คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล สระฏัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ - กรรมเดียว - ปลอมเครื่องหมายการค้า - ศาลยกฟ้อง - เหตุผลความผิดกรรมเดียวกับคดีก่อน
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้ต่างเวลา-สถานที่ หากเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับ
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปรสภาพบริษัท, อำนาจฟ้อง, และการยอมรับเอกสาร - การบังคับจำนอง
โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัดเป็นการแปรสภาพไปตามกฎหมายไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือเมื่อโจทก์ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลจำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวแต่ประการใดถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ ปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองจากโจทก์แล้วหรือไม่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากการละเมิดสิทธิบัตร: ตัวการร่วมกระทำความผิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและฐานร่วมกันขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยรู้อู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 85 และ 86 คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ด้วยกัน โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ผลิตเครื่องผลิตก๊าซจากแกลบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามกรรมวิธีการประดิษฐ์ของโจทก์ซึ่งตรงกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1กระทำความผิดอันเป็นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีละเมิดสิทธิบัตร: การเชื่อมโยงคำพิพากษาคดีอาญากับความรับผิดทางแพ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่2และจำเลยที่1ฐานร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและฐานร่วมกันขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยรู้อู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา85และ86คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83ด้วยกันโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ผลิตเครื่องผลิตก๊าซจากแกลบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามกรรมวิธีการประดิษฐ์ของโจทก์ซึ่งตรงกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวการพิพากษาคดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่2ได้ร่วมกับจำเลยที่1กระทำความผิดอันเป็นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ต่อโจทก์ด้วยจำเลยที่2จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำละเมิดสิทธิบัตร: ความรับผิดของตัวการร่วม
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและฐานร่วมกันขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรพ.ศ.2522 มาตรา 85 และ 86 คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 83 ด้วยกัน โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ผลิตเครื่องผลิตก๊าซจากแกลบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามกรรมวิธีการประดิษฐ์ของโจทก์ซึ่งตรงกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดอันเป็นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีประกันภัย: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด?
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน10-2549ขอนแก่นจากโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่นทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไปแต่จำเลยไม่ชำระให้จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่นจำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นดังนี้แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีประกันภัย: สถานที่เกิดเหตุเป็นที่ตั้งมูลคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน 10-2549 ขอนแก่น จากโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป แต่จำเลยไม่ชำระให้ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีสัญญาประกันภัย: สถานที่เกิดเหตุเป็นเกณฑ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์โดยสารประจำทางหมายเลขทะเบียน 10 - 2549 ขอนแก่น จากโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชดใช้และให้ความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวไปเกิดอุบัติเหตุชนรถจักรยานยนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้ฝ่ายรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายรถจักรยานยนต์ แล้วเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป แต่จำเลยไม่ชำระให้ จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยไว้อยู่ที่จังหวัดขอนแก่น จำเลยมีตัวแทนและสาขาสำนักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ดังนี้ แสดงว่ามูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่น ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันภัยรายนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดขอนแก่นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
of 72