พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การเบิกเงินเกินบัญชี, และการรับรองหนี้จากเอกสารแจ้งหนี้
ธ. ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำหนังสือมอบอำนาจให้ม. ฟ้องคดีแทนโจทก์แม้ต่อมาธ. ได้พ้นจากการเป็นผู้แทนโจทก์ม. ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวส่วนการที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ก็เพราะภายหลังโจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจำเลยมิได้นำสืบหักล้างข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมถูกยกเลิกไป ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันเท่าใดแต่ละเดือนมีหนี้ต้องชำระเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องด้วยฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง จำเลยมีคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันและคำขอใช้บัตรเครดิตโดยให้ใช้บัญชีกระแสรายวันเป็นบัญชีเดินสะพัดและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แต่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน15วันนับแต่วันรับหนังสือหากพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันเลิกกันเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนดสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนด คำเบิกความของจำเลยเจือสมพยานโจทก์ที่เบิกความว่าในการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโจทก์จะแจ้งรายการที่ใช้ให้จำเลยทราบเป็นประจำทุกเดือนและโจทก์ยังได้แจ้งรายการของบัญชีเดินสะพัดให้จำเลยทราบเป็นประจำทุกเดือนข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับใบแจ้งหนี้จากโจทก์แล้วซึ่งการที่จำเลยไม่คัดค้านข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และถือว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90วรรคสี่(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย: พยานหลักฐานสอดคล้อง เชื่อได้ว่าจำเลยมีความผิด
พยานโจทก์ทั้งสองปากไม่เคยมีสาเหตุกับจำเลยมาก่อนไม่น่าระแวงว่าจะกลั่นแกล้งปรักปรำจำเลยทั้งเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่และตามบันทึกการจับกุมก็มีข้อความตรงตามคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองปากพยานหลักฐานของโจทก์สอดคล้องต้องกันมีน้ำหนักรับฟังได้มั่นคงพยานจำเลยรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา: พยานหลักฐานสอดคล้อง คำเบิกความผู้เสียหาย, บาดแผล, และคำรับสารภาพของจำเลยยืนยันความผิด
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ยืนยันว่าจำเลยที่1ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายสอดคล้องกับรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าผู้เสียหายมีบาดแผลฉีกขาดที่ใต้เยื่อพรหมจารีและพบตัวอสุจิและชั้นสอบสวนจำเลยที่1ก็ให้การรับสารภาพว่าจำเลยที่1ได้กอดปล้ำข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย2ครั้งพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยที่1ได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย2ครั้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10134/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องค่าเสื่อมราคาและทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์และขอบเขตการฎีกา
คดีนี้จำเลยฎีกาว่าที่จำเลยหักค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ เป็นการหักที่พอสมควรและเหมาะสมแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าสินค้าพิพาทแก่โจทก์โดยหักค่าเสื่อมราคาออกเพียงร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้านั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงได้แก่ส่วนต่างของค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ กับร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้าจำนวน ๒๙๖,๑๐๐ บาท ซึ่งคำนวณได้เป็นเงิน ๕๙,๒๒๐ บาท คดีของจำเลยจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท เมื่อจำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดเงินค่าสินค้าของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการล้มละลายต่อความรับผิดทางอาญา: ผู้ล้มละลายยังต้องรับผิดชอบคดีอาญาที่เกิดขึ้นก่อนการพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บุคคลใดหรือมีคำพิพากษาให้บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นเกี่ยวกับสิทธิและสภาพของบุคคล บุคคลผู้ล้มละลายจะจัดการทรัพย์สินได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ตามหลักกฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด-อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวได้
ตามหลักกฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด-อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายไม่ทำให้หนี้จากการสั่งจ่ายเช็คเป็นโมฆะ การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนล้มละลาย
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บุคคลใดหรือมีคำพิพากษาให้บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเกี่ยวกับสิทธิและสภาพของบุคคล บุคคลผู้ล้มละลายจะจัดการทรัพย์สินได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย จำเลยที่ 2 กระทำผิดโดยสั่งจ่ายเช็ครวม 4 ฉบับ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2534 ซึ่งธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 จำนวน 1 ฉบับ และเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2534 จำนวน 3 ฉบับ แต่จำเลยที่ 1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2535การกระทำผิดได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบจนสับสน และการฟ้องห้ามใช้เครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสมีโนตารีปับลิกแห่งกรุงปารีสรับรองว่าร. เป็นกรรมการของโจทก์ และเลขานุการสถานเอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีสรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นเมื่อร.มอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย เนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าและแหล่งกำเนิดสินค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว และในเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนด้วย โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วตามนัยมาตรา 27 และ 29 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แต่การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ย่อมมีผลทำให้จำเลยไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของจำเลยได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของจำเลยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและการล่วงสิทธิ - แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้นำเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การดังกล่าวคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญา ซึ่งมีผลคุ้มครองเฉพาะแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้น เมื่อประเทศไทยมิได้เป็นสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว อนุสัญญานี้จึงไม่มีผลกระทบต่อเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย อนุสัญญาดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9413/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการรับฟังว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 3 ได้รับยกฟ้อง
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายขณะเกิดเหตุ พยานหลักฐานโจทก์มีเพียงบันทึกการจับกุมบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพบันทึกนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายซึ่งจำเลยที่ 3 ปฏิเสธในชั้นศาลและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 ได้รับส่วนแบ่งทรัพย์ที่ถูกปล้น จึงเป็นพยานบอกเล่าที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยที่ 3ร่วมปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9377/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีเก่ากับคดีใหม่ต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษ หากไม่เป็นไปตามนั้น การบวกโทษเป็นโมฆะ
โทษของความผิดในคดีหลังที่จะนำมาบวกกับโทษในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก นั้น จะต้องเป็นโทษของการกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามคดีก่อน และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง