คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล สระฏัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัย-ละเมิด: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมเมื่อประกันภัยจ่ายไม่คุ้ม
บริษัทประกันภัยที่โจทก์ที่ 3 เอาประกันภัยไว้จะชดใช้ราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 3 บางส่วน อันเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 3 ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัยแล้ว แต่ถ้าจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 3 ได้รับไปนั้นยังไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 3 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์ที่ 3 อยู่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับ ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับหลังเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อระงับ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และค่าขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นใหม่เป็นว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าใครเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดี ประเด็นที่กำหนดใหม่จึงไม่แตกต่างจากประเด็นเดิมและไม่ทำให้โจทก์ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศาลชั้นต้นมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลมีสิทธิปรับประเด็นข้อพิพาทได้หากไม่กระทบความเป็นธรรม
ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นใหม่เป็นว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าใครเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดี ประเด็นที่กำหนดใหม่จึงไม่แตกต่างจากประเด็นเดิมและไม่ทำให้โจทก์ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศาลชั้นต้นมีสิทธิกระทำได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7653/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ไม่เป็นยอมความ, การนำสืบพยานหลักฐานในคดีเช็ค
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยและ ศ.ทำไว้แก่โจทก์เพื่อยืนยันและรับสภาพหนี้ระบุว่า จำเลยขอทำการตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินมาชำระให้เสร็จตามจำนวนที่ลงในเช็คพิพาทภายใน 2 เดือน นับแต่วันทำหนังสือ เมื่อชำระเสร็จแล้วโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งอีกต่อไป หากไม่สามารถชำระได้อีกยินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีตามเช็คดังกล่าวได้ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง และ ศ.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวยินยอมสั่งจ่ายเช็คอีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นเช็คล่วงหน้าให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและตามเช็คดังกล่าว เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินได้ทันที บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะยังมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินคืนให้โจทก์เสร็จสิ้นก่อนโจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระเงินคืนแก่โจทก์ และเช็คที่ ศ.บุตรจำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ให้โจทก์ถูก ศ.แจ้งธนาคารให้ระงับการจ่ายเงิน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คฉบับพิพาทของโจทก์จึงยังไม่ระงับ
ในคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 226 มาตรา 227 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานไว้โดยเฉพาะแล้วการที่จำเลยนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย จำเลยย่อมนำสืบได้ แม้จะเป็นการนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเอกสารก็ตาม กรณีเช่นว่านี้จะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 94มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณีไม่มีการขาย: คำนวณจากจำนวนเงินที่ชนะคดี ไม่ใช่ราคาทรัพย์
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาความปรากฏว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ก่อนการก่อหนี้คดีนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยขอให้ศาลพิจารณาใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลย มีผลทำให้การยึดทรัพย์เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป แต่หาได้เป็นโมฆะไม่ โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่มีการขายให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในอัตราร้อยละ3.5 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ใช่ตามราคาทรัพย์ที่ยึดเพราะกรณีที่ให้ชำระตามราคาของทรัพย์ที่ยึดนั้นมีความหมายว่าราคาทรัพย์ที่ยึดหากขายได้ก็จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนหนี้ที่ต้องชำระตามคำพิพากษา หรือหากมีจำนวนมากกว่าก็ไม่มากเกินไปนัก เพราะมิฉะนั้นแล้วผู้นำยึดอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยึดโดยไม่เหมาะสมกับจำนวนหนี้ที่ผู้นำยึดจะได้รับจากการขายทรัพย์ที่นำยึดนั้นจึงกำหนดให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีที่ยึดแล้วไม่มีการขายในอัตราร้อยละ 3.5 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะคดีในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน่วยการขนส่งทางทะเล: การคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.รับขนฯ โดยเทียบหน่วยการขนส่งและน้ำหนัก
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3บัญญัติคำนิยามคำว่า "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้าไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และคำว่า"หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง และแต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อัน หรือหน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น สินค้าพิพาทบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกและมีเชือกรัดปากถุงไว้ และบรรจุอยู่ในถังกระดาษไฟเบอร์มีฝาเหล็กปิดโดยรอบแล้วใช้นอตขันห่วงให้ยึดไว้ แต่ละถังบรรจุของหนัก 25 กิโลกรัม รวม 375 ถัง บรรจุรวมอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์เดียว และตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.2 หรือล.2 ในช่อง "คำพรรณนาสินค้า" ระบุว่า ตู้คอนเทนเนอร์ 1x20 ฟุตบรรจุอาหารสัตว์ 375 ถัง ฯลฯ จึงเป็นการแสดงว่าแต่ละถังที่บรรจุสินค้าคือยารักษาไก่ มีสภาพสามารถทำการขนส่งไปตามลำพังได้ จึงถือว่า แต่ละถังที่บรรจุสินค้าพิพาทเป็น"หนึ่งหน่วยขนส่ง" ตามคำนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าพิพาทดังกล่าวถือเป็นภาชนะขนส่ง การคำนวณค่าเสียหาย ที่จำเลยจะต้องรับผิดจึงต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 58 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 59(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินค่าเสียหายโดยใช้หน่วยการขนส่งของสินค้าพิพาทเป็นหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณจะมากกว่าจำนวนเงินค่าเสียหายโดยใช้น้ำหนักแห่งสินค้าพิพาทเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนเงินที่มากกว่าตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิใช้ทางสาธารณะ การรื้อถอนสิ่งกีดขวาง และขอบเขตการคิดค่าเสียหาย
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นเวลาพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าเสียหายในคดีละเมิด: ศาลแก้ไขค่าเสียหายให้ตรงตามที่ฟ้องได้ แม้ไม่มีการฎีกา
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง 30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535 เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
of 72