คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล รางชางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์สัญญา และความรับผิดของผู้ค้ำประกันเพียงผู้เดียว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง 200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การเนื่องจากความเข้าใจผิดและข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท กรณีหลงเชื่อคำหลอกลวง
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆ ต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น หาใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในการเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่ ผู้ค้ำประกันจึงเพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ดังนี้เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ ส.ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม แล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ส.ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คดีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะต้องฟ้องร้องภายกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ และมีระยะเวลาฟ้องร้องหลังลูกหนี้เสียชีวิต
ผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาของลูกหนี้เพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อกองมรดกของลูกหนี้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจช่วง: การกำหนดจำนวนอากรแสตมป์สำหรับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแพ่ง
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งระบุข้อความว่า "...ขอมอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส. ...เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องช. ที่ 1 ว. ที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในข้อหาหรือฐานความผิดเรื่องสัญญากู้ยืมเงินเบิกเงินเกินบัญชี (บัญชีเดินสะพัด) สัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกัน บังคับจำนำ บังคับจำนอง ตั๋วเงิน เรียกดอกเบี้ยค้าง เรียกค่าเสียหาย เบี้ยปรับ และค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการผิดสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัท และให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีและแก้ต่างคดีของบริษัท ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีภาษีอากร และคดีล้มละลาย มีอำนาจทวงถาม บอกกล่าวจำนอง ดำเนินการบังคับจำนอง ตลอดจนดำเนินการใด ๆ ในชั้นบังคับคดีจนเสร็จการ ขอรับเงินหรือเอกสารจากศาลหรือองค์การของรัฐตลอดจนคู่ความ รวมทั้งให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาไปในทางจำหน่ายสิทธิของบริษัทได้ เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ การมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจมอบอำนาจช่วงต่อไปให้บุคคลอื่นเข้ากระทำการแทนอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างหรือทุกอย่างตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจนี้..." ดังนี้ ข้อความที่ว่า...มอบอำนาจช่วงให้ พ. และ/หรือ ส.เป็นผู้ดำเนินคดีแพ่งฟ้องร้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้กับมีข้อความอื่นตามที่ระบุข้างต้นนั้น เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท มิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์คนละ 30 บาท เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนบริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ร่วมของห้างหุ้นส่วน และการจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องรับผิดในหนี้สินร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. เป็นหนี้แก่โจทก์เป็นเงินทั้งสิ้น 190,000 บาทเศษ โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ทั้งหมดดังกล่าวได้
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดหลังเสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี ศาลมีอำนาจจัดการทรัพย์มรดก
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดหลังเสียชีวิต: ศาลจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายล้มละลาย
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14ดังโจทก์ฎีกาขอมาได้ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84
of 96