คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล สระฏัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ไม่มีผู้เขียนและผู้รับผลประโยชน์อยู่ด้วยขณะทำพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยาน 3 คน ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามมาตรา 1671 แต่มาตรา 1705 มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ผู้รับพินัยกรรมอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมก็ไม่มีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
คู่สมรสมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้เขียน และการยกสินสมรส
ส.ผู้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 3 คนซึ่งพยานทั้งสามคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ เป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 แล้ว แม้จะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามป.พ.พ.มาตรา 1671 แต่ ป.พ.พ.มาตรา 1705 ก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะฉะนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
สินสมรสเป็นทรัพย์ที่ ส.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ส.จึงมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา: การขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในหนี้ร่วมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และ 2
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน308,1447.20บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่1ที่2ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมป่าไม้โจทก์และพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน125,800บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่3เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่1และที่2จำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วยนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่1และที่2อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ซึ่งหากจำเลยที่3จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่1และที่2ได้กระทำดังนี้ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่3มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกาในคดีละเมิดร่วมกัน กรณีจำเลยที่ 3 อ้างการจ้างวาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน 308,147.20 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมป่าไม้โจทก์และพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 125,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วยนั้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งหากจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำ ดังนี้ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีละเมิดเมื่อทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท แม้เป็นการขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 308,147.20 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 125,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วย ฎีกาของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ หากจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำ ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาโจทก์จากพฤติการณ์และข้อผิดพลาดเรื่องที่อยู่จำเลย
แม้ทนายโจทก์ละเลยไม่ติดตามรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องของโจกท์ให้โจทก์คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอศาลก่อนก็ตามแต่ฟ้องของโจทก์ได้ระบุที่อยู่ของจำเลยผิดไปเฉพาะเขตคือระบุว่า"เขตบางเขน"เท่านั้นทั้งๆที่สำเนาทะเบียนบ้านจำเลยท้ายฟ้องก็ระบุว่า"เขตดอนเมือง"ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมายณภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่ระบุเป็น"เขตดอนเมือง"ในท้ายคำแถลงนั้นด้วยพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าโจทก์คงเข้าใจว่าเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยระบุภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องตามคำแถลงแล้วศาลคงสั่งให้ปิดหมายณภูมิลำเนาของจำเลยดังกล่าวนั้นทนายโจทก์จึงเข้าใจสับสนในคำสั่งของศาลที่ให้คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอต่อศาลอีกครั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจงใจทิ้งฟ้อง: ความเข้าใจผิดในคำสั่งศาลและที่อยู่จำเลย
แม้ทนายโจทก์ละเลยไม่ติดตามรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในคำร้องของโจทก์ให้โจทก์คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอศาลก่อนก็ตามแต่ฟ้องของโจทก์ได้ระบุที่อยู่ของจำเลยผิดไปเฉพาะเขตคือระบุว่า "เขตบางเขน"เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ สำเนาทะเบียนบ้านจำเลยท้ายฟ้องก็ระบุว่า "เขตดอนเมือง"ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่ระบุเป็น "เขตดอนเมือง" ในท้ายคำแถลงนั้นด้วยพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์คงเข้าใจว่าเมื่อสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยระบุภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องตามคำแถลงแล้ว ศาลคงสั่งให้ปิดหมาย ณภูมิลำเนาของจำเลยดังกล่าวนั้น ทนายโจทก์จึงเข้าใจสับสนในคำสั่งของศาลที่ให้คัดรับรองทะเบียนบ้านจำเลยเสนอต่อศาลอีกครั้ง ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบริษัทใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิการใช้ชื่อบริษัทและการพิสูจน์ความสุจริต
คำว่าโตเกียวออฟติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่1จดทะเบียนไว้และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1นี้เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอลจำกัดที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่พ.ศ.2497มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่งเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกงและไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทที่่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วยเช่นบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ฮ่องกง) จำกัดต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่1ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่าโตเกียวอ๊อพติคอล(ไทยแลนด์)คัมปะนีลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3คนคือจำเลยที่2ถึงที่4ชาวไทย4คนคือจำเลยที่5ถึงที่8หลังจากจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้วจำเลยที่1ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมาการค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่พ.ศ.2497ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัดเมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526หลายปีการที่จำเลยที่1นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่1เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายจึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่1จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1จำเลยที่1ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย จำกัดโดยสุจริตจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบโจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่1จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่1ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่1จึงมี2ฐานะหากจำเลยที่1จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่่1ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการแต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จำเลยที่1จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ โจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออฟติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปีต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526ก่อนที่จำเลยที่1จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่18มีนาคม2535ประมาณ9ปีการที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้วโจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมาทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ10ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบจำเลยที่1จึงไม่่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิในการใช้ชื่อบริษัทและการจดทะเบียนโดยสุจริต
คำว่า โตเกียวออพติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนไว้ และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 นี้ เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัด ที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2497 มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกง และไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วย เช่น บริษัทโตเกียวออพติคอล (ฮ่องกง) จำกัด ต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า (ประเทศไทย) ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่ 1 ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด ทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่า โตเกียวอ๊อพติคอล (ไทยแลนด์) คัมปะนี ลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3 คน คือจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชาวไทย 4 คน คือจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้ว จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมา การค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่ 1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ.2497 ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่า บริษัทโตเกียวออพติคอล จำกัด เมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2526 หลายปี การที่จำเลยที่ 1 นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่ 1 เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า (ประเทศไทย)ต่อท้าย จึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล (ประเทศไทย) จำกัด โดยสุจริต จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบ โจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่ 1 จึงมี 2 ฐานะ หากจำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการ แต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้
โจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปี ต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2526ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535ประมาณ 9 ปี การที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้ว โจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมา ทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ 10 ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาและการตกเป็นของผู้อื่น มิใช่ส่วนหนึ่งของมรดก
พระครูน.ผู้มรณภาพมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารรวม 2 บัญชีบัญชีแรกเป็นมูลนิธิวัดต.ของวัดโจทก์ ผู้มีสิทธิถอนเงินได้แก่ผู้มรณภาพร่วมกับกรรมการวัดอีก 2 คน ส่วนอีกบัญชีฝากในนามส่วนตัวผู้มรณภาพเป็นผู้ลงนามถอนเงินได้เอง เงินที่ยกให้นี้ถอนจากบัญชีเงินฝากส่วนตัว เมื่อเป็นเงินส่วนตัวของผู้มรณภาพผู้มรณภาพย่อมจะยกให้แก่ผู้ใดก็ได้ เมื่อพระครูน.ผู้มรณภาพได้ยกเงินจำนวนตามฟ้องให้แก่จำเลยโดยเสน่หา กรรมสิทธิ์ในเงินย่อมตกเป็นของจำเลยนับแต่วันรับการยกให้ เงินจำนวนนี้ไม่ใช่ของผู้มรณภาพอีกต่อไปจึงไม่เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแม้จำเลยจะมิได้ออกเงินช่วยค่าพยาบาลรักษาผู้มรณภาพ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ได้
of 72