คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล สระฏัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการยึดทรัพย์และการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ศาลพิจารณาตามหลักประมาทเล negligence และกำหนดค่าเสียหายตามสมควร
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา (จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้ จ. เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว"ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุกตุ๊กตาจีนและแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัท ว. โดยได้วางเงินมัดจำไว้2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตามกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า, และขอบเขตอำนาจศาลในการบังคับคดี
แม้ในสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท ข้อ 1 ระบุว่า "...ผู้ให้สัญญา(จำเลย) ยินยอมให้ผู้รับสัญญา (โจทก์) ขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากห้องเช่าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2531 โดยผู้ให้สัญญาได้ให้ค่าตอบแทนในการขนย้ายให้กับผู้รับสัญญาเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ในวันที่ทำสัญญานี้ โดยมอบให้จ.เป็นผู้เก็บรักษาไว้และจะมอบให้ผู้รับสัญญาเมื่อได้ส่งมอบห้องเช่าทั้งสามห้องคืนให้ผู้ให้สัญญาแล้ว" ก็ตาม แต่ในข้อ 5 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงดำเนินการตามข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531 หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก" แสดงว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเวลาตามข้อ 1 ไม่ใช่ข้อตกลงเด็ดขาด คงเป็นข้อตกลงในหลักการเบื้องต้นเท่านั้น แต่ข้อตกลงในข้อ 5 เป็นข้อตกลงที่เด็ดขาดว่าคู่สัญญาจะดำเนินการตามข้อตกลงนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2531หากพ้นกำหนดนี้จึงให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ดังนั้น โจทก์ย่อมนำสืบได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาจากข้อ 1 จนถึงข้อ 5 แล้ว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องและไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาตกลงระงับข้อพิพาท
โจทก์ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ มุก ตุ๊กตาจีน และแจกันลายคราม การที่โจทก์ได้ติดต่อซื้อรถสามล้อเครื่องจำนวน 50 คัน จากบริษัทว.โดยได้วางเงินมัดจำไว้ 2,500,000 บาท ซึ่งเป็นกิจการที่ไม่อยู่ในกิจการค้าขายของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารทำให้โจทก์ไม่สามารถชำระเงินให้ผู้ขายรถสามล้อเครื่องจนผู้ขายริบมัดจำและทำให้โจทก์ขาดรายได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่องก็ตาม กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดเแก่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยผู้ให้เช่าได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามที่โจทก์อ้าง
แม้ตามฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกริบมัดจำและขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่ารถสามล้อเครื่อง ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาในความเสียหายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ถูกยึดก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์กล่าวด้วยว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถว กล่าวคือโจทก์ต้องสูญเสียความเชื่อถือจากธนาคารโดยไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารตามที่โจทก์ต้องการได้ ดังนี้พอถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะจำเลยทั้งสองยึดที่ดินและตึกแถวของโจทก์ ทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งค่าเสียหายนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยใช้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 222
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจัดการถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์หากจำเลยไม่ยอมถอนการยึดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเมื่อการบังคับคดีดังกล่าวเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอในคดีนี้ให้บังคับจำเลยร่วมกันถอนการยึดทรัพย์ที่จำเลยนำยึดในคดีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6970/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนอง: ยอดหนี้ถูกต้องตามแจ้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุหนี้ในประกาศขายทอดตลาดได้
การที่จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดไปจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ไว้แก่ธนาคารทหารไทยเมื่อปี 2530 เป็นเงิน 62,000,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทโดยวิธีติดจำนองโดยระบุหนี้จำนอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2537จำนวน 132,918,356.17 บาท ตามที่ธนาคารทหารไทยแจ้งยอดหนี้มานั้น เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หากยอดหนี้ดังกล่าวไม่ถูกต้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมสามารถตรวจสอบยอดหนี้กับธนาคารทหารไทย และร้องคัดค้านได้ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้คัดค้านแต่อย่างใดจึงน่าเชื่อว่ายอดหนี้ที่แจ้งมาเป็นหนี้และดอกเบี้ยที่คิดคำนวณถูกต้องและโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุยอดหนี้จำนองไว้ในประกาศขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาทโดยวิธีติดจำนองแจ้งแก่บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาประมูลซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดทราบก็เพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกนั่นเอง จึงเป็นการกระทำที่ถูกต้องและสมควรแล้ว ไม่ต้องไต่สวนเกี่ยวกับยอดหนี้จำนองตามคำร้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6404/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการวางทรัพย์และการถอนการบังคับคดี การชำระหนี้ครบถ้วนสมบูรณ์ย่อมยุติการบังคับคดี
คำบังคับที่ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาที่ให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ชำระหนี้เอง หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์ย่อมร้องขอให้ใช้วิธีการบังคับยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสองได้ และแม้จำเลยไม่ชำระหนี้จนพ้นกำหนดตามคำบังคับและ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เข้ายึดทรัพย์สินแล้วก็ไม่ปิดทางให้จำเลยทั้งสองยอมชำระหนี้ด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยที่ 1ยอมส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อเจ้าพนักงานวางทรัพย์ ย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ไม่ต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไป ไม่มีเหตุที่โจทก์จะปฏิเสธการรับรถยนต์ ผลคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้สองรายการ คือ คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ ราคากับจำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายจำนวนหนึ่งการบังคับคดีโจทก์ต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นอันดับแรก และยึดทรัพย์สินอื่นเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้เงินตามรายการหลัง โจทก์ไม่ได้นำยึดรถยนต์เพียงแต่นำยึดที่ดินเพื่อหวังขายทอดตลาดชำระหนี้เงิน ต่อมาจำเลยที่ 1นำรถยนต์ไปคืนให้โจทก์โดยวางต่อเจ้าพนักงานวางทรัพย์ ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้รถยนต์แล้ว ข้อที่ว่าหากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาจึงไม่เกิดขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายพร้อมค่าธรรมเนียมไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางแม้เป็นการชำระหนี้หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ก็ไม่มีเหตุที่จะขายทอดตลาดทรัพย์ต่อไปอีก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์-รับของโจร: การถอนฟ้องคดีอาญาไม่กระทบความผิดฐานรับของโจร
ช.เช่ารถยนต์ของผู้เสียหายไปขับแล้วไม่ส่งคืนโดยเจตนาจะนำไปขาย เป็นความผิดฐานยักยอก ต่อมาผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ช.ฐานยักยอกทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ช.ย่อมระงับไป ส่วนความผิดฐานยักยอกยังคงอยู่จำเลยรับรถยนต์ไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของร้าย มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์และการรับของโจร: แม้ถอนฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก สิทธิฟ้องฐานรับของโจรยังคงมีอยู่
ช.เช่ารถยนต์ของผู้เสียหายไปขับแล้วไม่ส่งคืนโดยเจตนาจะนำไปขาย เป็นความผิดฐานยักยอก ต่อมาผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ช.ฐานยักยอกทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ช. ย่อมระงับไป ส่วนความผิดฐานยักยอกยังคงอยู่จำเลยรับรถยนต์ไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของร้าย มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินในการบังคับคดีและการร้องขอแยกขายทรัพย์ ศาลไม่อาจสั่งให้ประเมินราคาใหม่หรือแยกขายทรัพย์ได้หากมิได้ร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วทำบัญชีรายละเอียดแสดงทรัพย์สินที่ยึดไว้พร้อมทั้งประเมินราคาทรัพย์สินด้วยนั้น การประเมินราคาทรัพย์สินนี้เป็นเพียงการประมาณราคาตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง และไม่มีหลักเกณฑ์ ใดผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้จึงยังไม่เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้อง ต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้โดยจะใช้วิธีแยกขายทีละสิ่ง แยกขายเป็นตอน ๆ หรือวิธีขายตามลำดับของทรัพย์สินเป็นวิธีการของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 เมื่อจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยวิธีแยกขายทีละสิ่ง จำเลยอาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอจำเลยจึงจะเกิดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่งมาตรา 309 วรรค 2 เมื่อจำเลยมิได้ร้องขอหรือคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอแยกทรัพย์ขาย จึงยังไม่เกิดสิทธิที่จำเลยจะร้องขอต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินบังคับคดีและการร้องขอแยกขายทรัพย์สิน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิร้องขอให้เป็นไปตามราคาประเมิน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วทำบัญชีรายละเอียดแสดงทรัพย์สินที่ยึดไว้พร้อมทั้งประเมินราคาทรัพย์สินด้วยนั้นการประเมินราคาทรัพย์สินนี้เป็นเพียงการประมาณราคาตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง และไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้จึงยังไม่เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้นใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้โดยจะใช้วิธีแยกขายทีละสิ่ง แยกขายเป็นตอน ๆ หรือวิธีขายตามลำดับของทรัพย์สินเป็นวิธีการของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะทำการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา309 เมื่อจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยวิธีแยกขายทีละสิ่ง จำเลยอาจร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอ จำเลยจึงจะเกิดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่งมาตรา 309 วรรค 2 เมื่อจำเลยมิได้ร้องขอหรือคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอแยกทรัพย์ขาย จึงยังไม่เกิดสิทธิที่จำเลยจะร้องขอต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองและการเสพเป็นความผิดสองกรรม แม้ใช้เฮโรอีนจำนวนเดียวกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเฮโรอีนจำนวน 1 หลอดฉีดยาไว้ในครอบครอง และจำเลยได้เสพเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวนั้นโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันจึงเป็นกรณีที่โจทก์ ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่ารับว่าได้กระทำความผิดทั้งสองกรรมซึ่งเป็นความผิดต่างฐานกันตามฟ้อง แม้เฮโรอีนที่มีและใช้เสพเป็นจำนวนเดียวกันก็ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสองกรรม หาใช่เป็นกรรมเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรู้เห็นเป็นใจในการเล่นการพนันของผู้แทน: ผู้ร้องต้องรับผิดชอบการกระทำของจำเลย
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้ร้องโดยเป็นผู้จัดการดูแลเก็บผลประโยชน์สามารถกระทำการแทนผู้ร้องได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ร้องจัดให้มีการเล่นบิลเลียดพนันเอาทรัพย์สินโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการเล่นการพนันดังกล่าว ผู้ร้องจะอ้างว่าจำเลยได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจที่ผู้ร้องได้มอบหมายให้ไม่ได้ และคดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียดพนันเอาทรัพย์สินโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง และปรากฏในบันทึกการจับกุมว่า ชั้นจับกุมได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นบิลเลียด(สนุกเกอร์) เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่ได้รับอนุญาตของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
of 72