คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล รางชางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการหลุดจำนอง: สัญญาโอนใช้ได้หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือผู้ใช้อำนาจปกครองทำแทนโดยถูกต้อง
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินของผู้เยาว์: ผลสมบูรณ์เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายและศาลไม่อนุญาต
ป.พ.พ. มาตรา 1546 (บรรพ 5 เดิม), 1574
ในช่วงที่ ผ.ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ.ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546 (1) ถึง (8) แต่อย่างใดดังนั้น การที่ ผ.ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ.แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2ในขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 1546 (1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ.ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ.ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088 ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดีที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบ โจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษจำคุกเป็นเดือนหรือปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง 360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 21(2) ที่กำหนดเป็นเดือนหรือปี
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อ ป.อ.มาตรา 21วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง: การกำหนดโทษเป็นเดือนหรือปี
ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 4 เดือน จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 28 เดือน เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้าระยะเวลาที่คำนวณนั้นกำหนดเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือนถ้ากำหนดเป็นปี ให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการ ฉะนั้น ในกรณีกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนในส่วนที่เมื่อรวมกันถึง 12 เดือน ก็จะคิดคำนวณวันที่จำคุกเพียง 360 วัน แต่ถ้าถือว่าการลงโทษจำคุก 12 เดือน เป็นกำหนดโทษจำคุก 1 ปี แล้วจะคิดคำนวณวันที่จำคุกได้ถึง 365 วัน หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยดังนี้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกจำเลยเป็นเดือนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำให้การเกินกำหนด ทำให้โจทก์เสียเปรียบและต้องรับผิดในสัญญา
จำเลยในฐานะทนายความของโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำคำให้การแทนโจทก์ และต้องยื่นให้ทันภายในกำหนดเวลายื่นคำให้การ เมื่อจำเลยนำคำให้การมายื่นเมื่อพ้นระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว ทั้งมิได้ดำเนินการเพื่อขออนุญาตยื่นคำให้การ ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการดำเนินคดีอย่างยิ่งถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และถึงแม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยมีเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่คดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หรือพิสูจน์เหตุสุดวิสัยที่ชัดเจน
จำเลยกล่าวอ้างมาในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมตลอดถึงการแจ้งวันนัดพิจารณาและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่ดังที่โจทก์ระบุในฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับหมายดังกล่าว และไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณาแม้กรณีตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะจำเลยทั้งสองเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า เพิ่งจะทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อใดและจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ในคดีล้มละลาย จำเลยต้องแสดงเหตุการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุมและระยะเวลาที่ทราบเรื่อง
จำเลยกล่าวอ้างมาในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีล้มละลาย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมตลอดถึงการแจ้งวันนัดพิจารณาและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่ดังที่โจทก์ระบุในฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับหมายดังกล่าว และไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีจำเลยทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา แม้กรณีตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะจำเลยทั้งสองเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า เพิ่งจะทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อใด และจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา208 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นที่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่ งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538 เป็นต้นไปมิใช่กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นซึ่งมีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538เป็นต้นไป จึงมิใช่ได้กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 99
of 96