พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ศาลยืนโทษจำคุกไม่รอลงโทษ
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงบนถนนที่ลื่นเพราะผิวจราจรเปียกและมีเศษดินตกอยู่ทั่วไปแล้วแซงรถยนต์คันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนชนรถที่แล่นสวนทางมาเป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเมื่อเป็นเหตุให้ผู้ขับและผู้ที่โดยสารอยู่ในรถที่แล่นสวนทางมาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับอันตรายสาหัส 4 คน และถึงแก่ความตายในวันเกิดเหตุ 4 คน โดยที่ผู้ได้รับอันตรายสาหัสรายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นกะโหลกศีรษะแตกร้าวมีเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองและตับแตก จึงสมควรที่จะต้องลงโทษจำเลยในสถานหนัก ส่วนการที่จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแต่เพียงบางส่วนและช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายผู้เสียหายและโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 นั้น พอถือเป็นเหตุปรานีให้รับโทษสถานเบาได้ แต่ไม่อาจถือเป็นเหตุรอการลงโทษให้ได้เพราะไม่อาจชดเชยกับความสูญเสียและความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เกิดแก่บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติพี่น้องของผู้ตายและผู้ได้รับบาดเจ็บได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีการแบ่งแยกที่ดิน ศาลยังคงมีอำนาจบังคับตามสัญญาเดิมได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครั้งแรกว่า ศาลชั้นต้นชอบที่จะต้องไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์ทั้งสี่ให้ได้ความเสียก่อนว่าเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ทั้งสี่หรือไม่อย่างไรหากฟังได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 และ 43799เป็นที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย และจำเลยยังไม่ได้ขายเพื่อนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่และทายาทภายในกำหนดสัญญา โจทก์ทั้งสี่ก็ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้และพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นครั้งแรก ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสี่แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ทั้งสี่และจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จึงถึงที่สุด ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้ไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์ทั้งสี่และมีคำสั่งใหม่แล้วดังนี้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสี่จะสามารถอ้างสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม เพราะเหตุมีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 ออกเป็นแปลงย่อยหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกแล้วว่าโจทก์ทั้งสี่สามารถบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมได้ จำเลยจึงไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาได้อีก ในชั้นบังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตามที่เป็นจริงได้ แม้โจทก์และจำเลยจะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 โดยจำเลยคงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 และ 43799 ให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละหนึ่งในหกส่วนก็ตาม แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 43798เป็นที่ดินที่แยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5826 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้ และโจทก์ทั้งสี่ได้แก้ฎีกาว่าที่ดินทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 ด้วย ดังนั้นศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 43798 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่เคลือบคลุมของฟ้องอาญาและการสั่งแก้ฟ้องเพื่อตรวจสอบอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2536 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม2536 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับ ป. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญา โจทก์เพิ่งทราบความจริงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2537"เป็นคำฟ้องที่ระบุวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วและจำเลยทั้งสองก็นำสืบต่อสู้คดีโจทก์ไว้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาได้ดีโดยมิได้หลงต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วันที่รู้เรื่องความผิดไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดและไม่ใช่รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งในชั้นตรวจคำฟ้องแม้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องได้
วันที่รู้เรื่องความผิดไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดและไม่ใช่รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งในชั้นตรวจคำฟ้องแม้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของแขกที่สูญหาย แม้ไม่ได้แจ้งทรัพย์สินไว้กับโรงแรม และข้อจำกัดความรับผิดที่เป็นโมฆะ
น.นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยและรถยนต์คันดังกล่าวได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อ น. ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 674 แม้ น. จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยก็ตาม แต่เมื่อ น.ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์ของตนหายไปก็ได้แจ้งแก่ ว.ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้ง น.ก็ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กรณีถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 676 แล้ว ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลยและในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย"อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ของผู้เข้าพัก และขอบเขตการยกเว้นความรับผิด
น. นำรถยนต์มาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลย และรถยนต์ได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 674 แม้ น. จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์มาจอดไว้ก็ตาม แต่เมื่อ น. ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์หายไปก็ได้แจ้งแก่ ว. ผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้ง น. ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 676 แล้ว ส่วนที่ใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย ในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตรซึ่งอาจเกิดสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลย และเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าว ข้อความเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมรับผิดชอบทรัพย์สินสูญหาย แม้ผู้เสียหายมิได้แจ้ง แต่แจ้งทันทีที่ทราบ และเอกสารยกเว้นความรับผิดทำขึ้นฝ่ายเดียวเป็นโมฆะ
น.นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยและรถยนต์คันดังกล่าวได้หายไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อ น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 674 แม้ น.จะมิได้แจ้งให้พนักงานของจำเลยทราบว่าได้นำรถยนต์คันเกิดเหตุมาจอดไว้ในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมจำเลยก็ตาม แต่เมื่อ น.ทราบแน่ชัดว่ารถยนต์ของตนหายไปก็ได้แจ้งแก่ ว.ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมจำเลยทราบในทันที ทั้งน.ก็ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กรณีถือได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าสำนักโรงแรมทราบทันทีตาม ป.พ.พ.มาตรา 676 แล้ว
ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย และในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น.ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยตามเอกสารซึ่งเป็นเพียงใบกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ของผู้เข้าพักโรงแรมจำเลย และในตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ไว้ว่า "โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งมีค่าหรือธนบัตร ซึ่งอาจเกิดการสูญหาย..." อันเป็นการยกเว้นความรับผิดของจำเลยนั้น เอกสารดังกล่าวจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว และไม่ปรากฏว่า น.ได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยดังกล่าวด้วย ข้อความในเอกสารเช่นนี้จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 677 จำเลยจึงยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้ แม้สำเนาไม่มีอากรแสตมป์ ศาลรับฟังได้หากเนื้อหาถูกต้อง
สำเนาสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับไปจากเจ้าพนักงานศาลมีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับกู้เงินเอกสารหมายจ.2และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องจึงเป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ยื่นโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90วรรคหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้สำเนาสัญญากู้เงินจะไม่มีสำเนาอากรแสตมป์ติดอยู่ก็ไม่ทำให้เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ส่งสำเนาสัญญากู้เงินโดยชอบแล้วศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมายจ.2เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้: สำเนาถูกต้องตามกฎหมาย แม้ไม่มีอากรแสตมป์
สำเนาสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับไปจากเจ้าพนักงานศาลมีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับกู้เงินเอกสารหมาย จ.2 และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง จึงเป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ยื่นโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้สำเนาสัญญากู้เงินจะไม่มีสำเนาอากรแสตมป์ติดอยู่ก็ไม่ทำให้เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ส่งสำเนาสัญญากู้เงินโดยชอบแล้วศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2 เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นสำเนาสัญญากู้เงินเป็นหลักฐานในศาล: ความชอบด้วยกฎหมายและการรับฟังพยานหลักฐาน
สำเนาสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับไปจากเจ้าพนักงานศาลมีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2 และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง จึงเป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ยื่นโดยชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้สำเนาสัญญากู้เงินจะไม่มีสำเนาอากรแสตมป์ติดอยู่ก็ไม่ทำให้เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ส่งสำเนาสัญญากู้เงินโดยชอบแล้วศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2 เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ และผลของการไม่ขออนุญาตศาล
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่