คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 264

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 438 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงและองค์ประกอบความผิด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสมุดทะเบียนประวัติสายพันธุ์ม้าแข่ง สำนักงานสมุดทะเบียนประวัติสายพันธุ์ม้าแข่งแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนรูปพรรณพ่อม้า แม่ม้า และลูกม้าที่นำเข้าหรือเกิดในประเทศไทย รวมทั้งจัดทำเอกสารบรรยายรูปพรรณและบันทึกข้อมูลจำเพาะสำหรับใช้ในการตรวจรูปพรรณม้า เมื่อหนังสือตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 และเอกสารการจดบันทึกทะเบียนลูกม้าลงในสมุดทะเบียนประวัติสายพันธุ์ม้าแข่งแห่งประเทศไทย ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดทำขึ้น แม้ข้อความในเอกสารบางส่วนอาจเป็นข้อความเท็จหรือไม่ก็ตาม แต่ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานปลอมเอกสารดังกล่าวไม่ เพราะจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาแผ่นดินมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 850 บัญญัติว่า "อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน" เมื่อพิจารณาคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงในการถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ปรากฏข้อความว่าให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 200,000 บาท แล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 นอกจากนั้นยังให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1967/2561 และชำระเงิน 400,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.6137/2560 และยังมีข้อตกลงในส่วนคดีของศาลแรงงานกลางที่ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้เลิกแล้วต่อกัน รวมถึงจำเลยจะไม่ไปดำเนินการร้องเรียนใด ๆ เกี่ยวกับการประมูลงานของโจทก์ ส่วนที่ร้องเรียนไปแล้วก็จะไปถอนคำร้อง ซึ่งเห็นได้ว่า ข้อความตามคำร้องขอถอนฟ้องเป็นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาหมายดำที่ 6070/2560 โดยมีข้อตกลงอื่นด้วยว่าจำเลยต้องชำระเงินให้โจทก์อีก 600,000 บาท ข้อตกลงตามคำร้องขอถอนฟ้องจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายตกลงผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท เมื่อปรากฏว่าข้อตกลงประนีประนอมยอมตามคำร้องขอถอนฟ้อง โจทก์ตกลงถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เหลือตามสัญญาที่เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม กรณีเอกสารไม่ใช่เอกสารราชการ ศาลแก้ไขโทษและฐานความผิด
จำเลยนำแบบพิมพ์แจ้งการจ้างคนต่างด้าว ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการมากรอกข้อความขึ้นเองและลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 4 เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เอกชนทำขึ้นเพื่อยื่นต่อทางราชการ เจ้าพนักงานมิได้เป็นผู้ทำเอกสาร และมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่ใช่เอกสารราชการ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารธรรมดาและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการประชุมที่ไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่มีการประชุมจริง และจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะประธานที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยเป็นกรรมการบริษัทคนหนึ่งจึงมีอำนาจหน้าที่ต้องจัดให้จดบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีการประชุมผู้ถือหุ้นและวาระการประชุมและข้อมติจะเป็นความเท็จ รายงานการประชุมก็ไม่เป็นเอกสารปลอม คงเป็นรายงานการประชุมที่จำเลยทำขึ้นเป็นเท็จ ส่วนที่จำเลยลงลายมือชื่อในรายงานการประชุม 2 แห่งใต้ข้อความว่า รับรองรายงานการประชุมถูกต้อง ย่อมเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการบริษัทที่มีหน้าที่จัดทำรายงานการประชุม ส่วนอีกแห่งหนึ่งแม้น่าจะเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะประธานที่ประชุม ซึ่งจำเลยไม่อาจเป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ แต่ก็ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของประธานที่ประชุมที่ต้องจัดทำหรือรับรองรายงานการประชุม การที่จำเลยลงลายมือชื่อในฐานะประธานที่ประชุมแม้เป็นความเท็จ แต่เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อของตนเอง จึงเป็นการลงลายมือชื่อจำเลยว่าเป็นประธานที่ประชุมอันเป็นความเท็จเท่านั้น ไม่เป็นการทำปลอมรายงานการประชุม จึงไม่เป็นการปลอมเอกสาร และไม่อาจเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอก: ฟ้องไม่ขัดแย้งหากศาลเลือกลงโทษฐานใดฐานหนึ่ง
แม้คำฟ้องจะบรรยายความผิดฐานฉ้อโกงมาด้วย แต่การกระทำอันเดียวกันอาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอกฐานหนึ่งฐานใดก็ได้ และเป็นเรื่องในใจของจำเลยว่าจำเลยมีเจตนาปลอมใบส่งของและใบเสร็จรับเงินเพื่อการหลอกลวงให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือเพื่อปกปิดการกระทำความผิดฐานยักยอกของตน กรณีจึงไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องหรือหลงต่อสู้ ทั้งฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้ศาลเลือกลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้นจึงไม่เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันเองหรือเคลือบคลุม ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีปลอมแปลงเอกสารราชการและการประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ หาใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิด้วย จึงเป็นเพียงเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 1 (8) เมื่อจำเลยปลอมและนำใบอนุญาตประกอบวิชาชีพปลอมดังกล่าวมาใช้ประกอบในการทำงานกับผู้เสียหายในตำแหน่งหน้าที่พยาบาล การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 (เดิม) แต่โจทก์ฟ้องคดีและได้ตัวจำเลยมายังศาลเกินสิบปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้ตั๋วเงินปลอม: การแยกพิจารณาความผิดแต่ละกรรมและข้อยกเว้นโทษ
จำเลยปลอมเช็คของผู้เสียหายที่ 1 รวม 3 ฉบับ และนำเช็คที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าว 2 ฉบับ ไปใช้อ้างต่างกรรมต่างวาระ รวม 3 ครั้ง จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอม รวม 3 กระทง ตามจำนวนครั้งที่นำตั๋วเงินปลอมออกใช้ แต่สำหรับเช็คฉบับเลขที่ 00134343 ซึ่งจำเลยทำปลอมขึ้นนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำออกใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินสำหรับเช็คฉบับนี้ตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) ด้วยอีกกระทงหนึ่ง
การปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) เป็นความผิดต่างกรรมกับการใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก เพียงแต่มาตรา 268 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ใช้ตั๋วเงินปลอม ซึ่งเป็นผู้ปลอมตั๋วเงินนั้นรับโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอมแต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยทำปลอมเช็คฉบับเลขที่ 00134446 และใช้แสดงต่อ ภ. จึงต้องลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก แต่เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่เมื่อต่อมาจำเลยใช้เช็คฉบับนี้แสดงต่อ ณ. โดยไม่ได้ปลอมเช็คดังกล่าวขึ้นอีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมตั๋วเงินตามมาตรา 266 (4) อีก คงมีความผิดฐานใช้ตั๋วเงินปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายที่แท้จริง vs. ผู้จัดการมรดก กรณีใช้เอกสารปลอม
บุคคลซึ่งจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ต้องเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 และผู้เสียหายหมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ตามมาตรา 2 (4)
จำเลยอ้างสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่ง ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ จ. เพราะการที่จำเลยอ้างส่งเอกสารดังกล่าวอาจมีผลทำให้ จ. แพ้คดี โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าเป็นคู่ความแทน จ. ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลเสร็จไปแทนผู้ตายเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 อีกด้วย ประกอบกับพยานหลักฐานในสำนวนไม่ปรากฏว่า คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลมีคำพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นสัญญาปลอมดังข้อต่อสู้ของ จ. โจทก์ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาคดีนี้เพราะเหตุจากการที่จำเลยอ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง จ. กับจำเลยเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าว และแม้คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และ ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด กรณีดังกล่าวเพียงแต่หมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย คดีไม่มีมูลความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานดังกล่าวได้เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม: พฤติการณ์ร่วมรู้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบมีผลต่อการเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางไปกับจำเลยที่ 2 และร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ช่วยหานายทุนรับจำนำรถที่จำเลยที่ 1 เช่าจากร้าน ภ. แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ปฏิเสธเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับรถ รวมทั้งเหตุการณ์ในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ช่วยหานายทุนรับจำนำรถที่จำเลยที่ 1 เช่าจากบริษัท ท. โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีเอกสารเกี่ยวกับรถเช่นเดียวกัน แต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 กลับยินยอมช่วยหานายทุนรับจำนำรถให้และพากันขับรถไปจังหวัดลำปางแล้วร่วมกันจัดทำสำเนารายการจดทะเบียนรถปลอม โดยจำเลยที่ 3 ให้การรับว่า จำเลยที่ 2 จะได้ค่านายหน้าจากยอดเงินที่มีการจำนำจากเจ้าของรถในอัตราร้อยละ 5 บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 รู้ว่ารถในคดีนี้ไม่สามารถนำไปจำนำโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ เพราะไม่มีรายการจดทะเบียนที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครอง จากพฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในการกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอมไม่จำต้องเหมือนจริง หรือมีเอกสารต้นฉบับ การทำเพื่อหลอกลวงให้เชื่อถือว่าเป็นเอกสารราชการ ถือเป็นเอกสารราชการปลอม
การทำเอกสารปลอม ไม่จำต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อนและไม่จำต้องทำให้เหมือนจริง หนังสือซึ่งเป็นเอกสารปลอมที่มุ่งประสงค์ให้ ส. และผู้พบเห็นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงซึ่งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้ทำขึ้นในหน้าที่จึงเป็นเอกสารราชการปลอม การที่จำเลยนำหนังสือไปมอบให้แก่ ส. จึงเป็นการกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
of 44