คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล รางชางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก: คำพิพากษาไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47กำหนดภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวแยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของนักโทษ: ความแตกต่างระหว่างการจำคุกตามคำพิพากษาและคำสั่ง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีนั้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก: คำพิพากษาไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาที่เรือนจำ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่ เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีนั้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุก: จำคุกตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาที่เรือนจำ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีนั้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวแต่คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามกฎหมายล้มละลาย พิจารณาจากสถานที่อยู่จริงในช่วงเวลาที่ประกาศโฆษณา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้น หมายถึงเจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญ ไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ ณ ที่ใด ดังนี้ เมื่อในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักร แม้ขณะนั้นผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตาม กรณีก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในไทยช่วงประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ได้รับการขยายเวลาขอรับชำระหนี้
เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา91วรรคหนึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ณที่ใดเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักรแม้ผู้ร้องจะมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตามก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร พิจารณาจากสถานที่อยู่จริงในช่วงประกาศรับชำระหนี้ ไม่ใช่ภูมิลำเนา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้น หมายถึงเจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญ ไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ ณ ที่ใด ดังนี้ เมื่อในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักร แม้ขณะนั้นผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตาม กรณีก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณา 'เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา91วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้นหมายถึงเจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ณที่ใดดังนี้เมื่อในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักรแม้ขณะนั้นผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตามกรณีก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การรับมอบงานโดยปริยาย, การชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวด, และการไม่ถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ
นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ทำงานถึงปีเศษแต่ยังไม่เสร็จสิ้นแล้วโจทก์ก็ละทิ้งงาน จำเลยจึงหาช่างมาดำเนินการต่อ ดังนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรับมอบงานในส่วนที่โจทก์ทำไปแล้วโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างในการก่อสร้างในส่วนดังกล่าว และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนที่จะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ตรงตามระยะเวลาในสัญญา เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าจ้างว่าจำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์งวดละ 200,000 บาทงวดสุดท้ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์เฉพาะในงวดที่ 3,4 และ 5 งวดละ 100,000 บาทโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างไม่ครบตามรายการสัญญาและแม้เป็นความจริงว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบรายการตามสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาคงทำงานให้จำเลยต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ตามสัญญาจ้างมิได้ระบุวันเริ่มต้นทำการงานกันไว้คงระบุเพียงให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน แต่โจทก์ทำงานไม่เสร็จในระยะดังกล่าว และจำเลยยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาทำงานให้เสร็จเป็นสำคัญจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินค่าจ้างจากการก่อสร้าง แม้จะยังไม่เสร็จ และการไม่ถือว่าผิดสัญญา แม้เลยกำหนด
นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ทำงานถึงปีเศษแต่ยังไม่เสร็จสิ้น แล้วโจทก์ก็ละทิ้งงาน จำเลยจึงหาช่างมาดำเนินการต่อ ดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรับมอบงานในส่วนที่โจทก์ทำไปแล้วโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างในการก่อสร้างในส่วนดังกล่าว และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนที่จะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ตรงตามระยะเวลาในสัญญา เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าจ้างว่าจำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์งวดละ 200,000 บาท งวดสุดท้ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์เฉพาะในงวดที่ 3, 4 และ 5 งวดละ 100,000 บาทโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างไม่ครบตามรายการสัญญา และแม้เป็นความจริงว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบรายการตามสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาคงทำงานให้จำเลยต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
ตามสัญญาจ้างมิได้ระบุวันเริ่มต้นทำการงานกันไว้ คงระบุเพียงให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน แต่โจทก์ทำงานไม่เสร็จในระยะดังกล่าว และจำเลยยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาทำงานให้เสร็จเป็นสำคัญ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่นกัน
of 96