พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง โดยเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท
การที่จำเลยได้ปลอมใบรับฝากรวม 6 ฉบับ ของที่ทำการไปรษณีย์ ธ. โดยเพิ่มเติมจำนวนรายการจดหมายลงทะเบียนและพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์กับปลอมใบนำส่งจดหมาย 2 ฉบับ ของบริษัท บ.ผู้เสียหาย โดยแก้ไขจำนวนจดหมายลงทะเบียนและลบแก้ไขจำนวนจดหมายธรรมดาแล้วจากนั้นจำเลยได้ใช้เอกสารที่ตนเองทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปหลอกลวงผู้เสียหาย เป็นเหตุให้จำเลยได้เงินไปจำนวน11,218 บาท นั้น เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงจะได้มอบเงินจำนวน 11,218 บาท ให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับเอกสารทั้งสองประเภทดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว และเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอีกบทหนึ่ง อันเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ความผิดทั้งสองฐานนี้มีโทษเท่ากัน ศาลฎีกาให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการทางอาญาต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีเดิม แม้ประเด็นเกี่ยวข้องกับเอกสารเดียวกัน
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยานของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลังที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดีเดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิดในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอกข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารและการใช้เอกสารปลอม: ประเด็นแตกต่างจากคดีก่อนหน้าไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบพยาน ของตนจนเสร็จสิ้นและแถลงหมดพยานจำเลย อันเป็นการเสร็จการพิจารณาในศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาจัดส่งคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งพิพาทกันไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการกรอกข้อความในแบบคำร้องดังกล่าวก่อนหรือภายหลัง ที่ผู้เสียหายลงลายมือชื่อนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องขอ อนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาเสียก่อน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา จึงไม่อาจดำเนินการให้ได้ คดีเดิมโจทก์ (ผู้เสียหายในคดีนี้) ยื่นคำร้องขอให้ยกคดี ขึ้นพิจารณาใหม่อ้างเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลปรากฏว่า เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ศาลจึง มีคำสั่งยกคำร้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยนำแบบพิมพ์คำร้องของศาลไปให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์ คำร้องดังกล่าวว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องอันเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อศาล ทำให้ศาลหลงเชื่อว่าเป็นความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา กรณีเห็นได้ว่า ศาลในคดี เดิมได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ว่ามีเหตุให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพราะจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในคำร้องขอถอนฟ้องหรือไม่ แต่คดีนี้เป็นเรื่องความรับผิด ในทางอาญาว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยกรอก ข้อความลงในแบบคำร้องซึ่งมีลายมือชื่อของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายประสงค์ขอถอนฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เสียหาย แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปยื่นต่อศาลอันเป็นการปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอมตามฟ้องหรือไม่ประเด็นแห่งคดีจึงแตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและการใช้เอกสารปลอม โดยเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระและเจตนา
การที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ ว. ในหนังสือสัญญา ขายที่ดินพิพาท กับที่จำเลยปลอมลายมือชื่อ ว. ในหนังสือมอบอำนาจแล้วใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวไปยื่น ขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ ร. เป็นเหตุการณ์และระยะเวลาห่างกันประมาณ 8 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏว่า มีความมุ่งหมายเดียวกันจึงเป็นการกระทำต่างกรรมและ ต่างเจตนากันเป็นความผิดสองกรรม หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้มอบอำนาจมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนผู้มอบอำนาจเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแต่อย่างใด จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิ การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจจึงเป็นความผิด ฐานปลอมเอกสารและใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก,268 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อการประมูล
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรม แม้จำเลยเพิ่งจะหยิบยกขึ้นมาในชั้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา225 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ส. เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริง การที่จำเลยกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลยลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ส. เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริง การที่จำเลยกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อประมูลงานก่อสร้าง ศาลแก้เป็นลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอม
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมาย หลายบทหรือหลายกรรม แม้จำเลยเพิ่งจะหยิบยกขึ้นมาใน ชั้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ การที่จำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.และปลอมใบเสนอราคาว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส. เสนอที่จะทำงานรับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้าง อื่น ๆ แก่สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดสิงห์บุรี โดยจำเลย ลงลายมือชื่อปลอมของ ว. และประทับตราห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ปลอมลงในเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลส. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และจำเลยปลอมหนังสือราชการกรอกข้อความเป็นหนังสือรับรองว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ได้รับจ้างเหมาก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงเก็บพัสดุบ้านพักข้าราชการและอื่น ๆ ของโครงการชลประทานจังหวัดแพร่ แล้วจำเลยนำเอกสารต่าง ๆ ที่ทำปลอมดังกล่าวทั้งหมดไปใช้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารเพื่อให้หลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวทั้งหมดเป็นเอกสารแท้จริงการที่จำเลยกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำต่อเนื่องและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวโดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้จำเลยได้เป็นผู้รับจ้างเหมาก่อสร้าง จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 แต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารปลอม (ประกันภัย, ภาษีรถยนต์) ถือเป็นคนละกรรมต่างวาระ แม้ใช้พร้อมกัน
จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของบริษัทประกันภัยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 แล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 3 พ-6729กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด รวม 2 กระทง แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้าย ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเองกับเป็นผู้ใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539จำเลยได้กระทำการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ ประจำปี พ.ศ. 2539 ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่ บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 อีกกรรมหนึ่ง จำเลยจึงกระทำผิดฐานปลอมและใช้ เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265แต่เพียงกระทงเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสองเช่นกัน แม้จะใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประกอบในคราวเดียวกันแต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันกล่าวคือ การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จริงส่วนการใช้แผ่นป้ายวงกลมปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าได้มีการเสียภาษีรถยนต์ถูกต้องตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 2 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้เอกสารทั้งเอกชนและราชการ กรณีผู้กระทำผิดเป็นผู้ปลอมเองและใช้เอง ศาลลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียว
จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของบริษัทประกันภัยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม2539 แล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 3 พ - 6729 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ตาม ป.อ.มาตรา 264วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา264 วรรคแรก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดรวม 2 กระทง แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเองกับเป็นผู้ใช้เองจึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคสองแต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จำเลยได้กระทำการปลอมแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี พ.ศ.2539ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วจำเลยได้ใช้เอกสารปลอมนั้นติดที่บริเวณกระจกหน้ารถยนต์คันดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม2539 อีกกรรมหนึ่ง จำเลยจึงกระทำผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามป.อ.มาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอง จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอม ตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่เพียงกระทงเดียว ตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคสอง เช่นกัน แม้จะใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประกอบในคราวเดียวกันแต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน กล่าวคือ การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จริง ส่วนการใช้แผ่นป้ายวงกลมปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าได้มีการเสียภาษีรถยนต์ถูกต้องตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 2 กระทง ตาม ป.อ.มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อปลอมในคดีอาญา ศาลฎีกาชี้ว่าความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงข้อมูลประกอบ ไม่ผูกพันศาล
แม้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจพิสูจน์จะเห็นว่าลายมือ มีคุณลักษณะและรูปลักษณะของการเขียนแตกต่างกัน น่าจะไม่ใช่ ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยตลอดแล้วการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ รับสภาพหนี้เป็นเอกสารที่ทำไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2536 ไม่ปรากฎว่าโจทก์มีเอกสารที่ได้ทำขึ้นในช่วง ระยะใกล้เคียงกับวันดังกล่าวซึ่งเป็นการเขียนแบบบรรจงส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบลายมือชื่อโจทก์ด้วยทั้งรูปแบบการเขียนลายมือชื่อโจทก์ที่ระยะเวลาใกล้เคียงกับเอกสารที่จะต้องตรวจพิสูจน์ก็ไม่มี ดังนั้น ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้น เนื่องจากลายมือชื่อโจทก์มีคุณสมบัติการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อโจทก์ในใบแต่งทนายความซึ่งเป็นลายมือเขียนหวัดและเวลาเขียนต่างกันตามกาลเวลา ผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อโจทก์ และการวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มี กฎหมายบังคับให้ศาลต้องฟังตามข้อสันนิษฐานหรือข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใด ทั้งมิใช่ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรแล้วศาลต้องฟังเสมอไป เมื่อโจทก์ยังมี ภาระหน้าที่นำสืบว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด การที่โจทก์รับว่าเช็คทั้งสามฉบับอยู่ในความครอบครองของ จำเลยที่ 1 ตลอดมาย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นในลักษณะ ลายมือชื่อโจทก์มาก่อนที่มีการทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ จึงไม่มีเหตุผลประการใดที่จำเลยทั้งสองจะทำการปลอมลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นแบบตัวบรรจงให้แตกต่างออกไปให้เห็นได้โดยประจักษ์พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้, บังคับคดี, การอายัดทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษแม้ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนด
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้