คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล สระฏัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดที่ดินตัดสิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้ขออายัด แม้มีข้อตกลงระหว่างคู่กรณี
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้ว การอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 228/2530 ข้อ 12 (2) ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัด แต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส.ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 425/2531 นั้น ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เท่านั้น ดังนั้นหาก ส.ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดี และปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ ส. ส.ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ ซึ่งจะทำให้ ส.ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินกระทบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจปฏิเสธการจดทะเบียนได้
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตามประมวลที่ดินมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่228/2530ข้อ12(2)ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัดแต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส. ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่425/2531นั้นข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก.เท่านั้นดังนั้นหากส. ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดีและปรากฎว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ส. ส. ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ซึ่งจะทำให้ส. ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินตัดสิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้มีส่วนได้เสียและป้องกันความเสียหาย
เจตนารมณ์ของการอายัดที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดินมิให้ได้รับความเสียหายเกินกว่าจำเป็นเพราะถ้าไม่มีการอายัดและปล่อยให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้เรื่อยๆไปผู้มีส่วนได้เสียอาจต้องฟ้องร้องเจ้าของที่ดินและผู้รับโอนต่อๆไปถ้าชนะคดีก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายอีกมากการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นดังนั้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฎิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ให้แก่ก. ได้เพราะส. ได้ขออายัดที่ดินพิพาทต่อจำเลยที่2โดยอ้างสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทกับเจ้าของที่ดินและอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของที่ดินให้จดทะเบียนการให้เช่าต่อไปตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนรถยนต์ที่ทำไปโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2โดยไม่สุจริตจำเลยที่1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะคำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่1กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนรถยนต์ที่จำเลยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะ คำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่า โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา แม้ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ดังนี้ แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอก ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้ หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่ (หมายเหตุ : ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ชดใช้เงินในคดีอาญา แม้ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43ดังนี้แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอกศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่ (หมายเหตุ:ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ชดใช้เงิน แม้คดีอาญาไม่เข้าข่ายความผิด
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43ดังนี้ แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอก ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้ หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่(หมายเหตุ : ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้ แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75/76 และข้อจำกัดในการฎีกาคดีที่ศาลอุทธรณ์แก้โทษเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองฐานพยายามฆ่าคนละ10ปีฐานมีอาวุธปืนคนละ2ปีฐานพาอาวุธปืนคนละ2ปีศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่1อายุ18ปีและจำเลยที่2อายุ17ปีให้ลดมาตราส่วนโทษของจำเลยทั้งสองลงกึ่งหนึ่งฐานพยายามฆ่าจำคุกคนละ5ปีฐานมีอาวุธปืนคนละ3เดือนฐานพาอาวุธปืนคนละ6เดือนเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค2แก้โทษจำเลยทั้งสองโดยลดมาตราส่วนโทษให้เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน5ปีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษตามกฎหมายแล้ว และโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้นแล้วแก้โทษจำเลยทั้งสองโดยลดมาตราส่วนโทษให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา75และมาตรา76เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงละไม่เกิน5ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก
of 72