คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล สระฏัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 717 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะ แม้มีข้อกำหนดขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ หากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืน เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับแต่อย่างใดไม่ ส่วนค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดนอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น" เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 7 ก. และข้อ 8 ขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ข้อ 3(7)ก. ที่ออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เพราะตามประกาศดังกล่าวได้กำหนดไว้ว่าจะต้องระบุในสัญญาเช่าซื้อว่า การที่จะถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจะต้องผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติด ๆ กัน และให้ผู้ให้เช่าซื้อต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าซื้อให้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ติดค้างภายใน 30 วัน หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระ ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่ก็แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่า ในชั้นแรกหากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืนข้อกำหนดในการเลิกสัญญา เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้ หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับไม่
สำหรับค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัด นอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น ข้อสัญญาข้อนี้เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช่นกัน
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่า "กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กัน บริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาเช่าซื้อ ริบบรรดาเงินที่ได้รับชำระแล้ว และกลับเข้าครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อได้ต่อเมื่อบริษัทเงินทุนมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น" ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และตามมาตรา 70แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ได้กำหนดโทษปรับในการฝ่าฝืน มาตรา 31 ไว้ด้วยจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระรวม 6 งวด ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และบอกเลิกสัญญาจึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลยกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOKเป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆหลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษ ดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษ ว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊กส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOKRREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาวหรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัวและดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทยซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOKเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่า COOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่นซอสต่างๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำ 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลไม่ถือว่าเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่ของโจทก์ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกัน โดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่ากุ๊กพรีเมียม หรือ COOKPREMIUM ด้วย แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อนส้อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด
แม้จำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊กเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืช ส่วนของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลตัดสินว่าไม่มีการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้ รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOK PREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVE STARSCOOK และมีรูปชาม ช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVE STARS COOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใดแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่าCOOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆ เต้าเจี้ยวและเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าไม่ชัดเจน ศาลไม่อาจวินิจฉัยตามคำท้าได้ การวินิจฉัยนอกประเด็นที่ท้ากันเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษา
คำท้ามีว่าหาก ส.เบิกความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์จำเลยยอมแพ้ หาก ส.เบิกความว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ แต่คำเบิกความของ ส. มิได้เบิกความว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงรับฟังไม่ได้ว่าส.เบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลย่อมไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามคำท้าของโจทก์จำเลยดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยถือเอาข้อเท็จจริงอื่นซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อท้าของคู่ความมาวินิจฉัยนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยอมแพ้ตามคำท้า: ศาลต้องวินิจฉัยตามคำท้าเท่านั้น
คำท้ามีว่าหาก ส.เบิกความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยยอมแพ้ หาก ส.เบิกความว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ยอมแพ้ แต่คำเบิกความของ ส.มิได้เบิกความว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงรับฟังไม่ได้ว่า ส.เบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลย่อมไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามคำท้าของโจทก์จำเลยดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยถือเอาข้อเท็จจริงอื่นซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อท้าของคู่ความมาวินิจฉัยนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิโอนได้และผลของการบอกกล่าว
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัท ง.จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสองส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง.ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคแรกเมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 306วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง.กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง.โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง.มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าซื้อ การบอกกล่าวการโอนสิทธิ และข้อตกลงการโอนสิทธิโดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัทง. จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง. ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคแรก เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง. กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง. โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง. มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน โดยมีข้อตกลงล่วงหน้าและบอกกล่าวการโอนสิทธิ
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัทง. จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง. ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคแรก เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง. กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง. โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง. มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก
of 72