พบผลลัพธ์ทั้งหมด 952 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องละเมิด: การฟ้องคดีซ้ำในเรื่องละเมิดเดิมที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณา และการแก้ไขฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179, 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีละเมิดเดิมซ้ำ โดยควรแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมแทน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีทางสาธารณะถูกปิดกั้น: ความเสียหายพิเศษและขอบเขตของทางพิพาท
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดีแต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดีแต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทางสาธารณะ: การพิสูจน์ทางพิพาทและการระบุความกว้างเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทางสาธารณะ: การพิสูจน์ทางพิพาทและการระบุความกว้างเพื่อความชัดเจนในการบังคับคดี
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6845/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและรับเงินค่าเช่าไม่เป็นฉ้อโกง หากเป็นไปตามข้อตกลง
การที่ผู้เสียหายทั้งสี่ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง 4 แปลง ก็เพื่อจะเอาค่าเช่าจากจำเลย อันเป็นความสมัครใจในการให้เช่า ดังนั้น การที่จำเลยได้เงินจากผู้เสียหายทั้งสี่จึงเป็นไปตามข้อตกลงมิใช่เป็นการหลอกลวง ส่วนที่จำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าก็เป็นเพียงการผิดสัญญา ซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไปการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6845/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการเช่าที่ดินเพื่อจำนองและการฉ้อโกง: การกระทำโดยสมัครใจของผู้เสียหาย
การที่ผู้เสียหายทั้งสี่ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง 4 แปลง ก็เพื่อจะเอาค่าเช่าจากจำเลย อันเป็นความสมัครใจในการให้เช่าดังนั้น การที่จำเลยได้เงินจากผู้เสียหายทั้งสี่จึงเป็นไปตามข้อตกลงมิใช่เป็นการหลอกลวง ส่วนที่จำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าก็เป็นเพียงการผิดสัญญาซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไปการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประกัน – คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุด – ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
ผู้ประกันขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ไม่ปรับหรือปรับน้อยลง ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้ลดค่าปรับผู้ประกันลงเหลือ 250,000บาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ประกันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์จากพ่อค้าโดยผู้ซื้อสุจริต ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถให้เจ้าของเดิม เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคา
โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นพ่อค้ารถยนต์อันถือได้ว่าเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ส่วนการที่จำเลยที่ 1มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์คันพิพาทก็ดี จำเลยที่ 1 มิได้ประกอบการค้ารถยนต์โดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีทะเบียนการค้าทะเบียนพาณิชย์และใบอนุญาตค้าของเก่าก็ดี จำเลยที่ 1มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ดี และจำเลยที่ 1 ไม่มีรถยนต์คันพิพาทอยู่ในความครอบครองที่สถานประกอบการของตนในขณะที่ โจทก์ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 1 ก็ดี หาใช่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ในสถานะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 2เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทภายหลังจากที่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1จนครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งคัดค้านเพียงว่าโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทคันพิพาทที่แท้จริงเป็นจำเลยที่ 2 แต่ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ทราบดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมา ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยุติและรับฟังได้เช่นนั้น โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายของชนิดนั้นโดยสุจริต โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 คือโจทก์ไม่ต้องคืนรถยนต์คันพิพาทแก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาส่วนสิทธิของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทตามมาตรา 1336 ซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1332ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรถยนต์คันพิพาทเพื่อติดตามและเอาคืนซึ่งรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ไม่ได้เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะชดใช้ราคาที่โจทก์ซื้อมาให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ปฎิบัติต่อโจทก์ดังกล่าวโจทก์จึง ไม่จำต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีความรับผิดต้องชดใช้ราคารถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2