พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวมและการพิพากษาตามข้อตกลงของคู่ความ ศาลสามารถงดสืบพยานและพิพากษาตามที่ตกลงกันได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่ วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่ วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็น การเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติไว้ได้ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้าน อยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดิน พิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจ ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนว แผนที่วิวาทดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวมจำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอ บังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานเพียงพอ และการแบ่งทรัพย์สินรวมโดยอาศัยแผนที่ที่คู่ความรับรอง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5460/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากการรวมหนี้กู้ยืมเดิมเข้ากับหนี้จำนอง ทำให้หนี้เดิมระงับ
โจทก์จำเลยตกลงให้นำหนี้เงินกู้จำนวน 80,000 บาทตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทมารวมเป็นหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 200,000 บาท ตามสัญญาจำนอง และต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้ ตามสัญญาจำนองดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนกับจดทะเบียน ไถ่จำนองตามกฎหมายแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสิ่ง ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 ทำให้หนี้ตาม สัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป เมื่อหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว ระงับไปโดยผลของการแปลงหนี้ใหม่ มิใช่ระงับไปเพราะการใช้เงิน จำเลยจึงไม่จำต้องนำสืบถึงหลักฐานการใช้เงินกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5460/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้เดิมระงับ การไม่ต้องแสดงหลักฐานการกู้ยืม
โจทก์จำเลยตกลงให้นำหนี้เงินกู้จำนวน 80,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทมารวมเป็นหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 200,000 บาท ตามสัญญาจำนอง และต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนกับจดทะเบียนไถ่จำนองตามกฎหมายแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349 ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นอันระงับไป เมื่อหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวระงับไปโดยผลของการแปลงหนี้ใหม่ มิใช่ระงับไปเพราะการใช้เงิน จำเลยจึงไม่จำต้องนำสืบถึงหลักฐานการใช้เงินกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิและการหมิ่นประมาท: การฟ้องเพิกถอนการให้และการประพฤติเนรคุณ
คำบรรยายฟ้องของจำเลยตามสำเนาคำฟ้องมีใจความว่าโจทก์ กับ ค. ร่วมกันฉ้อฉลและล่อลวงให้ พ. ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองขณะที่ พ. ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมดังกล่าวได้ โดยเฉพาะพ.ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ข้อความในพินัยกรรมจึงน่าจะเกิดจากอุบายของโจทก์กับ ค. เป็นผู้เขียนขึ้นแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่อำเภอเป็นผู้พิมพ์ แล้วจับมือ พ. ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว ทั้งโจทก์ยังหลอกลวง พ. ไปที่สำนักงานที่ดินให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต โดยเฉพาะก่อนที่ พ.จะถึงแก่กรรม 18 วัน โจทก์หลอกลวง พ. ไปที่สำนักงานที่ดินแล้วพูดจาข่มขู่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินของ พ. ให้แก่โจทก์ ตามที่จำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง และไม่เชื่อว่า พ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ เพราะขณะที่ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ดี พ.ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมและนิติกรรมดังกล่าวได้เมื่อกรณีไม่ใช่จำเลยรู้เห็นมาเองว่าข้อเท็จจริงเป็นดังคำบรรยายฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้อุบายหลอกลวงพ.ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและจับมือพ.ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว และโจทก์ไม่ได้หลอกลวง พ. ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องของจำเลยเป็นการแสดงเพื่อให้เห็นสิทธิของจำเลยและการประพฤติปฏิบัติของโจทก์ที่จำเลยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย คำบรรยายฟ้องของจำเลยดังกล่าวหาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณ ที่โจทก์เรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในพินัยกรรมและนิติกรรม การกระทำที่ไม่สุจริต และการประพฤติเนรคุณ
คำบรรยายฟ้องของจำเลยตามสำเนาคำฟ้องมีใจความว่าโจทก์ กับ ค.ร่วมกันฉ้อฉลและล่อลวงให้ พ.ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองขณะที่ พ.ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมดังกล่าวได้ โดยเฉพาะ พ.ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ข้อความในพินัยกรรมจึงน่าจะเกิดจากอุบายของโจทก์กับ ค.เป็นผู้เขียนขึ้นแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่อำเภอเป็นผู้พิมพ์ แล้วจับมือ พ.ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว ทั้งโจทก์ยังหลอกลวง พ.ไปที่สำนักงานที่ดินให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต โดยเฉพาะก่อนที่ พ.จะถึงแก่กรรม 18 วัน โจทก์หลอกลวง พ.ไปที่สำนักงานที่ดิน แล้วพูดจาข่มขู่เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินของ พ.ให้แก่โจทก์ ตามที่จำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง และไม่เชื่อว่า พ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ เพราะขณะที่ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ดี พ.ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมและนิติกรรมดังกล่าวได้ เมื่อกรณีไม่ใช่จำเลยรู้เห็นมาเองว่าข้อเท็จจริงเป็นดังคำบรรยายฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้อุบายหลอกลวง พ.ไปทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองและจับมือ พ.ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมดังกล่าว และโจทก์ไม่ได้หลอกลวง พ.ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องของจำเลยเป็นการแสดงเพื่อให้เห็นสิทธิของจำเลยและการประพฤติปฏิบัติของโจทก์ที่จำเลยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตามกฎหมาย คำบรรยายฟ้องของจำเลยดังกล่าวหาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณ ที่โจทก์เรียกถอนคืนการให้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4472/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาขู่เข็ญเพื่อหลบหนีต่อเนื่องจากการชิงทรัพย์ ถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
แม้ขณะที่จำเลยกระชากกระเป๋าถือของผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากจำเลยกระชากกระเป๋าถือของผู้เสียหายแล้วจำเลยได้วิ่งหนีไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งจอดอยู่ห่างจากที่ผู้เสียหายถูกกระชาก สร้อยเพียง 1 ถึง 2 เมตร เพื่อหลบหนี แต่ถูก ส.วิ่งไปผลักจนรถจักรยานยนต์ล้มลง จำเลยจึงชักอาวุธมีดออกมาจะแทงส. การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการวิ่งราวทรัพย์ ทั้งการที่จำเลยชักอาวุธมีดออกมาจะแทง ส.ทันทีที่ส. ผลักรถจักรยานยนต์ล้มลงนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาขู่เข็ญไม่ให้ ส. ขัดขวางการหลบหนี เพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเพื่อการพาทรัพย์ไป และแม้ ส. จะมิใช่ผู้เสียหายแต่เมื่อจำเลยกระทำโดยมีเจตนาดังกล่าวและการกระทำของจำเลยยังไม่ขาดตอนจากการกระชากกระเป๋าถือของผู้เสียหายถือได้ว่าจำเลยกระชากกระเป๋าถือผู้เสียหายโดยขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้พ้นจากการจับกุมแล้ว จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาขู่เข็ญต่อเนื่องจากการชิงทรัพย์ แม้ไม่มีการข่มขู่ขณะกระชากทรัพย์
แม้ขณะที่จำเลยกระชากกระเป๋าถือของผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากจำเลยกระชากกระเป๋าถือของผู้เสียหายแล้วได้วิ่งหนีไปนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งจอดอยู่ห่างจากที่ผู้เสียหายถูกกระชากสร้อยเพียง 1 ถึง 2 เมตรเพื่อหลบหนี แต่ถูก ส.วิ่งไปผลักจนรถจักรยานยนต์ล้มลง จำเลยจึงชักอาวุธออกมาจะแทง ส. ดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องและเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการวิ่งราวทรัพย์ ทั้งการที่จำเลยชักอาวุธมีดออกมาจะแทง ส.ทันทีที่ ส.ผลักรถจักรยานยนต์ล้มลงนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยกระทำโดยมีเจตนาขู่เข็ญไม่ให้ ส.ขัดขวางการหลบหนี เพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเพื่อการพาทรัพย์ไป และแม้ ส.จะมิใช่ผู้เสียหาย แต่เมื่อจำเลยกระทำโดยมีเจตนาดังกล่าวและการกระทำของจำเลยยังไม่ขาดตอนจากการกระชากกระเป๋าถือของผู้เสียหายถือได้ว่าจำเลยกระชากกระเป๋าถือผู้เสียหายโดยขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้พ้นจากการจับกุมแล้ว จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้วสัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)" และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญาหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความหนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและการรับชำระหนี้ที่เชื่อมโยงกัน
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว สัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า"ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)..." และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญา หนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ หนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)