พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อการประมูล
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรม แม้จำเลยเพิ่งจะหยิบยกขึ้นมาในชั้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา225 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ส. เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริง การที่จำเลยกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ส. เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริง การที่จำเลยกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อประมูลงานก่อสร้าง ศาลแก้เป็นลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอม
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมาย หลายบทหรือหลายกรรม แม้จำเลยเพิ่งจะหยิบยกขึ้นมาใน ชั้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส. เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้าง อื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลย ลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลส. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริงการที่จำเลยกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย ผู้รับจำนองสุจริตและมีค่าตอบแทนได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.ล้มละลาย
วันสุดท้ายที่ผู้คัดค้านมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือ วันที่ 7 มีนาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงต้องนับวันที่ต่อจาก วันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้นคือเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 8 มีนาคม 2539 ตามมาตรา 197/7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2539 เป็นวันสุดท้าย บริษัทน.เป็นลูกค้าของผู้คัดค้านประเภทขาดลดเช็คโดยจำเลยเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทน.การที่บริษัทน. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คกับผู้คัดค้าน และจำเลยได้จำนองที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งบริษัทน.ได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปเรียบร้อย แล้วการจำนองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน แม้การจำนองจะเป็นการจำนองภายหลังระยะเวลาที่โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายอันเป็นการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอม ให้กระทำภายหลังมีการขอให้ล้มละลายก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความว่าการจำนองดังกล่าวผู้คัดค้านกระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย แม้มีปริมาณไม่ถึง 20 กรัม ก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวที่มีน้ำหนักคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 11.151 กรัม ไม่ถึงยี่สิบกรัม การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดสองกรรมได้ แม้จะกระทำต่อเนื่องกัน
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้ขายด้วย การขายหรือมีไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน ผู้ที่มีวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขายแล้วได้ขายไปบางส่วนคงมีความผิดฐานขายเพียงสถานเดียว แต่ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยามคำว่า "จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนให้เท่านั้น มิได้บัญญัติให้หมายความรวมถึงการมีไว้ใน ครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย การมียาเสพติดไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดจำนวน 4 เม็ดที่จำเลยมอบให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 60 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไปในเวลาที่ต่อเนื่องกัน แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีเจตนาแยกต่างหากจากกันตั้งแต่จำเลยจำหน่ายแล้ว การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดสองกรรม หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างนำทรัพย์สินนายจ้างไปจำนำโดยมิชอบ ถือเป็นการลักทรัพย์นายจ้างตามกฎหมายอาญา
เลื่อยฉลุไฟฟ้าและเครื่องหินเจียไฟฟ้าที่จำเลยนำไปจำนำ เป็นของโจทก์ร่วม และขณะนำไปจำนำจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำเลื่อยฉลุไฟฟ้าและเครื่องหินเจียไฟฟ้าของ โจทก์ร่วมไปจำนำแล้วนำเงินที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น ถ้าจำเลยไม่ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนดผู้รับจำนำมีสิทธิ นำไปขายทอดตลาดได้ และทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตโดยแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จึงเป็น ความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างนำทรัพย์สินนายจ้างไปจำนำแล้วนำเงินไปใช้ส่วนตัว มีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เลื่อยฉลุไฟฟ้าและเครื่องหินเจียไฟฟ้าที่จำเลยนำไปจำนำเป็นของโจทก์ร่วม และขณะนำไปจำนำจำเลยยังเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำเลื่อยฉลุไฟฟ้าและเครื่องหินเจียไฟฟ้าของโจทก์ร่วมไปจำนำแล้วนำเงินที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น ถ้าจำเลยไม่ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนดผู้รับจำนำมีสิทธินำไปขายทอดตลาดได้ และทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตโดยแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการขัดแย้งในคำให้การ จำเลยไม่อาจสืบพยานได้ ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความแถลงร่วมกันเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนปัญหาที่ว่าคำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในประเด็นที่ยกขึ้นต่อสู้ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 หรือไม่นั้น ไม่เป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยขัดแจ้งกันเอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัด: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความแถลงร่วมกันเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าคำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในประเด็นที่ยกขึ้นต่อสู้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 หรือไม่นั้นไม่เป็นประเด็นแห่งคดี เมื่อไม่มีประเด็นดังกล่าวขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อนี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยวินิจฉัยว่า คำให้การของจำเลยขัดแย้งกันเอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ต้องรอฎีกาถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นแสดงว่าคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงเป็นการบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ล้มละลายทันที แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาคัดค้านเกี่ยวกับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาก็ไม่จำต้องรอให้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงที่สุดเพราะคดีล้มละลายต้องพิจารณาเป็นการด่วนตาม มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายก็เป็นอันตกไปโดยปริยาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของจำเลยเด็ดขาด และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดนั้นได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วมาตรา 61 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ศาลพิพากษาให้จำเลย(ลูกหนี้) ล้มละลาย จึงไม่อาจนำมาตรา 141 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 141แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง