คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 264

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม การพิจารณาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และการยกฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อและมีความเห็นแตกต่างกันนั้น มิได้มีกฎหมายบังคับว่าศาลจำต้องเลือกฟังจากผู้ตรวจพิสูจน์ที่มีอายุงานมากกว่าแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จ/เปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท: จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็น/ผู้เสียหายให้ความยินยอม ศาลยืนตามอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 กรรมการคนหนึ่งของบริษัท ช. ลงลายมือชื่อในรายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมและ/หรือมติพิเศษ (แบบ บอจ.4) โดยระบุชื่อโจทก์เป็นกรรมการที่ออกจากตำแหน่ง เป็นการลงลายมือชื่อในนามของจำเลยที่ 1 เอง มิได้เป็นการปลอมลายมือชื่อผู้อื่นในเอกสารและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อความในเอกสารที่แท้จริง เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารปลอม แม้ไม่มีตราประทับของบริษัท ช. ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำในนามของบุคคลอื่น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8475/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ปลอม แม้ลงชื่อแทน ย่อมไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
การที่ ศ. ยินยอมให้ ร. ลงลายมือชื่อของ ศ. ในใบเสร็จรับเงินโดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นแล้วมอบให้จำเลย แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้กรอกข้อความในใบเสร็จรับเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อข้อความที่กรอกนั้นตรงกับความเป็นจริง ทั้งข้อความนั้นเป็นประโยชน์แก่ ศ. ผู้มีอำนาจทำเอกสาร จึงไม่เกิดความเสียหายแก่เจ้าของเอกสารหรือผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมเอกสาร และเมื่อใบเสร็จรับเงินไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยนำใบเสร็จรับเงินไปใช้แสดงต่อที่ประชุมสมาคมโจทก์ก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038-5043/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสิทธิปลอม – คู่ฉบับสัญญาจองรถยนต์ที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินมัดจำ ถือเป็นเอกสารสิทธิ
ผู้เสียหายที่ 1 ต้องใช้คู่ฉบับใบสัญญาจองรถยนต์ ฉบับสีชมพูที่มีลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นหลักฐานในการรับมอบเงินมัดจำจากจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ในการเรียกให้จำเลยมอบเงินมัดจำ จึงเป็นเอกสารสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327-3328/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสัญญาจ้างพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 ข้อ 4.1 และ 4.2 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 โจทก์ที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามฟ้องข้อ 4.1 และ 4.2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ในส่วนนี้เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับไว้พิจารณา
การพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานตามภารกิจเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างด้วย โจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2551 การที่ในเดือนกันยายน 2551 ส. ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจมีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2555 นั้น เป็นกรณีพิจารณาต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจต่อไป จึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู ข้อ 34 และข้อ 44 เมื่อก่อนที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และไม่มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี การที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับงบประมาณได้ สำหรับสัญญาจ้างพนักงานจ้างไม่ลงวันที่มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2556 โจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์สัญญาจ้างตามคำบอกของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2552 โดยไม่ปรากฏว่ามีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เพื่อใช้ประกอบการต่อสัญญาจ้างแล้วหรือไม่ จึงอยู่ในขั้นเตรียมการที่จะเสนอให้จำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างหรือไม่เท่านั้น ยังไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา เพราะจะต้องเสนอให้จำเลยที่ 1 พิจารณาเสียก่อนว่าเห็นชอบและอนุมัติตามระยะเวลาการจ้างดังกล่าวหรือไม่ การที่ ย. แก้ไขกำหนดระยะเวลาการจ้างและปีสิ้นสุดสัญญาและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ใช้สัญญาจ้างพนักงานแสดงต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภูก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม และไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ประเมินชั้นต้น ประเมินการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ว่าควรปรับปรุง คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. เห็นด้วยกับการประเมินข้างต้นว่าไม่ผ่านการประเมิน อันเป็นดุลพินิจของผู้ประเมินและคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานจ้างจึงมิใช่เอกสารปลอมหรือเอกสารเท็จ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท: ปลอมเอกสารขอหนังสือเดินทางเพื่อออกหนังสือเดินทางปลอม
การที่จำเลยปลอมคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) เพื่อขอออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานในการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อดำเนินการออกหนังสือเดินทางหมายเลขดังกล่าวให้แก่จำเลย โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมหมายเลข J 336XXX แสดงประกอบคำร้องขอด้วย ต่อจากนั้นจำเลยปลอมหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX อันเป็นเอกสารราชการโดยแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหลงเชื่อนำข้อมูลตามคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าฐานข้อมูลการจัดทำหนังสือเดินทางของกรมการกงสุล แล้วประมวลผลเป็นรูปเล่มหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX ต่อมาจำเลยมีหนังสือเดินทางปลอมหมายเลข H 759XXX ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้มีหรือผู้ถือหนังสือเดินทางฉบับดังกล่าวฉบับที่ถูกต้องแท้จริง เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้จะเป็นเอกสารคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10517/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากวัด ถือเป็นเอกสารปลอมและอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง หรือเป็นกรรมการวัด หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในวัดบ้านขว้างที่จะมีอำนาจจัดทอดผ้าป่าโดยลำพัง การที่จำเลยจัดพิมพ์ซองผ้าป่าซึ่งข้อความบนซองผ้าป่าของกลางเป็นการเชิญชวนให้ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดบ้านขว้าง ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจโดยลำพังที่จะจัดทอดผ้าป่าในนามวัดบ้านขว้างโดยพลการเพราะไม่ได้แจ้งหรือขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดและไม่ได้ผ่านการประชุมระหว่างไวยาวัจกร กรรมการวัด เจ้าอาวาสวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนรวมทั้งชาวบ้าน ทั้งซองผ้าป่าของกลางที่จัดพิมพ์แจกจ่ายให้ผู้อื่นไม่มีรอยตราของวัดประทับด้านหลังซอง การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าดังกล่าวจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ โดยจำเลยไม่มีอำนาจ ลักษณะข้อความตามซองผ้าป่าของกลางระบุชัดเจนว่าเป็นการทอดผ้าป่า ณ วัดบ้านขว้าง ทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อว่าเป็นซองผ้าป่าที่แท้จริงที่จัดทำขึ้นโดยวัดบ้านขว้าง ทั้งที่ความจริงแล้วทางวัดบ้านขว้างมิได้รับรู้ด้วย หากมีการนำซองผ้าป่าดังกล่าวไปใช้โดยไม่สุจริตนำออกเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วไม่นำเงินมาทำบุญที่วัดบ้านขว้างตามที่ระบุในซองผ้าป่า ย่อมเกิดความเสื่อมเสีย หรือเสียชื่อเสียง หรือขาดความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อวัดบ้านขว้างและพระครู ป. เจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง แม้ผลของการกระทำจะยังไม่ปรากฏความเสียหายแต่พิจารณาพฤติการณ์ประกอบการกระทำของจำเลยที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยก็น่าจะเกิดความเสียหายได้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจากผู้สมองตาย ไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสองประกอบ มาตรา 216 วรรคหนึ่งและมาตรา 225 วางหลักว่า ฎีกาทุกฉบับต้องมีข้อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น โจทก์ร่วมที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ร่วมที่ 2 ฎีกาโดยคัดลอกข้อความที่อุทธรณ์มาเป็นฎีกาทั้งสิ้นและศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมที่ 2 มิได้ยกเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไรและด้วยเหตุผลใด ไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันผ่าตัดเอาไตทั้ง 2 ข้าง และตับออกจากร่างกายของ ล. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันผ่าตัดเอาไตทั้ง 2 ข้าง ออกจากร่างกายของ น. เพื่อนำเอาอวัยวะนั้นไปทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่บุคคลอื่น ล. และ น.ยังไม่อยู่ในสภาวะสมองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงนั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า ผู้ป่วยราย ล. และ น. ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะฐานกะโหลกแตกและสมองถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ทำให้สมองบวมกดแกนสมองเคลื่อนไป แพทย์ตรวจพบว่า ผู้ป่วยทั้งสองราย ไม่รู้สึกตัวและอยู่ในเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากไม่หายใจ เกณฑ์การตรวจและวินิจฉัยสมองตายกระทำโดยการตรวจและทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศของแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายและตามหลักวิชาทางการแพทย์ ปรากฏว่าผู้ป่วยทั้งสองรายนี้ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด และเมื่อถอดเครื่องช่วยหายใจออกก็ไม่หายใจ แสดงให้เห็นได้ว่าแกนสมองของผู้ป่วยทั้งสองรายนี้ถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถหายใจได้อย่างแน่นอน ก่อนทำการผ่าตัดวิสัญญีแพทย์ตรวจพบว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด แกนสมองตายแล้วและไม่หายใจเช่นเดียวกัน จึงน่าเชื่อว่าก่อนทำการผ่าตัดนำอวัยวะออกไปนั้น ผู้ป่วยทั้งสองรายแกนสมองตาย มีผลทำให้หัวใจขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อหัวใจจะหยุดทำงานและหัวใจจะหยุดเต้นในเวลาต่อมา โจทก์อุทธรณ์โดยมิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ล. และ น. อยู่ในสภาวะสมองตายก่อนที่จะมีการผ่าตัดเอาอวัยวะออกจากร่างกายไปทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่บุคคลอื่น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปแล้วมาโต้เถียงใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นกรณีไม่อาจอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่โจทก์ฎีกาต่อไปว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะอ้างว่ามีการวินิจฉัยสมองตายตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตามประกาศแพทยสภาไม่ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา เช่น ไม่ได้กระทำโดยองค์คณะแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน ไม่ได้บันทึกว่าแกนสมองตายนั้น เห็นว่า ข้อความในฎีกาโจทก์เป็นทำนองเดียวกับที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์อันเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแกนสมองของ ล. และ น. ถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป บุคคลทั้งสองจึงอยู่ในสภาวะสมองตายตามประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายฉบับแรกและฉบับที่ 2 ก่อนทำการผ่าตัดนำอวัยวะของ ล. และ น. ออกไป วิสัญญีแพทย์ ตรวจผู้ป่วยทั้งสองแล้ว ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด และเมื่อปลดเครื่องช่วยหายใจออกจากท่อแล้วผู้ป่วยไม่หายใจเอง ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แกนสมองของผู้ป่วยทั้งสองคนถูกทำลายจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้แล้ว ทำให้ไม่สามารถหายใจได้เองโดยปราศจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตามประกาศแพทยสภา แม้การวินิจฉัยเรื่องแกนสมองตาย จะขาดตกบกพร่องไปบ้าง เช่น ไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ของแพทยสภา หรือการวินิจฉัยสมองตายกระทำโดยแพทย์ไม่ครบ 3 คน ก็เป็นความบกพร่องในด้านการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ถูกลงโทษโดยแพทยสภาไปแล้ว โดยโจทก์มิได้โต้แย้งว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรและด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 216 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การตายของ ล. และ น. จะนำหลักเกณฑ์ตามประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายซึ่งออกในปี 2532 และตามประกาศแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ปี 2539 มาใช้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยการตายในทางการแพทย์ที่จะใช้ในการเปลี่ยนปลูกถ่ายอวัยวะ แต่คดีนี้จะต้องวินิจฉัยการตายตามความหมายในทางกฎหมาย คือ การไม่หายใจและหัวใจหยุดทำงาน นั้น เห็นว่า ป.อ. มาตรา 288 ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นมีองค์ประกอบความผิดประการหนึ่ง คือ ฆ่า คำว่า "ฆ่า" เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า หมายถึงการกระทำด้วยประการใดๆ ให้คนตาย แต่ตาม ป.อ. มิได้กำหนดบทนิยามคำว่า "ตาย" ว่ามีความหมายอย่างไร และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดนิยามความตายให้ชัดแจ้ง เมื่อตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 กำหนดให้แพทย์เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการตาย ดังนั้น การวินิจฉัยการตายจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัย โดยที่งานของแพทย์มีลักษณะเป็นวิชาชีพ จึงเป็นงานที่ต้องมีกรอบขนบธรรมเนียมและจรรยาบรรณของหมู่คณะโดยเฉพาะ และเป็นการใช้ความรู้ในวิทยาการเฉพาะด้านที่ผู้อื่นไม่อาจรู้ได้ทั้งหมด อีกทั้งมีวิวัฒนาการด้านการรักษาและวิทยาการเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การประกอบวิชาชีพเวชกรรมจึงมีกฎหมายควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพนี้เป็นพิเศษและมีการสอดส่องดูแลโดยบุคคลในวิชาชีพเดียวกันเพื่อให้การประกอบวิชาชีพเป็นไปโดยถูกต้องตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ขณะเกิดเหตุ วิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะในผู้ป่วยที่มีปัญหาการสูญเสียหน้าที่การทำงานของอวัยวะหรือมีความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ตับ ไต เป็นต้น มีความก้าวหน้าจนสามารถเอาอวัยวะจากผู้ที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่นำไปปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยได้ ในการนี้ได้มีประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย พ.ศ.2532 และประกาศแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2539 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตายมีสาระสำคัญว่า การวินิจฉัยคนตายโดยอาศัยเกณฑ์สมองตายนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้โดยเฉพาะกับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะสำคัญของมนุษย์ และอาจนำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ในอนาคตเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาชีพและเพื่อประโยชน์ของประชาชน บุคคลซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าสมองตาย ถือว่า บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย สมองตายหมายถึง การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป แพทย์เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยและตัดสินการตายของสมองตามเกณฑ์ของวิชาชีพ ดังนั้น เมื่อแพทย์ใช้วิธีการที่ได้รับการยอมรับในการสรุปว่าคนไข้นั้นถึงแก่ความตายแล้ว บุคคลผู้อยู่ในสภาวะสมองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตายที่คณะกรรมการแพทยสภากำหนดและออกเป็นประกาศแพทยสภาตามประกาศแพทยสภาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า เป็นการตายของบุคคล การที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 แพทย์ผู้ร่วมผ่าตัดเอาไต ทั้ง 2 ข้างและตับออกจากร่างกายของ ล. และจำเลยที่ 1 และที่ 2 แพทย์ผู้ร่วมผ่าตัดเอาไต ทั้ง 2 ข้าง ออกจากร่างกายของ น. ซึ่งอยู่ในสภาวะสมองตายตามประกาศแพทยสภา เรื่อง เกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย เพื่อนำเอาอวัยวะนั้นไปทำการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำต่อบุคคลที่ตายแล้วไม่มีสภาพเป็นบุคคลที่จะถูกฆ่าได้อีก ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14496/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม รวมถึงความรับผิดฐานของทนายความในการรับรองเอกสาร
โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ว่าปลอมรายงานการประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 3/2527 ของบริษัท ง. รายงานการประชุมระบุว่า ป. กับพวก ซื้อที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 169 มาจากบุคคลภายนอกในนามกิจการ โดยให้ ช. ถือกรรมสิทธิ์แทน ซึ่งเป็นความเท็จ ทั้งไม่มีการประชุมจริง แต่ในคำฟ้องมิได้บรรยายว่าเป็นการปลอมเอกสารสิทธิโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนและกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานปลอมเอกสาร รายงานการประชุมวิสามัญ ครั้งที่ 3/2527 ตามเอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องซึ่งเป็นรายละเอียดที่แสดงให้เห็นว่าใครร่วมประชุมและประชุมเรื่องใดบ้าง ใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานการประชุม แต่ก็มิใช่องค์ประกอบความผิด และการนำไปเป็นหลักฐานเสนอต่อศาลชั้นต้นเพื่อประกอบ การฟ้องคดีแพ่ง ก็อาจมิได้มีมูลเหตุจูงใจที่จะให้ศาลหลงเชื่อว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่แท้จริงได้ เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตามมาตรา 161 ส่วนความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นความเท็จนั้น จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อรับรองสำเนารายงานการประชุมวิสามัญฉบับดังกล่าว เป็นเพียงการให้คำรับรองว่าสำเนาเอกสารนี้มีข้อความถูกต้องตรงกับต้นฉบับหาได้มีความหมายเป็นการรับรองว่า บริษัท ง. ได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญตามเนื้อความที่ระบุในสำเนารายงานการประชุมวิสามัญฉบับดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้จะได้ความตามที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างว่าบริษัท ง. ไม่ได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญ และรายงานการประชุมวิสามัญเป็นเอกสารเท็จ จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12218/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร้องอาญา: การที่คำฟ้องระบุความผิดไม่ชัดเจน ทำให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินเลยขอบเขตที่ฟ้อง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนของที่ดินพิพาทกับบริษัท ท. ผู้จะซื้อ โดยจำเลยทั้งสองปลอมลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้มอบอำนาจ นำตราประทับปลอมนำมาประทับในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวอ้างแก่บริษัท ท. ทำให้โจทก์เสียหายโดยมิได้ระบุว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 265 มาด้วยก็ตาม ก็เป็นการระบุเกินมาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 คงเป็นความผิดตามมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
of 44