พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: การผูกพันตามการประนอมหนี้ และการฟ้องล้มละลายซ้ำ
จำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์ก่อนที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถูกพิทักษ์ทรัพย์ในอีกคดีหนึ่ง หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และแม้จะยังไม่ถึงกำหนดในขณะนั้น เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ก็อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนได้มีการประนอมหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 56จึงนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันก่อนล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด มิฉะนั้นผูกพันตามการประนอมหนี้
ก่อนจำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อน จำเลยที่ 1ได้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจากโจทก์แล้ว อันทำให้เกิดมูลหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้หนี้ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 จะยังไม่ถึงกำหนดชำระในขณะที่จำเลยที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด โจทก์ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้สัญญาค้ำประกันในคดีล้มละลายคดีก่อนภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91,94 เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวจนได้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ก็ต้องถูกผูกมัดโดยการประนอมหนี้ด้วยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56 โจทก์จะนำหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดและล้มละลายอีกไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: ยกฟ้องเนื่องจากพยานขัดแย้ง แต่ริบไม้อันได้มาจากการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้และขอให้ริบไม้ยางแปรรูปของกลาง ศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าพยานโจทก์ในที่เกิดเหตุเบิกความขัดแย้งในข้อสำคัญ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แต่ไม้ของกลางเป็นไม้ที่มีผู้ลักลอบตัดจากริมเหมืองส่งน้ำถือว่าเป็นไม้อันได้มาเนื่องจากการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ จึงต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตจ่ายค่าทดแทนที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กรมชลประทานเสียหาย ร่วมกันทำเอกสารเท็จ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่2ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน แต่จำเลยที่3กับพวกก็คิดค่าทดแทนให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกันทำเอกสารมีข้อความเป็นเท็จจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157,162(1)(4)ประกอบด้วยมาตรา83ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157อันเป็นบทหนัก ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1รับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและจ่ายเงินทดแทนทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทานจากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวย่อมจะต้องเห็นความสำคัญของงานที่ทำที่มีผู้ประสงค์จะแสวงหาประโยชน์อยู่มากและความสำคัญของเอกสารที่ตนลงชื่อการที่จำเลยที่1อ้างว่ามีงานอื่นที่สำคัญและต้องทำอีกมากไม่มีเวลาออกไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรนั้นไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่1ไม่มีเจตนากระทำความผิดกับจำเลยที่3และจำเลยอื่นจำเลยที่1จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157,162(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา83ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157อันเป็นบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6205/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ทุจริตจ่ายเงินทดแทนโดยมิชอบ และความผิดสนับสนุน
จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน แต่จำเลยที่ 3กับพวกก็คิดค่าทดแทนให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกันทำเอกสารมีข้อความเป็นเท็จ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(1)(4) ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทหนัก ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและจ่ายเงินทดแทนทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จากตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว ย่อมจะต้องเห็นความสำคัญของงานที่ทำที่มีผู้ประสงค์จะแสวงหาประโยชน์อยู่มาก และความสำคัญของเอกสารที่ตนลงชื่อ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีงานอื่นที่สำคัญและต้องทำอีกมากไม่มีเวลาออกไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนากระทำความผิดกับจำเลยที่ 3และจำเลยอื่น จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 83 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้จัดส่งคนงานไม่ได้ ก็ยังมีความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความ ว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงาน ในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาเจตนาในการประกอบธุรกิจ
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงานในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทิน, เพิ่มโทษ, และการริบของกลาง: ข้อจำกัดการใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทิน และอำนาจศาลในการริบ
ผู้ที่จะได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ.2530 มาตรา 4 คือ ผู้ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ แต่จำเลยยังไม่พ้นโทษในวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ได้รับผลจากพ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองมายังไม่เกินห้าปี กลับมากระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยคดียาเสพติดซ้ำ และอำนาจศาลในการริบเงินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
ผู้ที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนม์พรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 คือ ผู้ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แต่จำเลยยังไม่พ้นโทษในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ได้รับผลจากพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองมายังไม่เกินห้าปี กลับมากระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 97 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมิได้ฟ้องว่าจำเลยจำหน่ายเฮโรอีน เงินสดของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดในคดีนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินสดของกลางด้วยจึงไม่ชอบ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์: การผิดสัญญาจากปฏิเสธการจ่ายเงินตามสมุดเงินฝาก ไม่เข้าอายุความ 10 ปี
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฏตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,124.84 บาท โจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529 แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ