คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพศาล รางชางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: ผู้รับโอนที่ไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม ไม่มีอำนาจถูกเพิกถอนการโอน
การโอนทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่กรณีการโอนตามสัญญาจะขายที่ดิน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโดยเป็นเพียงผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยเท่านั้น หาได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนทำสัญญาดังกล่าวไม่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนตามมาตรา 115 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8385/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิม มิใช่ผู้ซื้อที่ดิน
การโอนทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่กรณีการโอนตามสัญญาจะขายที่ดิน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโดยเป็นเพียงผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยเท่านั้น หาได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนทำสัญญาดังกล่าวไม่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนตามมาตรา 115 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมรณะก่อนมีคำพิพากษา: คำพิพากษาเรื่องความสามารถของบุคคลเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิจารณาเสียชีวิตก่อน
เมื่อ ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ศาล ศาลชั้นต้น จึง งด อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ ให้ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง และ ถือว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ต่อมา ผู้คัดค้าน โดย นาย ผู้คัดค้าน ยื่นฎีกา พร้อม กับ คำร้องขอ ให้ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ไป แล้ว และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ คดี เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ ผู้คัดค้าน จะ รับมรดก ความ กัน ไม่ได้ เช่นนี้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิพากษาถึงแก่กรรมก่อนอ่านคำพิพากษา
เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง และถือว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ต่อมาผู้คัดค้านโดยทนายผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านถึงแก่กรรมไปแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้คัดค้านจะรับมรดกความกันไม่ได้เช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8225/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการดำเนินคดีสิ้นสุดลงก่อนมีคำพิพากษา ศาลต้องยกคำพิพากษา
เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงงดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง และถือว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ต่อมาผู้คัดค้านโดยนายผู้คัดค้านยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านถึงแก่กรรมไปแล้ว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาแล้ว ดังนี้เมื่อปรากฎแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้คัดค้านจะรับมรดกความกันไม่ได้เช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้คัดค้านเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและอยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของจำเลยมีผลต่อสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขาย การแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการทำนิติกรรม
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่ 2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 122 ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก
ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22, 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลล้มละลายเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องสูญเสียเมื่อไม่แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์และจำเลยที่ 1ตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในกำหนด 3 ปี นับจากวันทำสัญญาคือ ภายในวันที่ 16 มกราคม 2519 แต่ในวันที่2 สิงหาคม 2517 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1ชั่วคราว และต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2519 ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวของจำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติ ตามสัญญาดังกล่าว เพราะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ประกอบมาตรา 92 เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอให้ปฎิบัติตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และล่วงพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว ถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิก การล้มละลายของจำเลยที่ 1 ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งได้ละเสียซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วกลับมีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินได้อีก ขณะทำสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งอยู่ในระหว่างที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาด สัญญาดังกล่าวย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1ปฎิบัติ ตามหนังสือสัญญาเพิ่มราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในการทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแทนตน ผู้มอบอำนาจจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจไว้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8098/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์สำเร็จ แม้ผู้เสียหายแย่งคืนได้ทันที การเอาทรัพย์ไปโดยสมบูรณ์เกิดขึ้นแล้ว
จำเลยกับคนร้ายอีก 2 คน ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะทำการปล้นสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหาย เมื่อคนร้ายคนหนึ่งปลดสร้อยข้อมือออกไปจากข้อมือของผู้เสียหายไปได้นั้น ทรัพย์นั้นจึงขาดจากการครอบครองของผู้เสียหาย แต่อยู่ในมือคนร้ายคนนั้นพร้อมที่จะนำไปได้ย่อมเป็นการเคลื่อนที่ไปจากแหล่งที่ทรัพย์นั้นติดตรึงอยู่ตามปกติไปอยู่ในความครอบครองของคนร้ายเป็นการเอาไปโดยสมบูรณ์เป็นการปล้นทรัพย์สำเร็จแม้ผู้เสียหายแย่งคืนมาในทันทีก็เป็นกรณีเกิดขึ้นหลังจากการเอาทรัพย์นั้นไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้การเอาทรัพย์ไปซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับเป็นว่าไม่สมบูรณ์ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8098/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์สำเร็จ แม้ผู้เสียหายแย่งทรัพย์คืนได้ในทันที
จำเลยกับคนร้ายอีก 2 คน ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะทำการปล้นสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหาย เมื่อคนร้ายคนหนึ่งปลดสร้อยข้อมือออกไปจากข้อมือของผู้เสียหายไปได้นั้น ทรัพย์นั้นจึงขาดจากการครอบครองของผู้เสียหาย แต่อยู่ในมือคนร้ายคนนั้นพร้อมที่จะนำไปได้ย่อมเป็นการเคลื่อนที่ไปจากแหล่งที่ทรัพย์นั้นติดตรึงอยู่ตามปกติไปอยู่ในความครอบครองของคนร้ายเป็นการเอาไปโดยสมบูรณ์เป็นการปล้นทรัพย์สำเร็จแม้ผู้เสียหายแย่งคืนมาในทันทีก็เป็นกรณีเกิดขึ้นหลังจากการเอาทรัพย์นั้นไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้การเอาทรัพย์ไปซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับเป็นว่าไม่สมบูรณ์ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)
of 96