คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล รางชางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาต่างกัน พรากเด็กและข่มขืนเป็นความผิด 2 กรรม
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของ ด. มารดา ตามวันและเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปโดยไม่ได้ขออนุญาต ด.ก่อน และจำเลยพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้เจตนาที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายหรืออยู่กินฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก มารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดย เด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ดังนั้น แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวจะเป็นการกระทำต่อเนื่องในวันเดียวกันก็ตาม แต่เห็นได้ชัดว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมีเจตนาต่างกัน กล่าวคือ จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารอันเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาผู้เสียหาย ส่วนที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายเป็นเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันเป็นเจตนาต่างกันกับเจตนาพรากดังกล่าว จึงมิใช่การกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์/ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท การอุทธรณ์ และการวินิจฉัยนอกฟ้องในส่วนขับไล่และละเมิด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท จำเลยไม่ได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ย่อมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โดยยอมรับในอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ แต่โจทก์ฟ้องบังคับขับไล่จำเลยในขณะบ้านพิพาทยังปลูกอยู่ ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ บ้านพิพาทจึงมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าบ้านพิพาทที่ปลูกอยู่หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเท่าใด แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า บ้านพิพาทหากจะให้เช่าจะได้ค่าเช่า เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท และโจทก์ก็มิได้ฎีกาว่าบ้านพิพาทหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเกินกว่า4,000 บาท จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาท หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท คดีส่วนที่ เกี่ยวกับฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคสอง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยและพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ส่วนนี้ของโจทก์เสีย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ โดยลักลอบเก็บผลกาแฟและตัดฟืนต้นกาแฟของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารทำ ละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ ดังนี้ คำขอของโจทก์ เป็นการขอให้สั่งห้ามจำเลยงดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อต้นกาแฟอันเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือต้นกาแฟนั้นในขณะฟ้องและต่อไปภายหน้า เมื่อจำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าต้นกาแฟเป็นของจำเลย ทั้งปัญหาที่ว่าโจทก์จะมีสิทธิปลูกต้นกาแฟในที่ดินดังกล่าวต่อไปหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไป ฉะนั้น คดีโจทก์ส่วนที่ห้ามจำเลยและบริวาร ทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่นำสืบว่าโจทก์เสียหายอย่างใด เพียงใด จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท จำเลยไม่ได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ย่อมเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โดยยอมรับในอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ แต่โจทก์ฟ้องบังคับขับไล่จำเลยในขณะบ้านพิพาทยังปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ บ้านพิพาทจึงมีสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าบ้านพิพาทที่ปลูกอยู่หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเท่าใด แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า บ้านพิพาทหากจะให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท และโจทก์ก็มิได้ฎีกาว่า บ้านพิพาทหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละเกินกว่า 4,000 บาท จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาท หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่เกิน 4,000 บาท คดีส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ส่วนนี้ของโจทก์เสีย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ โดยลักลอบเก็บผลกาแฟและตัดฟันต้นกาแฟของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์ ดังนี้ คำขอของโจทก์เป็นการขอให้สั่งห้ามจำเลยงดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อต้นกาแฟ อันเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือต้นกาแฟนั้นในขณะฟ้องและต่อไปภายหน้า เมื่อจำเลยมิได้ให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าต้นกาแฟเป็นของจำเลย ทั้งปัญหาที่ว่าโจทก์จะมีสิทธิปลูกต้นกาแฟในที่ดินดังกล่าวต่อไปหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไป ฉะนั้น คดีโจทก์ส่วนที่ห้ามจำเลยและบริวารทำละเมิดต่อต้นกาแฟของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่นำสืบว่าโจทก์เสียหายอย่างใด เพียงใด จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม – เนื้อที่ดินไม่สอดคล้อง
เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คำฟ้องจะชัดแจ้งหรือไม่จึงต้องพิจารณาคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามใบจองน.ส.3 และโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลย เมื่อปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ว่า ที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจากเจ้าของเดิมนั้น มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่กลับปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6และ 7 ซึ่งเป็นใบจองและ น.ส.3 ของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้ออกหลักฐานรุกล้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ และปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 16ซึ่งเป็นโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลย มีเนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ดังนี้การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิมมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น64 ไร่ แต่ที่ดินตามใบจองและ น.ส.3 ของจำเลยตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข6 และ 7 กลับมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลยมีเนื้อที่ประมาณ 47 ไร่เศษ เท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยจะขอออกใบจองน.ส.3 และโฉนดที่ดินดังกล่าวรุกล้ำที่ดินเจ้าของเดิมที่โจทก์ซื้อมาทั้งแปลงดังคำฟ้องโจทก์ เพราะที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจากเจ้าของเดิมถึง 10 ไร่เศษ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 18 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ดินพิพาท ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินนั้นเป็นที่ดินตรงบริเวณไหนของแผนที่ดังกล่าวหรือรุกล้ำที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจากเจ้าของเดิมตรงส่วนไหนบ้าง คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาข้ดแย้งกันในตัวจึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมจากเนื้อที่ดินไม่สอดคล้องกันในสัญญาซื้อขาย, ใบจอง, และโฉนดที่ดิน ทำให้ขาดความชัดเจนในการระบุขอบเขตการรุกล้ำ
เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คำฟ้องจะชัดแจ้ง หรือไม่จึงต้องพิจารณาคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเมื่อปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ว่า ที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาเจ้าของเดิมนั้น มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่กลับปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 และ 7 ซึ่งเป็นใบจองและน.ส.3 ของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้ออกหลักฐานรุกล้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ และปรากฏตามสำเนา เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 16 ซึ่งเป็นโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลย มีเนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ดังนี้การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิมมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่ที่ดินตามใบจองและ น.ส.3 ของจำเลยตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6และ 7 กลับมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลยมีเนื้อที่ประมาณ 47 ไร่เศษ เท่านั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยจะขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดิน ดังกล่าวรุกล้ำที่ดินเจ้าของเดิมที่โจทก์ซื้อมาทั้งแปลงดัง คำฟ้องโจทก์ เพราะที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดิน ดังกล่าวมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจาก เจ้าของเดิมถึง 10 ไร่เศษ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 18 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ดินพิพาท ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินนั้นเป็นที่ดินตรงบริเวณไหนของแผนที่ดังกล่าวหรือรุกล้ำที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจากเจ้าของเดิมตรงส่วนไหนบ้างคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกันในตัวจึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท แม้คำฟ้องไม่ระบุรายละเอียด ศาลสามารถวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการนำสืบ
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท โดยมิได้ระบุว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แต่จำเลยที่ 2ให้การทำนองว่า ที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ดังกล่าวและทางนำสืบของทั้งสองฝ่ายก็นำสืบรับกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แล้วพิพากษาขับไล่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มีผลทำให้โจทก์ทั้งสองได้ที่ดินน้อยกว่าที่ขอก็ตามและเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งยังได้แก้อุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวชอบแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอและพิพาทแก้ให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการไม่ชอบแม้คู่ความทั้งสองฝ่ายจะมิได้ฎีกาโต้แย้งขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ขับไล่ออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีขับไล่ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท โดยมิได้ระบุว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 987 แต่จำเลยที่ 2 ให้การทำนองว่า ที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ดังกล่าวและทางนำสืบของทั้งสองฝ่ายก็นำสืบรับกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แล้วพิพากษาขับไล่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มีผลทำให้โจทก์ทั้งสองได้ที่ดินน้อยกว่าที่ขอก็ตามและเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งยังได้แก้อุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวชอบแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอและพิพาทแก้ให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการไม่ชอบ แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายจะมิได้ฎีกาโต้แย้งขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ขับไล่ออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า พิจารณาจากพฤติการณ์การขับรถชนและหลบหนี
การที่จำเลยขับรถบรรทุกออกจากจุดจอดชนรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายและรถจักรยานยนต์กระเด็นไปห่างจากจุดชน 2 ถึง 3 เมตรแสดงว่าจำเลยขับรถชนรถจักรยานยนต์ไม่แรง หลังจากขับรถจักรยานยนต์แล้วจำเลยขับรถหนีไปทันที หาได้ขับรถตามไปชน หรือทับผู้เสียหายขณะล้มอยู่บนถนนไม่ แสดงว่าจำเลยมีเจตนา ขับรถชนจักรยานยนต์โดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นว่าเป็น การทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาการศึกษา, การชดใช้ทุน, อายุความเงินกู้: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการบังคับสัญญาและอายุความ
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครส่วนจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการการเสนอคำฟ้องจึงต้องเสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แต่คดีนี้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างเขตอำนาจศาล โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้ตามมาตรา 5ส่วนที่สัญญาได้ระบุให้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งนั้น ในขณะทำสัญญาอยู่ระหว่างการใช้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7 เดิม ที่บัญญัติยอมให้คู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาลที่คู่ความระบุไว้ในสัญญาได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการจึงชอบแล้ว ข้อกำหนดในสัญญาการรับทุนไปศึกษาและกลับมาทำงานสำหรับผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศข้อ 12 ที่ห้ามไม่ให้จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนสมรสตลอดระยะเวลาการศึกษาชั้นปริญญาเอก เมื่อไม่มีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดในสัญญาข้ออื่นเพียงแต่เป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในสัญญาซึ่งหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกเงินประเภทต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ผู้รับทุนไปเพื่อการศึกษาคืนเป็นจำนวน4 เท่าในทันที แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ใช้สิทธิตามสัญญาข้อดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกข้อกำหนดในสัญญาข้อนี้ออกจากข้อสัญญาอื่น ๆ เป็นการแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออกจากส่วนสมบูรณ์ ดังนั้น หนังสือสัญญาการรับทุนไปศึกษาข้ออื่น ๆ นอกจากข้อห้ามในข้อ 12จึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ต้องลงทุนเพื่อสนับสนุนบุคลากรผู้รับทุนไปศึกษาต่างประเทศ โจทก์ย่อมมีความมั่นใจในชั้นต้นว่าผู้รับทุนจะกลับมาทำงานด้วยส่วนที่ตามสัญญาระบุระยะเวลาชดใช้ทุนต่างกันไป โดยให้ชดใช้ทุนชั้นปริญญาโท 3 เท่าแต่ชดใช้ทุนชั้นปริญญาเอก 4 เท่า ก็เนื่องจากโอกาสในการได้รับงานสถานที่อื่นหรือในต่างประเทศนั้น ผู้สำเร็จปริญญาเอกจะมีโอกาสมากกว่าผู้สำเร็จชั้นปริญญาโท ทำให้โอกาสในการผิดสัญญาของผู้รับทุนไปศึกษาชั้นปริญญาเอกมีมากขึ้นด้วยคู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุนมากขึ้นจากระยะเวลาชดใช้ทุนในชั้นปริญญาโทจึงมีเหตุผล การที่คู่สัญญาจะกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าดังกล่าวจึงกระทำได้ แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองลดเบี้ยปรับลง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาโทเพียง 1 เท่าและร่วมกันรับผิดในการผิดสัญญาไปศึกษาชั้นปริญญาเอกเพียง 2 เท่า จึงเหมาะสมแล้ว ตามสัญญาการกลับมาทำงานได้ระบุชัดเจนว่า ระยะเวลาการชดใช้ทุน คือเวลากลับเข้าปฏิบัติงานในวิทยาลัยของโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่า กรณีจึงไม่อาจแปลไปได้ว่าระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกเป็นการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของโจทก์ด้วย ส่วนการที่สัญญาการรับทุนไปศึกษาระบุว่า ให้นับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเป็นอายุการทำงานของผู้รับทุนก็เป็นเรื่องการนับอายุงานซึ่งเป็นเรื่องอื่น ไม่อาจหมายความได้ว่าให้หมายถึงเป็นการชดใช้ทุนการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโทไปได้ ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ได้แบ่งยอดชำระหนี้ด้วยการหักเงินเดือนออกเป็นงวด ๆ รวม 60 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 เป็นต้นไป จึงเป็นการผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อชั้นปริญญาเอกจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเดือน โจทก์จึงผ่อนผันไม่หักเงินเดือนชำระหนี้ในระหว่างนั้นให้ จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ของคู่ความต่างไม่ถือเอาข้อกำหนดในสัญญาเรื่องระยะเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ ในขณะนั้น เป็นสาระสำคัญของสัญญาแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ชำระหนี้ในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือกลับมาทำงานกับโจทก์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับอายุความแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษามาแล้ว และไม่ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องภายใน 5 ปีได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันสัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต้องสอดคล้องกับหนี้ของลูกหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 222, 368, 377, 378, 391
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย จำเลยที่ 2เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สำหรับค่าผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดในวงเงิน 478,500 บาท และค้ำประกันสำหรับขวดเปล่าขนาด 20 ลิตร ในวงเงิน180,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดตามสัญญา ซึ่งในแต่ละเดือนหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ควรได้รับผลกำไรจากน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 950 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน150,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 0.42 บาท เป็นเงินจำนวน 63,000 บาท ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 20 ลิตร จำนวน 15,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 1.15 บาทเป็นเงินจำนวน 17,250 บาท รวมเป็นผลกำไรเดือนละ 80,250 บาท เมื่อตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวด กำหนดให้จำเลยที่ 1 รับน้ำดื่มบรรจุขวดของโจทก์ไปจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมา โจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญาเมื่อผลจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนี้ย่อมทำให้โจทก์ขาดผลกำไรและหากปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 10 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่ส่งหนังสือฉบับนี้ให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้จำเลยที่ 1ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากโจทก์จะเลิกสัญญาก็ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงวันที่มีผลเป็นการเลิกสัญญาตามที่โจทก์เรียกร้อง
ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่ำจำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง 220,735 บาท กับดอกเบี้ยมีเพียงใด จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเพียงเท่านั้น
of 96