พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งตามมาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนหนึ่งมีคำขอบังคับบุคคลภายนอกมิใช่ฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี ส่วนฟ้องแย้งอีกส่วนหนึ่งก็จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยฟ้องแย้งบุคคลภายนอกนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่เป็นสาระ – การยกฟ้องเดิมยืนยัน – การสอบสวนไม่ชอบ – ไม่กระทบผลคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ใช้รถแทรกเตอร์ดันเสาปูนซีเมนต์ล้มจำนวน 5 ต้น แต่จำเลยกระทำตามคำสั่งของ น.โดยเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิทำได้ การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนา การที่จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความขัดแย้งกัน มีพิรุธและขัดต่อเหตุผลไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้รถแทรกเตอร์ดันเสาปูนซีเมนต์ของโจทก์ร่วมล้มจำนวน 5 ต้นตามฟ้อง กับอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนได้รับคำร้องทุกข์ การสอบสวนจึงไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์ ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจะฟังได้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษายกฟ้องอยู่เช่นเดิม ซึ่งไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย กรณีจึงมิใช่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มีผลเท่ากับพิพากษาว่าอุทธรณ์ของจำเลยไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสอง ดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา358ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ใช้รถแทรกเตอร์ดันเสาปูนซีเมนต์ล้มจำนวน5ต้นแต่จำเลยกระทำตามคำสั่งของน. โดยเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิทำได้การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาการที่จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเบิกความขัดแย้งกันมีพิรุธและขัดต่อเหตุผลไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้รถแทรกเตอร์ดันเสาปูนซีเมนต์ของโจทก์ร่วมล้มจำนวน5ต้นตามฟ้องกับอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก่อนได้รับคำร้องทุกข์การสอบสวนจึงไม่ชอบต้องห้ามมิให้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจะฟังได้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอยู่เช่นเดิมซึ่งไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ของจำเลยไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยกรณีจึงมิใช่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเท่ากับพิพากษาว่าอุทธรณ์ของจำเลยไม่อุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193วรรคสองดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาเดิมยังอยู่กินฉันสามีภริยาและไม่ถือว่าสิ้นสุด
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกันทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น3ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมืองเมียกลางนอกหรืออนุภรรยาและเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยาสำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึงหญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก2ประเภทก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยาแต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตามต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าบิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี2464ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง6คนและตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา5บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรสฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใดผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมาส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี2491ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน4คนแต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1452และมาตรา1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อน: การสมรสที่สองเป็นโมฆะเมื่อภริยาคนแรกยังคงเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวงส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้นดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2464ก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตาย เมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วการที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสิ้นผลเมื่อมีการก่อสร้างเสร็จและโอนขาย ทำให้ไม่ต้องเพิกถอน
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยให้จำเลยขนคนงานและสิ่งของนอกเหนือจากที่ตกเป็นของโจทก์ออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างแล้วในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ขนย้ายคนงานและสิ่งของออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างตามคำสั่งศาลชั้นต้นและโจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จและได้แบ่งแยกโฉนดโอนขายให้แก่บุคคลภายนอกแล้วดังนี้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมสิ้นผลบังคับไปโดยสภาพกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นตามฎีกาของจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสิ้นผลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางกายภาพ ทำให้ไม่ต้องเพิกถอนคำสั่ง
ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยให้จำเลยขนคนงานและสิ่งของนอกเหนือจากที่ตกเป็นของโจทก์ออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างแล้ว ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยได้ขนย้ายคนงานและสิ่งของออกไปจากบริเวณที่ก่อสร้างตามคำสั่งศาลชั้นต้น และโจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ และได้แบ่งแยกโฉนดโอนขายให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว ดังนี้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมสิ้นผลบังคับไปโดยสภาพ กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นตามฎีกาของจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7098/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การอ้างว่า จำเลยเข้าใจผิดว่าเจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนการวางหมายแก่จำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องและไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(1) ไม่ใช่คำสั่งที่ไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า: การแยกกันอยู่โดยสมัครใจต้องมีพฤติการณ์แสดงเจตนาชัดเจนของทั้งสองฝ่าย
โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่611แสดงว่าบ้านเลขที่611ดังกล่าวเป็นบ้านที่โจทก์และจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยกินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยาซึ่งต่อมาก็มีบุตรด้วยกัน1คนแม้ในระหว่างอยู่กินด้วยกันโจทก์ต้องเดินทางไปรับราชการในต่างจังหวัดและบางครั้งโจทก์และจำเลยได้ทะเลาะกันก็ตามโจทก์ก็ต้องกลับมากินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยเช่นปกติที่สามีภริยาพึงต้องปฏิบัติต่อกันแต่โจทก์กลับไปมีภริยาใหม่และไปอยู่กับภริยาใหม่ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียวจำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์การที่โจทก์ได้ส่งเงินให้บุตรและจำเลยไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ฉันสามีภริยามิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน3ปีอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)