิดสิทธิภารจำยอมโดยอายุความได้ดังนั้นแม้โจทก์ที่1และที่3จะเบิกความว่าได้ขออนุญาตต. และค.เดิมในทางพิพาทก็น่าจะมีความหมายว่าเป็นการขออนุญาตเดินในตอนแรกๆเท่านั้นเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้ใช้ทางพิพาทเป็นเวลา40-50ปีโดยไม่ปรากฎว่าต. และค.ห้ามปรามหรือขัดขวางการใช้ทางพิพาทหรือบอกสงวนสิทธิในทางพิพาทแต่ประการใดนอกจากนี้หลังจากจำเลยทั้งสองซื้อที่ดินมาจากต. แล้วก็มิได้หวงห้ามมิให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทต่อไปแสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ยอมรับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ในการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกไปสู่ทางสาธารณะพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในการใช้ทางพิพาทของจำเลยทั้งสองในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทมิใช่เป็นการใช้ทางพิพาทโดยได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะตัวแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วโจทก์ทั้งสี่ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ