คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสิทธิ์ แสนศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมต้องมีเจ้าของสามยทรัพย์ ผู้ดูแลแท็งก์น้ำไม่อาจอ้างสิทธิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินอื่นทุกแปลงของหมู่บ้านวิภาวดี โดยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ10,000 บาท แต่ที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้า และจำเลยใช้ที่ดินพิพาทปลูกเพิงพักอาศัยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ดินพิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 34,000 บาทจำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง และวรรคหนึ่งตามลำดับ ลักษณะสำคัญของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1387 คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภารจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภารจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7072/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ข้อที่สละในชั้นพิจารณา – การยกข้อเท็จจริงใหม่ – ประเด็นไม่เป็นสาระ
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้นเป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การจึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7072/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามวินิจฉัย: ประเด็นใหม่นอกคำให้การ, สละสิทธิข้อต่อสู้, พยานประกอบดุลพินิจ
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้น เป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6945/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพยาน: จำเลยต้องลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดโดยชัดเจน
ทนายจำเลยยื่นคำให้การโดยลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดตามตรายางที่เจ้าหน้าที่ศาลประทับไว้ว่าเป็นวันนัดชี้หรือสืบพยานโจทก์เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดสืบพยานจำเลยโดยมิได้ระบุวันเวลานัดไว้ และจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลดังกล่าว ทั้งศาลชั้นต้นมิได้หมายนัดให้จำเลยทราบ จึงไม่อาจถือได้ว่า จำเลยทราบวันนัดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6945/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพยานที่ถูกต้องตามกฎหมาย การงดสืบพยานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยยื่นคำให้การโดยลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดตามตรายางที่เจ้าหน้าที่ศาลประทับไว้ว่าเป็นวันนัดชี้หรือสืบพยานโจทก์เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดสืบพยานจำเลยโดยมิได้ระบุวันเวลานัดไว้ และจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลดังกล่าวทั้งศาลชั้นต้นมิได้หมายนัดให้จำเลยทราบ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทราบวันนัดสืบพยานจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีฝากทรัพย์: ใช้ทั่วไป 10 ปี หากไม่มีกำหนดอายุความ
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฎตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,123.84 บาทโจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามสัญญา แม้ผู้ว่าจ้างรับมอบเรือแล้ว คดีไม่ขาดอายุความ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการและโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้วก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไรเหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็น การกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาทซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขภายใน 30 วันจำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600,601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด: สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมและอายุความตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการ และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน 559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และผลของการจดแจ้งในทะเบียนสมรส
การที่โจทก์จำเลยทำความตกลงในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา โดยจำเลยให้สัญญาว่าบ้านพร้อมที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยให้เป็นสินสมรส จึงเป็นกรณีที่คู่สมรสจดแจ้งข้อความอันเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1465 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทำทรัพย์สินส่วนตัวเป็นสินสมรส: ผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
การที่โจทก์จำเลยทำความตกลงในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา โดยจำเลยให้สัญญาว่าบ้านพร้อมที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยให้เป็นสินสมรส จึงเป็นกรณีที่คู่สมรสจดแจ้งข้อความอันเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อความขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 วรรคสอง
of 68